วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อัล ปาชิโน

 ประวัติย่อ ::

อัล ปาชิโน่ นักแสดงผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้ว 8 ครั้ง โดยหลังจากเข้าชิงสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมพร้อมผลงานอย่าง... And Justice For All, The Godfather Part II, Dog Day Afternoon และ Serpico (ซึ่งเขาชนะรางวัลลูกโลกทองคำ) แล้ว ปาชิโน่ก็คว้าออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมมาได้สำเร็จจากบทนายพัน แฟรงค์ สเลด ใน Scent Of A Woman (ซึงได้รับรางวัลลูกโลกทองคำอีกเช่นกัน)
ปาชิโน่ได้เข้าชิงออสการ์ในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม 3 ครั้ง จากบท ไมเคิล คอร์ลีโอเน่ ใน The Godfather, บิ๊ก บอย คาปรีซ ใน Dick Tracy (ซึ่งเป็นบทที่ทำให้เขาชนะรางวัลอเมริกันคอมมิดี้อวอร์ดปี 1990) และ ริคกี้ โรมา ในหนังของ เดวิด มาเม็ต เรื่อง Glengarry Glen Ross
ล่าสุด ปาชิโน่แสดงประกบ โรบิ้น วิลเลี่ยมส์ และ ฮิลารี่ สแวงค์ ในหนังของ คริสโตเฟอร์ โนแลน เรื่อง Insomnia และหนังของผู้เขียนบท-ผู้กำกับ แอนดรูว์ นิกโคล เรื่อง Simone หลังจากนั้นเรายังจะได้เห็นเขาใน People I Know กำกับโดย แดน แอลแกรนต์ ของมิราแม็กซ์ฟิล์มส์, Gigli กำกับโดย มาร์ติน เบรสต์ และรับบท รอย คอห์น ในหนังเอชบีโอที่สร้างจากละครของ ทอย คุชเนอร์ เรื่อง Angels in America กำกับโดย ไมค์ นิกโคลส์
ปลายปี 1999 ปาชิโน่แสดงใน The Insider ของ ทัชสโตนพิกเจอร์ส โดยรับบทเป็น โลเวลล์ เบิร์กแมน นักข่าวประจำรายการ 60 Minutes และแสดงประชันฝีมือกับ รัสเซลล์ โครว์ และ คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ กำกับโดย ไมเคิล มานน์ หนังเรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 7 สาขา นอกจากนั้น ปาชิโน่ยังแสดงหนังฟุตบอลของ โอลิเวอร์ สโตน เรื่อง Any Given Sunday โดยรับบทโค้ชฟุตบอล ประกบ แคเมอร่อน ดิแอ๊ซ, เจมส์ วู้ดส์ และ เดนนิส เควด 
ปี 2000 ปาชิโน่จับงานกำกับเป็นครั้งที่สองในเรื่อง Chinese Coffee ซึ่งเขาเหมาตำแหน่งนักแสดงนำและผู้อำนวยการสร้างเองด้วย หนังสร้างจากบทละครที่เขียนโดย ไอร่า ลูว์อิส ซึ่งปาชิโน่เคยแสดงที่เซอร์เคิลอินเดอะสแควร์มาแล้วเมื่อปี 1992 เรื่องราววนเวียนอยู่กับบทสนทนาระหว่างนักเขียนกรีนิชวิลเลจคนหนึ่งกับเพื่อนของเขาที่เกี่ยวพันไปถึงเรื่องมิตรภาพ, ความรักและความฝัน

