วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

กิลส์ เดอ เรยส์


 เรื่องราวของ บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ซึ่งเป็นต้นแบบฆาตกร"เคราน้ำเงิน"ที่หมายถึงฆาตกรที่สังหารเมียหลายๆ คน นั้น มีการกล่าวในแง่ประวัติศาสตร์ว่าเรื่องของเขาถูกแต่งเติมให้เกินจริงทั้งโดยคำบอกเล่าในภายหลัง และเจตนาร้ายของผู้หวังในทรัพย์สมบัติของเขา  ที่แน่ๆ เรื่องของชายผู้นี้คงจะถูกบอกเล่าต่อๆกันไปในฐานะตำนานอีกนานแสนนานทีเดียว
  ปี 1404 กิลส์ เดอ เรยส์ เกิดที่ปราสาทชานโตเซ่ใกล้เมืองนันท์ของแคว้นบริตตัญญีในฐานะทายาทผู้สืบทอดเพียงคนเดียวของตระกูล กี เดอ ราวาลผู้เป็นพ่อ เป็นเจ้าบ้านของตระกูลเรยส์ ผู้เป็นเจ้าของปราสาทใหญ่โตหลายแห่ง  และแมรี่ เดอ คราออนซึ่งเป็นมารดาก็มาจากตระกูลขุนนางที่เก่าแก่ที่สุดตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ทั้งสองต่างก็มีอาณาเขตในกรรมสิทธิ์ของตนเป็นบริเวณกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่มากมาย และมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรราษฏรในแคว้น ซึ่งเมื่อกิลส์สืบทอดมรดก ตระกูลเรยส์ก็จะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในฝรั่งเศสอย่างไม่ต้องสงสัย
 ตระกูลเรยส์จึงเป็นที่อิจฉาของเหล่าขุนนางในราชสำนักอย่างไม่ต้องสงสัย.....................
 ด้วยความร่ำรวย ทำให้ บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ใช้ชีวิตเป็นหนุ่มเจ้าสำราญผู้มั่งคั่ง จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือยแทบทุกวัน งานเลี้ยงแต่ละครั้งในปราสาทของบารอน กิลล์ เดอ แรส์ เสิร์ฟ ด้วยอาหารรสเลิศราคาแพง เครื่องดื่มระดับสุดยอด และงานเลียงจะไม่เลิศลาจนกว่าบรรดาแขกรับเชิญจะกระเดือกไม่เข้าหรือเมาฟุปไปก่อน
 ปี 1415 กีเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน และแมรี่ก็ตายตามสามีไปในเวลาไม่นานนัก ตาเป็นผู้รับบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไปเลี้ยงดูแม้ว่าจะเป็นการขัดต่อพินัยกรรม ฌอง เดอ คราออนซึ่งเป็นตานี้ ใช่ว่าจะเป็นคนไม่ดี เพียงแต่ว่ามีรสนิยมรักร่วมเพศเท่านั้นเอง และคงเพราะอิทธิพลจากตา กิลส์ก็เลยมีรสนิยมเดียวกันนี้ด้วย
 เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาก็ถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับแคทเธอรีน เดอ ทวาลซึ่งเป็นบุตรสาวของผู้ครองแคว้นข้างเคียงเนื่องจากตาของเขาต้องการขยายพื้นที่ในครอบครองออกไปอีก บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไม่ได้สนใจเจ้าสาวของเขานัก เวลาส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการสนุกสนานกับบรรดาเด็กหนุ่มที่เป็นคนสนิทของเขามากกว่า
 หากในไม่ช้า การได้พบกับเด็กสาวผู้หนึ่งก็เปลี่ยนชีวิตของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไปโดยสิ้นเชิง แจนน์ ดาร์ค (โจน ออฟ อาร์ค) วีรสตรีซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสนั่นเอง

