วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ตำหนักซานดริงแฮม

Sandringham-north-garden.jpg


ตำหนักซานดริงแฮม (ภาษาอังกฤษSandringham House) เป็นคฤหาสน์ชนบทตั้งอยู่ที่หมู่บ้านซานดริงแฮม, นอร์โฟล์คในสหราชอาณาจักร เป็นตำหนักที่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์อังกฤษ
บริเวณที่ตั้งของตำหนักมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยเอลิซาเบธ ในปี ค.ศ. 1771 สถาปนิกคอร์นิช เฮ็นลีย์สร้างซานดริงแฮมฮอล ซานดริงแฮมฮอลได้รับการขยายระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาร์ลส์ สเป็นเซอร์ คาวเพอร์บุตรของลอร์ดพาล์มเมอร์สตันผู้สร้างระเบียงและเรือนกระจกที่หรูหราออกแบบโดยสถาปนิกซามูเอล แซนเดอร์ส ทูลอน (Samuel Sanders Teulon)
ในปี ค.ศ. 1862

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556




มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ยังคงรักษาแชมป์อย่างต่อเนื่อง ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2013จากการจัดอันดับของนิตยสาร ไทม์ส ไฮเออร์ เอดูเคชั่น โดยความร่วมมือจากบริษัท ธอมสัน รอยเตอร์ เจ้าของสำนักข่าวรอยเตอร์ในการจัดอันดับความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2556 จำนวน 100 อันดับ วัดจากการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มนักวิชาการชั้นนำของโลก และการรับรู้ของคนทั่วไป
โดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดของสหรัฐฯครองอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก ตามด้วยอันดับ 2 คือสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์(MIT)ของสหรัฐฯเช่นกัน ส่วนอันดับ3-4 คือมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ของอังกฤษ ด้านมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ของสหรัฐฯติดอันดับ 5

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556





คุกเป็นสถานที่ที่ไม่คงไม่มีใครอยากจะเฉียดกายเข้าใกล้ แต่สำหรับคุกบนเกาะ “บาสตอย” ที่นอร์เวย์แห่งนี้ คงเป็นคุกที่ทำให้นักโทษรู้สึกสบายที่สุดในโลก  เพราะนักโทษที่นี่ไม่ต้องผูกโซ่ตรวน  และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ในคุก ทั้งนอนอาบแดด เดินชมชายหาด เล่นกีฬาต่าง ๆ หรือแม้แต่อ่านหนังสือในห้องสมุดครับ แถมยังมีค่าอาหารให้ซื้อกินเองสัปดาห์ละ 3,000 บาท อีกด้วยนะ  ที่อยู่อาศัยนักโทษที่นี่ดีมากๆ เพราะพวกเขาจะอาศัยอยู่ในกระท่อมหลังเล็กๆ ไม่เกิน 6 คน ภายในมีสิ่งอำนวนความสะดวกครบอย่างครบครัน นอกจากนี้ยังสามารถออกไปรับจ้างทำงานในฟาร์มของชาวบ้าน หรือว่าจะเป็นงานซ่อมจักรยาน งานในโรงไม้ ซึ่งมีค่าจ้างให้ เฉลี่ยแล้วตกวันละ  270 บาท แล้วสามารถนำเงินที่ได้นำไปซื้อของในซูเปอร์มาร็เก็ตได้อีกครับ
ทางผู้คุมเรือนจำ เผยว่าการปฏิบัติต่อนักโทษดังกล่าวจะสามารถปรับปรุงพฤติกรรมของนักโทษ ไม่ให้ทำผิด และกลับมาเข้าคุกได้อีก แต่ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวอยู่ในขั้นการทดลองเท่านั้นเอง

แต่หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวนี้ออกไป ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า บทลงโทษนี้สมควรแล้วหรือกับนักโทษที่ก่อคดี แต่ถ้าวิธีนี้ได้ผลก็คงจะมีคนกระทำผิดลดน้อยลง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมากครับ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โจเซฟ สตาลิน