ก่อนหน้านั้น ปาชิโน่เคยกำกับและนำแสดงใน Looking for Richard ที่เกี่ยวข้องกับบทละครเรื่อง Richard III ของเชคสเปียร์ส (งานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัล Outstanding Directorial Achievement for a Documentary จากสมาคมผู้กำกับแห่งอเมริกา) ร่วมแสดงโดย วิโนนา ไรเดอร์, อเล็ก บาลด์วิน และ เอแดน ควินน์ 
ผลงานแสดงเรื่องอื่นๆของปาชิโน่ ยังได้แก่ Donnie Brasco ของ ไมค์ นีเวลล์ ร่วมแสดงโดย จอห์นนี่ เด็ปป์, The Devil’s Advocate กับ คีอานู รีฟส์ และ ชาร์ลิส เธอรอน, Two Bits กับ แมรี่ อลิซาเบธ มาสตรันโตนิโอ, Heat กับ โรเบิร์ต เดอ นีโร และ วาล คิลเมอร์ กำกับโดย ไมเคิล มานน์, City Hall นำแสดงโดย จอห์น คูแซ็ค, บริดเจ็ต ฟอนด้า และ แดนนี่ ไอเญโล่, Carlito’s Way ของ ไบรอัน เดอ พัลม่า, Frankie & Johnny, The Godfather, Part III, Sea Of Love, Revolution, Scarface, Author! Author!, Bobby Deerfield และ Scarecrow ซึ่งเขาได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1973 เขาเริ่มเล่นหนังเป็นเรื่องแรกในปี 1971 คือเรื่อง The Panic In Needle Park

ปาชิโน่อำนวยการสร้าง, นำแสดงและร่วมกำกับหนังอินดี้ที่ดัดแปลงจากบทละครเรื่อง The Local Stigmatic ซึ่งออกฉายเมื่อเดือนมีนาคม 1990 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในนิวยอร์ค และที่พับลิกเธียเตอร์
หลังเรียนจบจาก เฮอร์เบิร์ต เบอร์กอฟ ตามด้วย แอ็กเตอร์ส สตูดิโอ ของ ลี สตราสเบิร์ก แล้ว ปาชิโน่ก็เข้าสู่วงการแสดงโดยประเดิมด้วยละครออฟบรอดเวย์เรื่อง The Connection และ Hello, Out There จากนั้นเขามาชนะรางวัลโอบี้อวอร์ดจาก The Indian Wants The Bronx ของ อิสราเอล โฮโรวิตซ์ 

ปาชิโน่ชนะสองรางวัลโทนี่จากบทนำใน The Basic Training of Pavlo Hummel กับ Does A Tiger Wear A Necktie? เขาเป็นสมาชิกเก่าแก่ของ เอ็กซ์เพอริเมนทัล เธียเตอร์ คอมพานี ของ เดวิด วีลเลอร์ ในบอสตัน ซึ่งเขาเคยร่วมงานด้วยในละครเรื่อง Richard III และ Arturo Ui ของ แบร์โทลต์ เบรคต์ ส่วนในนิวยอร์คและลอนดอนนั้น เขายังแสดงในละครของ เดวิด มาเม็ต เรื่อง American Buffalo และที่นิวยอร์คอีกเช่นกันที่เขาแสดงใน Richard III และรับบท มาร์ก แอนโทนี่ ใน Julius Caesar ที่พับลิก เธียเตอร์ ของ โจเซฟ แพ็ปป์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของปี 1994 ปาชิโน่ปรากฏตัวที่โรงละครเซอร์เคิลอินเดอะสแควร์ พร้อมละครของ ออสการ์ ไวลด์ ที่เพิ่งเปิดแสดงในนิวยอร์คเป็นครั้งแรก เรื่อง Salome และในรอบปฐมทัศน์ของ Chinese Coffee ละครของ ไอร่า ลูว์อิส นอกจากนั้น เขายังกำกับและนำแสดงใน Hughie ของ ยูยีน โอนีลล์ ซึ่งเปิดแสดงเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ปี 1996 ที่ลองวาร์ฟเธียเตอร์ ในนิวแฮฟเวน ก่อนจะย้ายไปยังเซอร์เคิลสแควร์ในนิวยอร์คช่วงกลางเดือนกรกฎาคมและปักหลักแสดงที่นั่นจนตลอดเดือนสิงหาคม

ปาชิโน่คว้ารางวัล Lifetime Achievement Award จาก Independent Feature Project (IFP) ที่งานแจกรางรางวัลก็อทแธ่มอวอร์ดสปี 1996 และในปี 2000 เขายังได้รับการยกย่องจาก Film Society of Lincoln Center และได้รับรางวัล เซซิล บี เดอมิลล์ อวอร์ด จากสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำฮอลลีวู้ดในปี 2001 ด้วย

     

ฟุตบอลโลกครั้งที่ 1

ฟุตบอลโลกครั้งที่ 1 ( ฟุตบอลโลก 1930 ที่ประเทศอุรุกวัย )