 ปี 1429 พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 (ในขณะนั้นทรงใช้พระนามว่า เจ้าฟ้าชายชาร์ลส) ทรงโปรดให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เข้าเฝ้าและแนะนำให้เขาได้รู้จักกับแจนน์ ดาร์คซึ่งภายหลังถูกขนานนามว่าเป็นหญิงศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์ลีนส์
 บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ประทับใจในในตัวแจนน์และประกอบกับว่าเขาเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าอยู่แล้ว เขาจึงได้สาบานตนเป็นอัศวินของแจนน์ และกลายมาเป็นมือขวาคู่ใจของเธอนับแต่นั้น
 และในขณะนั้นตัวของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ มีอายุแค่ 24 ปี
 ทั้งสองสร้างผลงานไว้มากมายในสงครามร้อยปี ด้วยความดีความชอบที่กิลส์ นำทหารสู้กับข้าศึกที่เป็นอังกฤษและได้ชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นแม่ทัพหรือจอมพลตั้งแต่ยังหนุ่มและได้รับพระบรมราชานุญาติให้ประดับดอกลิซ (ตราดอกลิลลี่ของราชวงศ์ฝรั่งเศส) ลงบนตราประจำตระกูลของเขาด้วย นับเป็นเกียตริสูงสุดเท่าที่เขาจะมีได้ในฐานะขุนนางทีเดียว
 แต่แล้ว ในปี 1430 แจนน์ ดาร์คก็ถูกทหารฝ่ายศัตรูจับ และถูกเผาทั้งเป็นในฐานะแม่มดเมื่อปี 1431 (ปี 1456 พระสันตปาปาจึงยกให้คำตัดสินลงโทษแจนน์ ดาร์คเป็นโมฆะ เธอถูกยกขึ้นเป็นนักบุญในปี 1920....เกือบ 500 ปีหลังจากการสำเร็จโทษที่รูน)
 ข่าวเรื่อง แจนน์ ดาร์ค ถูกประหาร นำความโศกเศร้ามาสู่บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เป็นอย่างมาก และหวนกลับไปสู่ชีวิตแหลกเหลวก่อนจะพบกับเธออีกครั้ง
 ด้วยความโศกเศร้าบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ก็ไม่สนใจสู้รบอีกต่อไป กิลส์โกรธแค้นพระเจ้าที่หักหลังแจนน์และแย่งเธอไปจากเขา เขาเริ่มฝักใฝ่ในมนต์ดำและการเล่นแร่แปรธาตุ ในไม่ช้า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ก็ทำการรวบรวมเด็กชายจากที่ต่างๆมาเพื่อเป็นเครื่องสังเวยให้กับปีศาจ (ว่ากันว่าผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่ให้ให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ บ้าเรื่องมนต์ดำนี้คือ หมอเวทมนต์ชาวอิตาเลี่ยน ชื่อ ฟรังเซสโก ปรีลาตี)
 เนื่องจากในเวลานั้นยังมีสงครามกันอย่างต่อเนื่อง ตามเมืองต่างๆจึงมีเด็กกำพร้าเร่ร่อนอยู่มากมาย หญิงชราและชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นลูกน้องของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ พาเด็กเหล่านี้มายังปราสาท และตัดคอพวกเขาเพื่อสังเวยเลือดแก่พิธี ไม่นานนัก การสังเวยก็ค่อยเพิ่มความโหดร้ายทารุณขึ้น เด็กบางคนถูกตัดแขนตัดขาเป็นชิ้นๆ บางคนถูกฟาดหัวด้วยท่อนไม้ตอกตะปู บางคนถูกเฉือนเนื้อออกทีละน้อยเพื่อให้กรีดร้องอยู่ให้นานที่สุดก่อนจะหมดลมไป
 เด็กบางคนถูกผ่าท้องแล้วทึ้งไส้ออกมา บ่อยครั้งที่บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ข่มขืนศพของเด็กที่เสียชีวิตแล้ว เขาสะสมศีรษะของเด็กหนุ่มจำนวนมาก และศีรษะที่หน้าตาดีจะถูกเรียงไว้เหนือเตาผิงเหมือนเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ มีการพบศพของเด็กจำนวนกว่า 150 ศพ (ส่วนใหญ่ไม่มีศีรษะ) ในปราสาท แต่พูดกันว่าเหยื่อของเขาน่าจะมีมากกว่า 1500 ราย
หอคอยที่ใช้ฆ่าเด็ก
 งานเลี้ยงอันหรูหราและมนต์ดำทำให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ผลาญทรัพย์สมบัติอันมหาศาลของเขาหมดไปในไม่ช้า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ จึงต้องขายปราสาทในกรรมสิทธิ์ของตนไป และการขายปราสาทนี่เองที่ทำให้เขามีปัญหากับโบสถ์ ทำให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ซึ่งเลือดขึ้นหน้าได้นำทหารบุกไปยังโบสถ์และจับกุมนักบวชหลายคนมาจองจำในปราสาทของตน
 ทางด้านฝ่ายโบสถ์ซึ่งสงสัยบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เกี่ยวกับคดีเด็กหายสาปสูญอยู่แล้ว (แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะนอกจากกิลส์จะเป็นขุนนางแล้ว ยังเป็น"วีรบุรุษกู้ชาติ"อีกด้วย) จึงได้อาศัยโอกาสนี้เองนำคนเข้าตรวจปราสาทของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ และจับกุมเขาและพวกไว้ได้ในที่สุด
 เชื่อกันว่าการสอบสวนในครั้งนั้น มีการทารุณกรรมเพื่อทรมานให้ผู้จับกุมยอมรับสารภาพและถูกซัดทอดผู้ต้องหาด้วย แม้กระทั้งตัวบารอนกิล์เองก็ไม่พ้นทัณฑ์ทรมานอย่างสาหัสเพื่อให้รับสารภาพแน่นอน
 12 ตุลาคม ค.ศ. 1440 มีการประกาสอย่างเป็นทางการว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ยอมรับสารภาพว่าเขาคือผู้สังหารเด็กนับร้อยคนนั้น โดยมีคำยืนยันของจอมพลดังต่อไปนี้
 ?ข้าพเจ้าขอย้ำว่าที่ฆ่าพวกเด็กๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับอำนาจและความร่ำรวยของข้าพเจ้า เจตนาที่ได้กระทำลงไปมีเพียงเท่านี้?(แต่ชาวฝรั่งเศสหลายคนเชื่อว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ยอมรับสารภาพเพราะทนการทรมานไม่ไหวมากกว่า)
 นอกจากนี้ยังมีการพิพากษ์วิจารณ์อีกว่าทำไม บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ถึงโดนกล่าวหาอย่างรุงแรงแบบนี้ อาจเป็นเพราะฝีมือของดยุคจอห์นแห่งแคว้นบริตตัญญีที่เป็นผู้กล่าวหาตัวบารอนกิลส์ เพราะถ้าเกิดเขาได้ปราสาทและทรัพย์สมบัติมูลค่ามหาศาลจะตกเป็นของเขาในทันที