โจเซฟ สตาลิน (รัสเซียИосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin โยซิฟ วิซซาร์โยโนวิช สตาลิน ;อังกฤษ: Joseph Stalin) (18 ธันวาคม ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง ค.ศ. 1953 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค
สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในการทำสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา
โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงของเขาคือ "โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี" (იოსებ ბესარიონის ძე ჯუღაშვილიIoseb Besarionis dze Jughashvili) เขาเกิดที่เมือง โกรี ประเทศจอร์เจียตำแหน่งเมืองนั้นตั้งอยู่บนเนินสูงของเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เขาก็เป็นชาวจอร์เจียนโดยกำเนิด โดยชื่อ สตาลิน นี้เขาตั้งขึ้นมาเองขณะทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า)
ด้วยความทะเยอทะยานทำให้สตาลินได้เริ่มมีบทบาทสำคัญในพรรคบอลเชวิค หลังจากที่พรรคบอลเชวิคทำการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ลงได้ สตาลินก็ได้รับตำแหน่งคอมมิสซาร์ประชาชนเพื่อกิจการชนชาติต่างๆ[1]จนเมื่อเลนินล้มป่วย สตาลินก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นไปอีก จนได้เป็นเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 1922
จนกระทั่งเมื่อเลนินเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1924 ก็ได้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างสตาลินกับ ลีออน ทรอตสกี สุดท้ายสตาลินก็ชนะ จึงได้เป็นประธานาธิบดีต่อจากเลนิน ทำให้ทรอตสกีต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ เม็กซิโก แต่ในที่สุด ทรอตสกีก็ถูกลอบสังหารที่แม็กซิโกนั่นเอง
ใน ค.ศ. 1940 ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมื่อศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน เขานำระบบ คอมมูน มาใช้ ทุกคนถูกห้ามมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้งตัวบุคคลเป็นของพรรคหรือคอมมูน ผู้ต่อต้านถูกส่งไปค่ายกักกันและเสียชีวิตราว 10 ล้านคน ไมมีการสำรวจประชากรว่าระหว่างเขาเป็นผู้นำประชากรโซเวียตเสียชีวิตไปเท่าไร ในช่วงที่มีการปฏิวัติระบบ นารวม มีคนอดตายอีกเป็นล้านๆ คน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นกับรัสเซีย ปี ค.ศ. 1941 - ค.ศ. 1945 เขานำโซเวียตชนะสงคราม โดยประชาชนเสียชีวิต 20 ล้านคน ทหารเสียชีวิต 10 ล้านคน เขาสั่งพัฒนาประเทศต่อไปอย่างไม่รีรอ
เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1953 หลังสตาลินตาย ครุฟซอฟ ผู้นำคนใหม่ได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุกๆ ที่ ที่มีรูปปั้นสตาลินถูกทุบทิ้ง เพลงชาติถูกลบชื่อของเขาออก ศพของเขาถูกย้ายจากข้างๆ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อาลซัส

ธงประจำแคว้นอาลซัส

อาลซัส (ฝรั่งเศสAlsaceฟังเสียง) หรือ แอลซ็อส (อัลเซเชียน: Elsàss) เป็นหนึ่งใน 26แคว้นในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนทางทิศตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส และทางทิศตะวันตกของแม่น้ำไรน์ติดกับประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองสตราสบูร์กเดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และต่อมาประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีผลัดกันครอบครองแคว้นอาลซัสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 20
เดิมอาลซัสเคยเป็นของเยอรมนี แต่หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียฝรั่งเศสแย่งแคว้นอาลซัสและลอแรนไปจากเยอรมนีทำให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนไม่พอใจฝรั่งเศส จึงเกิดสงครามฝรั่งเศส-อาลซัสและสงครามฝรั่งเศส-ลอแรน โดยฝรั่งเศสต้องสู้กับชาวอาลซัสและชาวลอแรน แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถปราบชาวอาลซัสและลอแรนลงได้
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แคว้นอาลซัสค่อย ๆ ถูกปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14และกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส บ่อยครั้งที่แคว้นอาลซัสได้ถูกกล่าวรวมกับแคว้นลอแรนเนื่องจากการครอบครองดินแดนของแคว้นทั้งสอง (อาลซัส-ลอแรน) เป็นที่เลื่องชื่อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

pyotr ilyich tchaikovsky

His father was a mine inspector. He started piano studies at five and soon showed remarkable gifts; his childhood was also affected by an abnormal sensitivity. At ten he was sent to the School of Jurisprudence at St. Petersburg, where the family lived for some time. His parting from his mother was painful; further, she died when he was 14 -- an event that may have stimulated him to compose. At 19 he took a post at the Ministry of Justice, where he remained for four years despite a long journey to western Europe and increasing involvement in music. In 1863 he entered the Conservatory, also undertaking private teaching. Three years later he moved to Moscow with a professorship of harmony at the new conservatory. Little of his music so far had pleased the conservative musical establishment or the more nationalist group, but his First Symphony had a good public reception when heard in Moscow in 1868.

Rather less successful was his first opera, "The Voyevoda," given at the Bol'shoy in Moscow in 1869; Tchaikovsky later abandoned it and re-used material from it in his next, "The Oprichnik." A severe critic was Balakirev, who suggested that he write a work on "Romeo and Juliet": this was the Fantasy-Overture, several times rewritten to meet Balakirev's criticisms; Tchaikovsky's tendency to juxtapose blocks of material rather than provide organic transitions serves better in this programmatic piece than in a symphony as each theme stands for a character in the drama. Its expressive, well-defined themes and their vigorous treatment produced the first of his works in the regular repertory.