ฟุตบอลโลก 1930 เป็นฟุตบอลโลกครั้งแรก จัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย ในปี พ.ศ. 2473 โดย ทีมชาติอุรุกวัย ชนะอาร์เจนตินา 4 -2 การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งโดยไม่มีการคัดเลือกทีมเข้าเล่น ประเทศที่เข้าร่วมเป็นประเทศที่ได้รับเชิญและเป็นส่วนหนึ่งของฟีฟ่า ในขณะนั้น ในขณะเดียวกันเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก มีค่าสูง ทำให้หลายประเทศในทวีปยุโรปไม่ได้เข้าร่วมฟุตบอลโลกในครั้งนี้ ทำให้ประธานของฟีฟ่า ชูลส์ รีเมต์ ร่วมกับรัฐบาลของอุรุกวัย ได้สัญญาจะจ่ายค่าเดินทางทั้งหมดให้กับทีมที่มาจากทวีปยุโรป ในที่สุดทีมจากยุโรป 4 ทีม ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย และ โรมาเนีย ได้เดินทางทางทะเลเป็นเวลาสามอาทิตย์มาที่ประเทศอุรุกวัย การแข่งขันในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 สาย A B C และ D โดยสาย A มีอยู่ 4 ประเทศ ขณะที่สายอื่นมี 3 ประเทศ ผู้ชนะในแต่ละสายจะมาแข่งกัน
จุดเริ่มต้นของศึกฟุตบอลโลกหนแรกของโลก ระเบิดขึ้นบนดินแดนละตินอเมริกาของ อุรุกวัย ในปี 1930 โดยมีประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดเพียง 13 ทีม และในศึกเวิลด์ คัพ หนนี้ไม่มีการเตะรอบคัดเลือก แต่อย่างใด ฝ่ายอุรุกวัย เจ้าภาพทำการเชื้อเชิญทีมต่างๆ มาร่วมโม่แข้งแทน ผลปรากฏว่ามีเพียง 4 ทีมจากยุโรปเท่านั้น ที่ยินยอมตอบรับคำเชิญ เนื่องจากหลายประเทศต้องเดินทางไกลมาก แต่ อุรุกวัย ก็มีความเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าภาพในครั้งแรกนี้ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิก หรือคำยืนยันว่าจะออกค่าใช้จ่ายให้กับทุกทีมที่เดินทางมาร่วมแข่งขัน และยิ่งไปกว่านั้น สนาม เซนเตนาริโอ ในกรุงมอนเตวิเดโอ ซึ่งสามารถรองรับแฟนฟุตบอลได้ร่วม 1 แสนชีวิต คือ สังเวียนแข้งแห่งใหม่ เพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีของวงการฟุตบอลอุรุกวัยอีกด้วย
เกมการแข่งขันนัดเปิดสนาม เมื่อวันที่ 13 ก.ค. เริ่มขึ้นด้วยความทุลักทุเล แต่ ฝรั่งเศส ภายใต้การสนับสนุนของ จูลส์ ริเม่ต์ ประธานฟีฟ่าชาวเมืองน้ำหอม ก็สามารถถล่มเอาชนะ เม็กซิโก ไปได้อย่างสบาย 4-1 โดย ลุกแซง โลร็องต์ ถูกจารึกว่าเป็นผู้ทำประตูแรกในประวัติศาสตร์ของศึกฟุตบอลโลก
อย่างไรก็ตามในกลุ่ม เอ อาร์เจนตินา กลับเป็นทีมที่สร้างผลงานได้ดีที่สุด ด้วยการเอาชนะทั้งฝรั่งเศส และชิลี โดยเฉพาะเกมที่พบกับ เม็กซิโก นั้น ได้มีชายที่ชื่อ กิลเยร์โม่ สตาบิเล่ กลายเป็นฮีโร่ของทีมฟ้า-ขาว เมื่อสามารถทำแฮตทริกได้เป็นคนแรกในการแข่งขัน รวมทั้งในศึกฟุตบอลโลกด้วย ทำให้ อาร์เจนตินา กลายเป็นแชมป์กลุ่มอย่างง่ายดาย
ส่วน กลุ่ม บี ยูโกสลาเวีย เข้ารอบรองชนะเลิศไปอย่างสบาย เมื่อเอาชนะทั้ง บราซิล และโบลิเวีย ขณะที่กลุ่ม ซี มาริโอ เดอ ลาส คาซาส กัปตันทีมของ เปรู กลายเป็นนักเตะคนแรกที่โดนไล่ออกจากสนาม เมื่อไปเตะ สเตเนอร์ แบ๊กขวาของโรมาเนียจนขาหัก แต่ อุรุกวัย เจ้าภาพก็อาศัยความได้เปรียบเข่นเอาชนะทั้ง 2 ทีมไปได้อย่างไม่ยากเย็น ขณะที่ สหรัฐอเมริกา กลายเป็นม้ามืดของการแข่งขัน เมื่อเอาชนะ เบลเยียม และปารากวัย ไปได้ 3-0 ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการคาดหมายว่าจะมีโอกาสเข้ารอบเลย สำหรับรอบ 4 ทีมสุดท้าย ทีมฟ้า-ขาว โชว์เพลงแข้งที่เหนือกว่า ถล่มเอาชนะ สหรัฐฯ ไปอย่างท่วมท้น 6-1 ส่วน นักเตะจอมโหด เจ้าภาพ ก็อัดยูโกสลาเวีย ไป 6-1 เช่นกัน
รอบชิงชนะเลิศในศึกเวิล์ด คัพ หนแรก กลายเป็นแมตช์รีเพลย์ของฟุตบอลโอลิมปิกเกมส์ เมื่อปี 1928 เพราะ อุรุกวัย มาเจอกับ อาร์เจนตินา อีกครั้ง และแม้ว่า นักเตะฟ้า-ขาว จะเล่นได้ดีกว่า แต่ทีมจอมโหด ก็พลิกสถานการณ์ในครึ่งหลัง กลับมาเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้อย่างตื่นเต้น 4-2 ส่งผลให้อุรุกวัย กลายเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ขณะที่ สตาบิเล่ ก็ครองตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุด เมื่อซัดไป 8 ประตู

