วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทัชมาฮาล


ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ สมเด็จพระจักรพรรดิชะฮันคีร์จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล ตามตำนานกล่าวว่า พระองค์ได้พบกับอรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตรีของรัฐมนตรี พิธีเสกสมรสถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี เมื่อพ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์
แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮันโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระองค์ถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างพระมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮันมิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาลTaj Mahal in March 2004.jpg

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำตกไนแอการา


น้ำตกไนแอการา (อังกฤษNiagara Falls ; ฝรั่งเศสles Chutes du Niagara) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแอการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ บนพรมแดนระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกาน้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ น้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก น้ำตกแคนาดา) สูง 158 ฟุต, น้ำตกอเมริกาสูง 167 ฟุต, และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil. แม้น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมาก
น้ำตกไนแองการามีจุดชมวิวที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้ง 2 ประเทศมานานกว่าศตวรรษ
แม่น้ำไนแอการาไหลมาจากทะเลสาบอีรีไหลผ่านน้ำตกไนแอการาลงสู่ทะเลสาบออนตาริโอเมืองสองฝั่งของน้ำตกในสองประเทศนั้นเป็นเมืองแฝด โดยในฝั่งแคนาดาคือ ไนแอการาฟอลส์ ออนตาริโอ ส่วนในฝั่งสหรัฐอเมริกาคือไนแอการาฟอลส์ รัฐนิวยอร์ก