 13 กันยายน 1440 พระสังฆราชซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาติจากพระเจ้าชาร์ลสฟ้องกิลส์ในข้อหาประกอบพฤติกรรมนอกรีต สังหารเด็ก ทำสัญญาปีศาจ และกระทำตนขัดต่อหลักธรรมชาติ ซึ่งไม่ว่าข้อหาใดต่างก็เพียงพอที่จะทำให้เขาโดนประหารทั้งสิ้น (มีการกล่าวว่า พระเจ้าชาร์ลสและโบสถ์ได้ร่วมมือกัน เนื่องจากพระเจ้าชาร์ลสต้องการดินแดนในครอบครองของตระกูลเรยส์)
 การพิพากษาถูกจัดขึ้นที่ปราสาทนันท์และกินเวลากว่า 1 เดือน กิลส์ซึ่งในครั้งแรกมีท่าทีแข็งขืนถึงกับหลั่งน้ำตาสำนึกผิดในภายหลัง เขาถูกตัดสินให้ประหารโดยการแขวนคอในวันที่ 26 ตุลาคม 1440 (ในครั้งแรก จะมีการตัดสินโทษเผาทั้งเป็น แต่เนื่องจากการเผาทั้งเป็นถือเป็นการลบหลู่เกียรติมากในสมัยนั้น และด้วยว่ากิลส์มีความชอบ เขาจึงรอดโทษเผาทั้งเป็นไป)
 ปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. 1440 กิลล์ เดอ เรยส์ เดินไปที่ตะแลงแกงที่ใช้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่ถูกสร้างขึ้น ผู้คนมาชมจนล้นหลามจนต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแย่งชิงตัวนักโทษประหาของพวกที่จงรักภักดีต่อตัวบารอนกิลส์อยู่
 เมื่อถึงเวลาประหารชีวิต บารอน กิลล์ เดอ เรยส์ ถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกง จอมพลหนุ่มเดินเข้าหาความตายของตนอย่างองอาจ ไม่มีความพรั่นพรึงแม้แต่น้อย ถุงผ้าคลุมศีรษะถูกนำมาสวมแล้วเพชฌฆาตนำเชือกบ่วงคล้องคอมาสวม จากนั้นก็เปิดพื้นใต้ฝ่าเท้านักโทษ ร่างของบารอน กิลล์ เดอ แรส์ หล่นลงไปในช่อง เป็นอันจบชีวิตจอมพลผู้ยิ่งใหญ่เพียงเท่านี้
 ว่ากันว่าชาวแคว้นบริตตัญญีพากันร่ำให้ด้วยความโศกเศร้าอาลัยแก่ตัวบารอน กิลด์ เดอ เรยส์ แต่หมดหนทางที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่เขาได้ เพราะคำรับสารภาพของเขาคือการปิดประตูพิสูจน์ใดๆ ทั้งสิ้น