โคอาล่า

ประวัติ
ใน พ.ศ. 2341 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า ข้อมูลรายละเอียดของโคอาลาเริ่มถูกตีพิมพ์ในซิดนีย์กาเซ็ตต์ (Sydney Gazette) ค.ศ. 1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Blainwill ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่า Phascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้ และคำว่า หมี (leather pouch และ bear) ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Goldfuss ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็น cinereus ซึ่งหมายถึง สีขี้เถ้า ดูรูปประกอบจะเห็นชัดเจนมากขึ้น

 
ขนาดและน้ำหนัก
โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้จะมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น โดยตัวผู้สูงประมาณ 30.8 นิ้ว หรือ 78 ซ.ม. ในขณะที่ตัวเมียสูงประมาณ 28 นิ้ว หรือ 72 ซ.ม. โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 26 ปอนด์ หรือ 11.8 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 17.4 ปอนด์ หรือ 7.9 กิโลกรัม โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 14.3 ปอนด์ หรือ 6.5 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 11.2 ปอนด์ หรือ 5.1 กิโลกรัม โคอาลาแรกเกิดมีน้ำหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม เท่านั้น
ลักษณะขน
โคอาลาที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาลาที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาลามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น
 

ถิ่นที่อยู่อาศัย
โคอาลาอาศัยอยู่ในป่าที่มีต้นยูคาลิปตัส ปัจจุบันจะพบโคอาลาได้ที่ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย และ รัฐเซาท์ ประเทศออสเตรเลีย
ศัตรู
ศัตรูที่สำคัญคือ มนุษย์ ซึ่งล่าเอาขนของมัน
อาหาร
โคอาล่ากินใบยูคาลิปตัสเป็น อาหาร ฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ใบยูคาลิปตัวมีสารอาหารน้อยมาก และยังมีสารที่มีพิษต่อสัตว์ แต่ระบบย่อยอาหารของโคอาลามีการปรับตัว ทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้ โคอาลามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส)

 
 