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บีโธเฟน


ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่นเกิดที่เมืองบอนน์ (ประเทศเยอรมนี) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 และได้เข้าพิธีศีลจุ่มในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เป็นลูกชายคนรองของโยฮันน์ ฟาน เบโธเฟ่น (Johann van Beethoven) กับ มาเรีย มักเดเลนา เคเวริค (Maria Magdelena Keverich) ขณะที่เกิดบิดามีอายุ 30 ปี และมารดามีอายุ 26 ปี ชื่อต้นของเขาเป็นชื่อเดียวกับปู่ และพี่ชายที่ชื่อลุดวิกเหมือนกัน แต่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ครอบครัวของเขามีเชื้อสายเฟลมิช (จากเมืองเมเชเลนในประเทศเบลเยียม) ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าเหตุใด นามสกุลของเขาจึงขึ้นต้นด้วย ฟาน ไม่ใช่ฟอน ตามที่หลายคนเข้าใจ
บิดาเป็นนักนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก และเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังติดสุรา รายได้เกินครึ่งหนึ่งของครอบครัวถูกบิดาของเขาใช้เป็นค่าสุรา ทำให้ครอบครัวยากจนขัดสน บิดาของเขาหวังจะให้เบโธเฟ่นได้กลายเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่าง โมสาร์ท นักดนตรีอีกคนที่โด่งดังในช่วงยุคที่เบโธเฟ่นยังเด็ก จึงเริ่มสอนดนตรีให้ใน ค.ศ. 1776 ขณะที่เบโธเฟ่นอายุ 5 ขวบ
แต่ด้วยความหวังที่ตั้งไว้สูงเกินไป (ก่อนหน้าเบโธเฟ่นเกิด โมสาร์ทสามารถเล่นดนตรีหาเงินให้ครอบครัวได้ตั้งแต่อายุ 6 ปี บิดาของเบโธเฟ่นตั้งความหวังไว้ให้เบโธเฟ่นเล่นดนตรีหาเงินภายในอายุ 6 ปีให้ได้เหมือนโมสาร์ท) ประกอบกับเป็นคนขาดความรับผิดชอบเป็นทุนเดิม ทำให้การสอนดนตรีของบิดานั้นเข้มงวด โหดร้ายทารุณ เช่น ขังเบโธเฟ่นไว้ในห้องกับเปียโน 1 หลัง , สั่งห้ามไม่ให้เบโธเฟ่นเล่นกับน้อง ๆ เป็นต้น ทำให้เบโธเฟ่นเคยท้อแท้กับเรื่องดนตรี แต่เมื่อได้เห็นสุขภาพมารดาที่เริ่มกระเสาะกระแสะด้วยวัณโรค ก็เกิดความพยายามสู้เรียนดนตรีต่อไป เพื่อหาเงินมาสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว
ค.ศ. 1777 เบโธเฟ่นเข้าเรียนโรงเรียนสอนภาษาละตินสำหรับประชาชนที่เมืองบอนน์
ค.ศ. 1778 การฝึกซ้อมมานานสองปีเริ่มสัมฤทธิ์ผล เบโธเฟ่นสามารถเปิดคอนเสิร์ตเปียโนในที่สาธารณะได้เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคมขณะอายุ 7 ปี 3 เดือน ที่เมืองโคโลญจน์ (Cologne) แต่บิดาของเบโธเฟ่นโกหกประชาชนว่าเบโธเฟ่นอายุ 6 ปี เพราะหากอายุยิ่งน้อย ประชาชนจะยิ่งให้ความสนใจมากขึ้น ในฐานะนักดนตรีที่เก่งตั้งแต่เด็ก
หลังจากนั้น เบโธเฟ่นเรียนไวโอลินและออร์แกนกับอาจารย์หลายคน จนใน ค.ศ. 1781 เบโธเฟ่นได้เป็นศิษย์ของคริสเตียน กอตท์โลบ นีเฟ (Christian Gottlob Neefe) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สร้างความสามารถในชีวิตให้เขามากที่สุด นีเฟสอนเบโธเฟ่นในเรื่องเปียโนและการแต่งเพลง
ค.ศ. 1784 เบโธเฟ่นได้เล่นออร์แกนในคณะดนตรีประจำราชสำนัก ในตำแหน่งนักออร์แกนที่สอง มีค่าตอบแทนให้พอสมควร แต่เงินส่วนใหญ่ที่หามาได้ ก็หมดไปกับค่าสุราของบิดาเช่นเคย
ค.ศ. 1787 เบโธเฟ่นเดินทางไปยังเมืองเวียนนา(Vienna) เพื่อศึกษาดนตรีต่อ เขาได้พบโมสาร์ท และมีโอกาสเล่นเปียโนให้โมสาร์ทฟัง เมื่อโมสาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโธเฟ่นแล้ว กล่าวกับเพื่อนว่าเบโธเฟ่นจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป แต่อยู่เมืองนี้ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก็ได้รับข่าวว่าอาการวัณโรคของมารดากำเริบหนัก จึงต้องรีบเดินทางกลับบอนน์ หลังจากกลับมาถึงบอนน์และดูแลมารดาได้ไม่นาน มารดาของเขาก็เสียชีวิตลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1787 ด้วยวัย 43 ปี เบโธเฟ่นเศร้าโศกซึมเซาอย่างรุนแรง ในขณะที่บิดาของเขาก็เสียใจไม่แพ้กัน แต่การเสียใจของบิดานั้น ทำให้บิดาของเขาดื่มสุราหนักขึ้น ไร้สติ จนในที่สุดก็ถูกไล่ออกจากคณะดนตรีประจำราชสำนัก เบโธเฟ่นในวัย 16 ปีเศษ ต้องรับบทเลี้ยงดูบิดาและน้องชายอีก 2 คน
ค.ศ. 1788 เบโธเฟ่นเริ่มสอนเปียโนให้กับคนในตระกูลบรอยนิงค์ เพื่อหาเงินให้ครอบครัว
ค.ศ. 1789 เบโธเฟ่นเข้าเป็นนักศึกษาไม่คิดหน่วยกิตในมหาวิทยาลัยบอนน์
