วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ถวัลย์ ดัชนี

ภาพวาดถวัลย์ ดัชนี ผลงานอันทรงคุณค่าทางศิลปะ
ภาพวาดสุดท้ายของ อ.ถวัลย์ ดัชนี วาดขณะรักษาตัว เป็นภาพที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ 10 ก.ย. 57
          ภาพวาดถวัลย์ ดัชนี images ผลงานอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มาดูผลงานภาพวาดของ อ.ถวัลย์ ดัชนี บรมครูในความทรงจำ

           นับว่าเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญที่สะเทือนไปทั้งวงการศิลปะเลยทีเดียว กับการจากไปของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2544 ด้วยวัย 74 ปี ที่ถึงแม้ตัวท่านจะจากไป แต่ผลงานทางศิลปะยังคงเป็นตัวแทนที่แสนงดงามอยู่ในใจบรรดาลูกศิษย์และชาวไทยอยู่เสมอ

          ทั้งนี้ อ.ถวัลย์ ได้สร้างผลงานอันทรงคุณค่ามากมาย ตั้งแต่ครั้นวัยเยาว์จวบจนกระทั่งสิ้นลมหายใจ โดยผลงานที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ อ.ถวัลย์ เลยก็คืองานด้านฝีมือการวาดรูปที่มีความเป็นเฉพาะตัวของท่านเอง ซึ่งนับตั้งแต่เรียนสำเร็จชั้นมัธยมที่จังหวัดเชียงราย อ.ถวัลย์ก็ได้เข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างของจังหวัดเชียงราย และเป็นนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้วยฝีมือการวาดรูปเหมือนจริง โดยหนึ่งในผลงานของท่านคือภาพวัดเบญจมบพิตรที่ได้รับเลือกให้แสดงในหอศิลปแห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และแสดงในนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยแห่งชาติของประเทศไทย 

           ต่อมาเมื่อจบจากโรงเรียนเพาะช่างในปี พ.ศ. 2500 ท่านได้สอบเข้าเรียนที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันแห่งนี้เองที่ได้หล่อหลอมให้ท่านพัฒนางานจากภาพวาดเหมือนจริงไปเป็นภาพวาดที่ให้ความรู้สึกประทับใจ (Impressionism) แบบไทย หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ท่านได้รับทุนของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ราชวิทยาลัยศิลปแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ โดยในระหว่างที่ศึกษาศิลปะที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ท่านได้สร้างผลงานอันเป็นที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมชมชอบของวงการศิลปะสากลอย่างกว้างขวาง จนได้นำผลงานออกแสดงนิทรรศการไปทั่วโลก ตัวอย่างผลงานคือ...

          - ภาพเขียนสีน้ำมัน 10 ภาพ ประดับอยู่ที่โรงพิมพ์สยามรัฐ

         - งานจิตรกรรมวิทยานิพนธ์ศิลปบัณฑิต คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร 12 ภาพ ประดับอยู่ที่สถานทูต

         - งานวาดเส้นและจิตรกรรมขนาดใหญ่  5 ภาพ ปัจจุบันเป็นผลงานในการสะสมของโซธปี้ สิงคโปร์ ประมูลมาจากอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในงานกิจกรรมที่มีมูลค่าสูงสุดของเอเชีย

         - ภาพเขียนจิตรกรรมขนาดใหญ่ประดับสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส

         - ภาพเขียนประดับผนังปราสาทอาชิลล์ คลารัค คณบดีทูต เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย

         - ภาพเขียนการกำเนิดจักรวาล สำหรับสำนักกลางคริสเตียน ประเทศไทย กรุงเทพฯ

         - ผลงานวาดเส้น ที่ตอนนี้ถูกสะสมไว้ในหลายพิพิธภัณฑ์ศิลปะของเยอรมนี

         - งานวาดเส้นในคฤหาสน์ส่วนตัวของอดีตผู้อำนวยการบริติชเคาน์ซิล ประจำประเทศไทย มร.มัวรีช คาร์คิฟ 

         - ผลงานสะสมในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน

         - ภาพเขียนประดับขนาดใหญ่ ประดับบริษัทเชลล์ แห่งประเทศไทย

         - ภาพเขียนภูมิจักรวาลตามไตรภูมิของปกรณัมไทย

         - ภาพเขียนประดับธนาคารแห่งประเทศไทย

         - ผลงาน มารผจญ 1 และ มารผจญ 2

         - ภาพสุดท้าย ภาพ "ม้า" เป็นภาพที่อ.ถวัลย์วาดในช่วงสุดท้ายของชีวิต

         จากตัวอย่างผลงานที่ข้างต้น เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าผลงานของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั่วโลก เนื่องจากการที่งานวาดภาพของท่านมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยากที่ใครจะลอกเลียนได้ โดยผลงานของ อ.ถวัลย์ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวปรัชญาทางพุทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นก็ได้นำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ลุ่มลึก และแกร่งกร้าว มีเนื้อหาสาระและมีชีวิตจิตวิญญาณของความเป็นไทยมาผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก

ภาพวาดถวัลย์ ดัชนี ผลงานอันทรงคุณค่าทางศิลปะ

          นอกจากนี้ผลงานของ อ.ถวัลย์ ยังมีรูปแบบเฉพาะตัวอีกคือ เป็นผลงานที่ดูลึกลับ น่าสะพรึงกลัว ด้วยอสูร หรือสัตว์ต่าง ๆ ในท่าทีเกรี้ยวกราด ซึ่งอยู่ในโทนสีขาวดำมืดครึ้มเป็นหลัก และยังใช้ฝีแปรงและการแรเงาที่สะท้อนอารมณ์ภายในออกมาอย่างเต็มเปี่ยม แต่ภายใต้ความน่าเกรงขามดังกล่าว กลับแฝงไปด้วยคติธรรมและข้อคิดที่บางคนอาจลืมเลือนไปนานแล้ว

          และด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบนี้เอง ทำให้ใคร ๆ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "เห็นเพียงหางตาก็รู้แล้วว่า นี่คือผลงานของ อ.ถวัลย์" ...กระปุกดอทคอมจึงขอนำผลงานภาพวาดบางส่วนของบรมครูท่านนี้มาให้ได้ชมกัน เพื่อรำลึกถึงท่านอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ตลอดกาล...



ภาพวาดถวัลย์ ดัชนี ผลงานอันทรงคุณค่าทางศิลปะ

ภาพวาดถวัลย์ ดัชนี ผลงานอันทรงคุณค่าทางศิลปะ

ภาพวาดถวัลย์ ดัชนี ผลงานอันทรงคุณค่าทางศิลปะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น