การสืบพันธุ์

ฤดูการสืบพันธุ์ของโคอาลาอยู่ในช่วงกันยายน ถึง มีนาคม ตัวเมียเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ถึง 4 ปี และมักมีลูกปีละตัว แต่ทั้งนี้อาจมีลูกปีเว้นปี หรือ ปีเว้น 2 ปี ก็ได้ ขึ้นกับอายุของตัวเมียและสภาพแวดล้อม อายุขัยเฉลี่ยของโคอาลาตัวเมียประมาณ 12 ปี ทำให้มีลูกได้อย่างมาก 5 -6 ตัว ตลอดอายุขัยของมัน
อายุขัย
ขึ้นกับปัจจัยรอบข้าง โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 113-200 ปี เนื่องจากยีนส์
การติดต่อสื่อสาร
โคอาลาใช้เสียงในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเสียงที่ใช้มีหลายลักษณะ โดยทั่วไปตัวผู้มักส่งเสียงร้องดังเพื่อประกาศหรือบอกบริเวณที่ตนอาศัยอยู่ ในขณะที่ตัวเมียจะไม่ค่อยส่งเสียงร้อง ตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังเมื่อมีอาการกร้าวร้าว สำหรับโคอาลาตัวเมียที่มีลูกอ่อน จะใช้เสียงที่มีความอ่อนโยนกับลูกของตนเอง เมื่อเกิดความกลัวขึ้น โคอาล่าทั้งตัวผู้และตัวเมียจะใช้ส่งเสียงคล้ายเสียงเด็กร้องไห้ นอกจากนี้ โคอาลายังใช้กลิ่นของตนเองทำเครื่องหมายตามต้นไม้ที่ต่างๆ ในการติดต่อถึงกันอีกด้วย
 
ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดก็ได้มีนักอนุรักษ์ออกมาเผยผลสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ว่าโคอาลาสัตว์โลกน่ารักที่มีเฉพาะในทวีปออสเตรเลียเท่านั้น อาจจะสูญพันธุ์ได้ในเวลา 30 ปีที่จะถึงนี้ และควรที่จะประกาศให้เป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ได้แล้ว  เพราะจากการสำรวจของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียชี้ว่า จำนวนของเจ้าโคอาลาลดลงกว่าครึ่งอย่างฮวบฮาบในเวลา 6 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เชื้อโรค และอื่นๆ โดยขณะนี้มีโคอาลาเหลือเพียง 4.3-8 หมื่นตัวเท่านั้นในออสเตรเลีย "จากการสำรวจครั้งล่าสุดในปี 2003 ที่มีกว่าแสนตัว"

ไข้หวัดอูฐ

       โรคเมอร์ส-โควี ประชิดไทย พบมาเลเซียติดเชื้อและเสียชีวิตรายแรกแล้วหลังเดินทางไปซาอุดีอาระเบีย กำชับทุกโรงพยาบาลคุมเข้ม ผู้ป่วยอาการคล้ายปอดบวม สั่งแยกตัวห้องปลอดเชื้อ ตรวจเสมหะพิสูจน์เชื้อ เฝ้าระวังต่างชาติที่มาจากตะวันออกกลาง ระบุตรวจอูฐในไทยแล้วไม่พบติดเชื้อ
อันตราย! โรคเมอร์ส-โควี ประชิดไทย พบตาย 1 รายที่มาเลย์ สั่งแยกผู้ป่วยปอดบวมเข้าห้องปลอดเชื้อ ตรวจเสมหะ
       วันนี้ (18 เม.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมาเลเซียพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2012 หรือไวรัสเมอร์ส-โควี (MERS-CoV : Middle East Respiratory Syndrome -Coronavirus) รายแรก เป็นชายวัย 54 ปี หลังเดินทางกลับจากเมืองเจดดาห์ ซาอุดีอาระเบีย และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 เม.ย. โดยมีประวัติสัมผัสอูฐและดื่มนมอูฐ ว่า ขณะนี้ไทยกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาด ไทยจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไทยมีระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคที่เข้มแข็ง และได้สั่งให้ทุกจังหวัดเข้มมาตรการเฝ้าระวังโรค ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน รวมทั้งให้การรักษาผู้ป่วยสงสัย โดย สธ.ไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนบวก 3 มีระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อและใช้มาตรการควบคุมป้องกันโรคร่วมกัน ทำให้สามารถรู้สถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อต่างๆ ในประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างรวดเร็ว
      