ค.ศ. 1792 เบโธเฟ่นตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เบโธเฟ่นมีโอกาสศึกษาดนตรีกับโยเซฟ ไฮเดินหลังจากเขาเดินทางมาเวียนนาได้ 1 เดือน ก็ได้รับข่าวว่าบิดาป่วยหนักใกล้จะเสียชีวิต (มาเวียนนาครั้งก่อน อยู่ได้ครึ่งเดือนมารดาป่วยหนัก มาเวียนนาครั้งนี้ได้หนึ่งเดือนบิดาป่วยหนัก) แต่ครั้งนี้เขาตัดสินใจไม่กลับบอนน์ แบ่งหน้าที่ในบอนน์ให้น้องทั้งสองคอยดูแล และในปีนั้นเองบิดาของเบโธเฟ่นก็สิ้นใจลงโดยไม่มีเบโธเฟ่นกลับไปดูใจ แต่เบโธเฟ่นเองก็ประสบความสำเร็จในการแสดงคอนเสิร์ตในฐานะนักเปียโนเอก และเป็นผู้ที่สามารถเล่นได้โดยคิดทำนองขึ้นมาสด ๆ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงและครอบครัวขุนนาง
ค.ศ. 1795 เขาเปิดการแสดงดนตรีในโรงละครสาธารณะในเวียนนา และแสดงต่อหน้าประชาชน ทำให้เบโธเฟ่นเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น
ค.ศ. 1796 ระบบการได้ยินของเบโธเฟ่นเริ่มมีปัญหา เขาเริ่มไม่ได้ยินเสียงในสถานที่กว้าง ๆ และเสียงกระซิบของผู้คน เขาตัดสินใจปิดเรื่องหูตึงนี้เอาไว้ เพราะในสังคมยุคนั้น ผู้ที่ร่างกายมีปัญหา(พิการ) จะถูกกลั่นแกล้ง เหยียดหยาม จนในที่สุดผู้พิการหลายคนกลายเป็นขอทาน ดังนั้น เขาต้องประสบความสำเร็จให้ได้เสียก่อนจึงจะเปิดเผยเรื่องนี้ จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิกคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิก แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด
ค.ศ. 1801 เบโธเฟ่นเปิดเผยเรื่องปัญหาในระบบการได้ยินให้ผู้อื่นฟังเป็นครั้งแรก แต่ครั้งนี้สังคมยอมรับ ทำให้เขาไม่จำเป็นต้องปกปิดเรื่องอาการหูตึงอีก หลังจากนั้น ก็เป็นยุคที่เขาประพันธ์เพลงออกมามากมาย แต่เพลงที่เขาประพันธ์นั้นจะมีปัญหาตรงที่ล้ำสมัยเกินไป ผู้ฟังเพลงไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ในภายหลัง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเข้าใจในเนื้อเพลงของเบโธเฟ่น บทเพลงหลายเพลงเหล่านั้นก็เป็นที่นิยมล้นหลามมาถึงปัจจุบัน
เมื่อเบโธเฟ่นโด่งดังก็ย่อมมีผู้อิจฉา มีกลุ่มที่พยายามแกล้งเบโธเฟ่นให้ตกต่ำ จนเบโธเฟ่นคิดจะเดินทางไปยังเมืองคาสเซล ทำให้มีกลุ่มผู้ชื่นชมในผลงานของเบโธเฟ่นมาขอร้องไม่ให้เขาไปจากเวียนนา พร้อมทั้งเสนอตัวให้การสนับสนุนการเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าเบโธเฟ่นต้องอยู่ในเวียนนา ทำให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ และผลิตผลงานตามที่ต้องการโดยไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร
เบโธเฟ่นโด่งดังมากในฐานะคีตกวี อาการสูญเสียการได้ยินมีมากขึ้น แต่เขาพยายามสร้างสรรค์ผลงานจากความสามารถและสภาพที่ตนเป็นอยู่ มีผลงานชั้นยอดเยี่ยมให้กับโลกแห่งเสียงเพลงเป็นจำนวนมาก ผลงานอันโด่งดังในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เบโธเฟ่นถ่ายทอดท่วงทำนองออกมาเป็นจังหวะ สั้น - สั้น - สั้น - ยาวอาการไม่ได้ยินรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819 เป็นต้นมา รวมทั้งบทเพลงควอเต็ตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้เช่นกัน
ในช่วงนี้ เบโธเฟ่นมีอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับหลานชายที่เขารับมาอุปการะ เขาถูกหาว่าเป็นคนบ้า และถูกเด็ก ๆ ขว้างปาด้วยก้อนหินเมื่อเขาออกไปเดินตามท้องถนน แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความเป็นอัจฉริยะของเขาได้ แต่ภายหลังเขาก็ได้พูดคุยปรับความเข้าใจกับหลานชายเป็นที่เรียบร้อย
ค.ศ. 1826 โรคเรื้อรังในลำไส้ที่เบโธเฟ่นเป็นมานานก็กำเริบหนัก หลังจากรักษาแล้ว ได้เดินทางมาพักฟื้นที่บ้านน้องชายบนที่ราบสูง แต่อารมณ์แปรปรวนก็ทำให้เขาทะเลาะกับน้องชายจนได้ เขาตัดสินใจเดินทางกลับเวียนนาในทันที แต่รถม้าที่นั่งมาไม่มีเก้าอี้และหลังคา เบโธเฟ่นทนหนาวมาตลอดทาง ทำให้เป็นโรคปอดบวม แต่ไม่นานก็รักษาหาย
12 ธันวาคม ค.ศ. 1826 โรคเรื้อรังในลำไส้และตับของเบโธเฟ่นกำเริบหนัก อาการทรุดลงตามลำดับ
26 มีนาคม ค.ศ. 1827 เบโธเฟ่นเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการในโบสถ์เซนต์ ตรินิตี โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 20,000 คน ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานกลางในกรุงเวียนนา

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ พุทธทาสภิกขุ


ประวัติ พุทธทาสภิกขุ


๑. กำเนิดแห่งชีวิต
ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา
ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคนเป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไปแต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา 

ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้น เรื่องความประหยัด เรื่องละเอียดละออในการ
ใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขาย แทนบิดาซึ่งเสียชีวิต

ภาพที่แนบมา
ครั้น อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของชายไทย ที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศนแสดงธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคยถามท่าน ขณะที่ เป็นพระเงื่อม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านตอบว่า "ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด" "..แต่ถ้ายี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้องสึกออกไป อยู่บ้านค้าขาย"
ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่านควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมี
ชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้นเกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด
นาย ยี่เก้ย ต่อมาก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทาน ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของสวนโมกขพลาราม

๒. อุดมคติแห่งชีวิต

ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ ๓ ประโยคระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออกไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะ ที่ยึดถือรูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนในพระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของพุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอนที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ

จากบันทึกของท่าน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เขียนไว้ว่า
"...ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมาย ต่อความสุขนี้ และประกาศเผยแพร่ความสุขนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ในบรรดามีอยู่ใน พุทธศาสนา..."


๓. ปณิธานแห่งชีวิต

ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา

อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หาความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน แต่ครอบคลุมไปถึงพระพุทธศาสนา แบบมหายาน และศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะได้อย่างหลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับพื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัดชนชั้นเชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์

ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ คือ
๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตามเข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน
๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม

แม้ในความพยายามที่จะทำตามปณิธานนี้ จะทำให้บางคนไม่เข้าใจท่าน ไม่ชอบท่าน ด่าว่าท่าน หาว่าท่านจ้วงจาบ พระพุทธศาสนา เป็นเดียรถีย์ เป็นคอมมิวนิสต์ หรือ รับจ้างคนคริสต์ มาทำลายล้างพระพุทธศาสนาก็ตาม แต่ท่านกลับรับฟัง คำวิจารณ์เหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทางความคิด ในเรื่อง เนื้อหา และหลักการ มากกว่า ที่จะก่อความขัดแย้งส่วนตัว เพราะท่านมีหลัก ในการทำงานว่า " พุทธบุตร ทุกคน ไม่มีกังวล ในการรักษาชื่อเสียง มีกังวล แต่การทำความบริสุทธิ์เท่านั้น เมื่อได้ทำความบริสุทธิ์ มองเห็นชัดเจนใจ อยู่แล้วว่า นี่มันบริสุทธิ์เป็นธรรมแท้ ใครจะชอบ หรือ ไม่ชอบก็ตาม เราต้องทำ ด้วยความพยายามอย่างสุดชีวิต จะมีชื่อเสียง หรือไม่นั้น อย่านึกถึงเลย เป็นอันขาด จะกลายเป็นเศร้าหมอง และ หลอกลวง ไปไม่มาก ก็น้อย" 

ในที่สุด ท่านก็ได้รับการยอมรับ จากวงการ คณะสงฆ์ไทย วงการศึกษาของไทยและวงการศึกษาธรรมะของโลก
ได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคหลัง กึ่งพุทธกาล เยี่ยงพระมหากัสสป ในครั้งพุทธกาล