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

20 ภาษา ที่แปลว่า "ฉันรักเธอ"

ภาษาพม่า เรียกว่า จิต พา เด (chit pa de)
- เขมร เรียกว่า บองสรันโอน(BonsroIahnoon)
- เวียดนาม เรียกว่า ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
- มาเลเซีย เรียกว่า ซายา จินตามู (Saya cintamu)
- อินโดนีเซีย เรียกว่า ซายา จินตา ปาดามู (Saya cint
apadamu)

- ฮกเกี้ยน เรียกว่า อั๊ว X ลู่ (Auo ai Lu)
- ตุรกี เรียกว่า เซนี เซวีโยรัม (Seni Seviyorum )
- ฟิลิปปินส์ เรียกว่า มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
- ญี่ปุ่น เรียกว่า คิมิ โอ ไอ ชิเตรุ (Kimi o ai X eru)
- เกาหลี เรียกว่า โน รุย สะรัง เฮ (No-rui sarang hae)
- เยอรมัน เรียกว่า อิคช์ ลิบ ดิกช์ (Ich Liebe Dich)
- ฝรั่งเศส เรียกว่า เฌอแตม (Je taime)
- ฮอลแลนด์ (ดัชต์) เรียกว่า อิค เฮา ฟาวน์ เยา (Ik hou van jou)
- สวีเดน เรียกว่า ย็อก แอลสการ์ เด (Jag a Lskar dig)
- อิตาลี เรียกว่า ติ อโม (Ti amo)
- สเปน เรียกว่า เตอ เควียโร (Te quiero)
- รัสเซีย เรียกว่า ยาวาส ลุยบลิอู (Ya vas Liubliu)
- โปรตุเกส เรียกว่า อโม-เท (Amo-te)
- จีนกลาง เรียกว่า หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
- จีนแคะ เรียกว่า ไหง อ้อย หงี (Ngai oi ngi)

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ิwu Zetian

The ultimate Tang Dynasty woman was undoubtedly Wu Zetian. There were altogether 243 emperors during the 2,000 years from the beginning of the Qin Dynasty (221 BC) to the end of the Qing Dynasty (1911), and Wu Zetian was the only female monarch among them. Wu Zetian was the most legendary and controversial figure in Chinese history. She lived to be 82, and held power for 50 years.