       นพ.ณรงค์ กล่าวว่า มาตรการจะยึดตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อจำกัดการเดินทาง โดยมุ่งเน้นการให้คำแนะนำประชาชนทั้งชาวไทยที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ทั้งเพื่อดำเนินธุรกิจ ท่องเที่ยว และประกอบพิธีกรรมศาสนา ขอให้หลีกเลี่ยงการไปฟาร์มปศุสัตว์ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดหรือมีอาการปอดบวม หลังจากเดินทางกลับประเทศหากมีอาการไข้ ไอ เกิน 2 วัน ขอให้พบแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ และแจ้งประวัติการเดินทางทุกครั้ง รวมถึงเฝ้าระวังในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางด้วย
      
       “ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน เพิ่มระดับการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้และปอดบวมหรือปอดอักเสบร่วม ขอให้ซักประวัติการเดินทางทุกราย และแยกดูแลในห้องปลอดเชื้อ โดยใช้ระบบการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลตามมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ รวมทั้งเก็บตัวอย่างเสมหะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ สธ. ได้ประชุมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก คร. กรมการแพทย์ สำนักระบาดวิทยา โดยได้ให้กรมการแพทย์ ทบทวนคู่มือแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้ เพื่อเป็นมาตรฐานแก่แพทย์ทั่วประเทศ” ปลัด สธ. กล่าว
      
       ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. กล่าวว่า ได้ประชุมผู้เชี่ยวชาญและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมปศุสัตว์ เฝ้าระวังการติดเชื้อในอูฐที่มีการเลี้ยงในไทยหลายแห่ง ไม่พบการติดเชื้อใดๆ ในส่วนของคำแนะนำเพื่อการเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส-โควี คร.จะเร่งดำเนินการให้คำแนะนำทางวิชาการที่เหมาะสม ให้แก่สายการบินระหว่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สถานกงสุลไทย และกระทรวงการต่างประเทศ โดยจะมีการติดตามสถานการณ์จาก WHO และภูมิภาคอย่างใกล้ชิด และขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อคัดกรองผู้เดินทางที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เนื่องจากองค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ใช้และมีประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรคนี้น้อย

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันชาติของฝรั่งเศส

           วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า “The Feast of the Federation” เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ “Champs-de-Mars” ในกรุงปารีส

             แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย “the Third Republic*”นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันชาติฝรั่งเศส”และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น

           ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้

การเดินสวนสนาม

  การเดินสวนสนามวันบัสตีย์นั้นเป็นการเดินสวนสนามฝรั่งเศสที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในกรุงปารีสนับตั้งแต่ ค.ศ. 1880 ในตอนเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม แต่ก่อนการเดินสวนสนามดังกล่าวจัดขึ้นที่อื่นในหรือใกล้กับกรุงปารีส แต่หลังจากปี ค.ศ. 1918 ได้ย้ายมาจัดที่ถนนช็องเซลีเซ ด้วยการเห็นพ้องอย่างชัดเจนของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นตัวแทนในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย ยกเว้นช่วงที่เยอรมนียึดครองฝรั่งเศสจาก ค.ศ. 1940 ถึง 1944[4] ขบวนสวนสนามเคลื่อนลงมาตามถนนช็องเซลีเซ จากประตูชัยฝรั่งเศสไปถึงจัตุรัสกงกอร์ด ที่ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะรัฐบาลและเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศฝรั่งเศสยืนอยู่ การเดินสวนสนามวันบัสตีย์ได้รับความนิยมในฝรั่งเศส มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ และเป็นการเดินสวนสนามเป็นปกติที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ในบางปียังได้มีการเชิญทหารต่างประเทศเข้าร่วมในขบวนสวนสนามและเชิญรัฐบุรุษต่างประเทศเข้าร่วมในฐานะแขก
นอกจากนี้ ยังมีการเดินขบวนสวนสนามขนาดเล็กกว่าตามเมืองที่มีกองทหารประจำอยู่ของฝรั่งเศส อันประกอบด้วยทหารในท้องถิ่นนั้น