Wu Zetian was born into an official's family in Wenshui, Shanxi Province. She was not only beautiful but also very intelligent. Although bestowed with strong female charm and grace, Wu Zetian was firm and unyielding in all her dealings. She entered the palace at the age of 14 and was assigned to wait upon Emperor Taizong, who gave her the name Mei, meaning charming and lovely, in acknowledgement of her beauty. But she did not like this name. After taking over power, she changed her name to Zhao (meaning the light of the sun and the moon illuminating every corner of the land). Wu Zetian was an uncompromising woman. At one time there was a wild and savage horse in the palace stables that no one could tame. Wu Zetian said that the way to deal with it was first to beat it with an iron whip, and if that did not work, to kill it. Wu Zetian was initially conferred the title of cairen (concubine of medium rank), but was unable to win much favor with Emperor Taizong. She worked as his secretary for 12 years, but she was neither promoted nor able to give birth to his child. Emperor Taizong's son, Li Zhi, however, was deeply infatuated with her. After the death of Taizong, Li Zhi was enthroned and Wu Zetian became empress. The emperor and empress ruled the country jointly. Since Li Zhi had delicate health, Wu Zetian was the actual ruler of the country. When Li Zhi died, Wu Zetian managed to stabilize the political situation based on her abundant experience of political intrigue. In 690, Wu Zetian ascended the throne and changed the title of the dynasty to Zhou. She disposed of all her political enemies and established the Wu family court. As monarch, she was a hardworking, sagacious and caring ruler. During Wu Zetian's reign, the country maintained its prosperity and the people lived in peace. The tribes who lived at the time of the newly established Zhou Dynasty all pledged allegiance to the empress.


Having worked as Emperor Taizong's secretary for 12 years, Wu Zetian was very familiar with the former emperor's main priorities in his management of state affairs, many of which she followed, for example, his stress on agriculture, reducing tax and corvee, practicing a peaceful foreign policy, and widely soliciting advice and suggestions.


The empress took great care to select talented people and put them in important positions. She also encouraged and supported female participation in politics. Shangguan Wan'er is a perfect example. Both her grandfather and father had been killed for opposing Wu Zetian's accession to power, and the young Wan'er and her mother were employed as maidservants at the palace where Wan'er received a very good education. She not only wrote beautiful poetry, but also gained an intimate knowledge of state affairs. Wu Zetian greatly appreciated her ability, and appointed Wan'er as her personal aide. Shangguan Wan'er proved her worth to the empress, not only through her ability to participate in the decision-making required by the memorials to the throne, but also by drafting imperial edicts for the empress. Shangguan once even acted as chief examiner of the final imperial examination. After Wu Zetian died, Shangguan Wan'er remained at court to assist Emperor Zhongzong in governing the country.

Wu Zetian was very tolerant of different opinions emanating from her subordinates. Xu Yougong was the official in charge of the judiciary, but would often confront the empress with his dissatisfaction at some of the court verdicts. On one occasion, Wu Zetian became so incensed that she issued an order to behead Xu, but just as the execution was about to start, she pardoned him, instead demoting him to a commoner. When her anger had abated, she continued to solicit Xu's opinion, and reinstated him as head of the judiciary. In conclusion, Wu Zetian was an empress of status, power, and outstanding achievement.

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน


ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (เดนมาร์กHans Christian Andersen) (ค.ศ. 1805-1875) ตามความเห็นของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเขา แอนเดอร์เซนเป็นชาวเดนมาร์ก เขาเกิดในสลัม เป็นตัวตลกน่าสมเพชให้คนหัวเราะมาตลอดชีวิต แต่แล้วเขาก็ใช้คติหัวเราะทีหลังดังกว่า ด้วยบรรดางานเขียนที่เขาเรียกมันว่า ‘เรื่องเล่นๆ’ ที่เป็นนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ทั่วโลกนิ่งฟังด้วยตาโต แม้ว่าเขาจะเป็น ‘นักเขียนบทละครพื้นๆ กวีฝีมือธรรมดา นักเขียนนวนิยายชั้นดี และนักเขียนเรื่องท่องเที่ยวชั้นเลิศ’ หากในด้านนิทานแล้ว ‘เขาก้าวไปถึงขั้นเยี่ยมยอดไร้ที่ติ’ กล่าวกันว่านิทานของเขา ‘เป็นบรรณาการยิ่งใหญ่จากเดนมาร์กแก่โลกวรรณกรรม…ฐานะเทียมเท่าโฮเมอร์ ดันเต้ เชกสเปียร์ เซอร์บันเตส และเกอเธ่
จากการนำนิทานพื้นบ้านมาเล่าใหม่ เขาก็เริ่มแต่งนิทานเอง แล้วก็เติมความเศร้าหรือน่ากลัวเข้าไป เสริมด้วยจินตนาการเพ้อฝันและลีลาภาษาพูดเรียบง่าย เพื่อย้อมความหวานซึ้งให้กับคติของเรื่อง ‘ต้นสน’ (1845) เป็นเรื่องหนึ่งอันเป็นที่ชื่นชอบกันมากที่สุด เช่นเดียวกับ ‘เด็กหญิงไม้ขีดไฟ’ ‘เงือกน้อย’ ‘ราชินีหิมะ’ ‘ไนติงเกล’ ‘กล่องชุดจุดไฟ’ … และแน่นอน ‘ลูกเป็ดขี้เหร่’ และ ‘ชุดใหม่ของจักรพรรดิ’ (‘แต่พระองค์ไม่ทรงสวมอะไรเลยสักชิ้น!’)


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 แห่งมาดากัสการ์


ต้นพระชนม์ชีพของพระนางรานาวาโลนายังเป็นที่ถกเถียงในปัจจุบัน บางข้อมูลว่าพระนางประสูติในดินแดนชนเผ่ามาเนเบระหว่างพ.ศ. 2325 และพ.ศ. 2333 น้อยคนที่ทราบถึงพระราชประวัติช่วงต้นของพระนาง แต่ในช่วงระหว่างพระนางมีพระชนมายุ 1 ชันษา เจ้าชายนามโปอินา (Nampoina) ทรงพยายามรวมมาดากัสการ์ให้เป็นหนึ่งเดียว มีกษัตริย์พระองค์เดียว กษัตริย์แห่งมาเนเบที่ทรงปกครองทางฝั่งตะวันตกของเกาะไม่ทรงยินยอมที่จะรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียว เนื่องด้วยเหตุนี้รัชทายาทของเจ้าชายนามโปอินาซึ่งต่อมาได้ครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าราดามาที่ 1ทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาองค์โตในพระเจ้าอันเดรียน-ทซารา-แมนจากาแห่งมาเนเบ กับพระมเหสีราโบโด อันเดรียน-แทมโป
เป็นการชี้ทางให้พระเจ้านามโปอินาทรงรับเลี้ยงรานาวาโลนาไว้ พระบิดาของพระนางเป็นผู้เสนอแผนการให้ พระนางทรงอภิเษกสมรสเมื่อมีพระชนมายุ 22 ชันษาแต่เป็นการหลอกลวงเขาด่วยบุตรคนโปรดของเขา
เจ้าชายรามาดาได้ขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบิดาและพระองค์ประสบความสำเร็จในการรวมชาติในเกาะให้เป็นหนึ่งเดียว พระนางรานาวาโลนาได้ถูกสงสัยว่าทรงลอบวางยาพิษพระเจ้ารามาดาจนพระองค์สวรรคต
เมื่อพระเจ้าราดามาเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2371 โดยไม่มีรัชทายาทและตามราชประเพณีโบราณ สิทธิในการครองราชย์จะตกไปอยู่แก่ เจ้าชายราโคโทเบ พระโอรสองค์โตในพระเชษฐภคินีของพระเจ้ารามาดา พระนางรานาวาโลนาทรงเริ่มสร้างความจงรักภัคดีให้แก่ผู้นำทหารก่อนพระสวามีจะสวรรคตแล้ว พระนางจึงสั่งจับคนที่พระนางคาดว่าเป็นศัตรูของพระนางและประหาร พระนางทรงยึดราชบัลลังก์และขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2371 หลังจากสังหารศัตรูสิ้นแล้ว