"The Oprichnik" won some success at St. Petersburg in 1874, by when Tchaikovsky had won acclaim with his Second Symphony (which incorporates Ukrainian folktunes); he had also composed two string quartets (the first the source of the famous Andante cantabile), most of his next opera, "Vakula the Smith," and of his First Piano Concerto, where contrasts of the heroic and the lyrical, between soloist and orchestra, clearly fired him. Originally intended for Nikolay Rubinstein, the head of the Moscow Conservatory, who had much encouraged Tchaikovsky, it was dedicated to Hans von Bülow (who gave its première, in Boston) when Rubinstein rejected it as ill-composed and unplayable (he later recanted and became a distinguished interpreter of it). In 1875 came the carefully written Third Symphony and "Swan Lake," commissioned by Moscow Opera. The next year a journey west took in "Carmen" in Paris, a cure at Vichy and the first complete "Ring" at Bayreuth; although deeply depressed when he reached home -- he could not accept his homosexuality -- he wrote the fantasia "Francesca da Rimini" and (an escape into the 18th century) the "Rococo Variations" for cello and orchestra. "Vakula," which had won a competition, had its première that autumn. At the end of the year he was contacted by a wealthy widow, Nadezhda von Meck, who admired his music and was eager to give him financial security; they corresponded intimately for 14 years but never met.

Tchaikovsky, however, saw marriage as a possible solution to his sexual problems; and when contacted by a young woman who admired his music he offered (after first rejecting her) immediate marriage. It was a disaster: he escaped from her almost at once, in a state of nervous collapse, attempted suicide and went abroad. This was however the time of two of his greatest works, the Fourth Symphony and "Eugene Onegin." The symphony embodies a "fate" motif that recurs at various points, clarifying the structure; the first movement is one of Tchaikovsky's most individual with its hesitant, melancholy waltz-like main theme and its ingenious and appealing combination of this with the secondary ideas; there is a lyrical, intermezzo-like second movement and an ingenious third in which pizzicato strings play a main role, while the finale is impassioned if loose and melodramatic, with a folk theme pressed into service as second subject. "Eugene Onegin," after Pushkin, tells of a girl's rejected approach to a man who fascinates her (the parallel with Tchaikovsky's situation is obvious) and his later remorse: the heroine Tatyana is warmly and appealingly drawn, and Onegin's hauteur is deftly conveyed too, all against a rural Russian setting which incorporates spectacular ball scenes, an ironic background to the private tragedies. The brilliant Violin Concerto also comes from the late 1870s.

The period 1878-84, however, represents a creative trough. He resigned from the conservatory and, tortured by his sexuality, could produce no music of real emotional force (the Piano Trio, written on Rubinstein's death, is a single exception). He spent some time abroad. But in 1884, stimulated by Balakirev, he produced his "Manfred" symphony, after Byron. He continued to travel widely, and conduct; and he was much honoured. In 1888 the Fifth Symphony, similar in plan to the Fourth (though the motto theme is heard in each movement), was finished; a note of hysteria in the finale was recognized by Tchaikovsky himself. The next three years saw the composition of two ballets, the finely characterized "Sleeping Beauty" and the more decorative "Nutcracker," and the opera "The Queen of Spades," with its ingenious atmospheric use of Rococo music (it is set in Catherine the Great's Russia) within a work of high emotional tension. Its theatrical qualities ensured its success when given at St. Petersburg in late 1890. The next year Tchaikovsky visited the USA; in 1892 he heard Mahler conduct "Eugene Onegin" at Hamburg. In 1893 he worked on his Sixth Symphony, to a plan -- the first movement was to be concerned with activity and passion; the second, love; the third, disappointment; and the finale, death. It is a profoundly pessimistic work, formally unorthodox, with the finale haunted by descending melodic ideas clothed in anguished harmonies. It was performed on 28 October. He died nine days later: traditionally, and officially, of cholera, but recently verbal evidence has been put forward that he underwent a "trial" from a court of honour from his old school regarding his sexual behaviour and it was decreed that he commit suicide. Which version is true must remain uncertain.

ระลึกถึงความตายสบายนัก


สำหรับคนทั่วไปไม่มีอะไรน่ากลัวเท่ากับความตาย เพราะความตายไม่เพียงพรากเราไปจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารักและหวงแหนเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานอย่างยิ่งยวดก่อนที่ลมหายใจสุดท้ายจะหมดไป ความตายที่ไม่เจ็บปวดจึงเป็นยอดปรารถนาของทุกคนรองลงมาจากความปรารถนาที่จะเป็นอมตะ แต่ความจริงที่เที่ยงแท้แน่นอนก็คือเราทุกคนต้องตาย
ความตายเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็จริง แต่ใครบ้างที่ยอมรับความจริงข้อนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ผู้คนเป็นอันมากจึงพยายามหนีห่างความตายให้ไกลที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามไม่นึกถึงมัน โดยทำตัวให้วุ่น หาไม่ก็ปล่อยใจเพลิดเพลินไปกับความสุขและการเสพ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีชีวิตราวกับลืมตาย ดังนั้นจึงไม่พอใจหากมีใครพูดถึงความตายให้ได้ยิน ถือว่าเป็นอัปมงคล คำว่า “ความตาย”กลายเป็นคำอุจาดที่แสลงหู ต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นที่ฟังดูนุ่มนวล เช่น “จากไป” หรือ “สิ้นลม”
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะต้องตายไม่ช้าก็เร็ว แต่แทนที่จะเตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้า คนส่วนใหญ่เลือกที่จะ “ไปตายเอาดาบหน้า” คือ ความตายมาถึงเมื่อไร ค่อยว่ากันอีกที แต่วันนี้ขอสนุกหรือขอหาเงินก่อน ผลก็คือเมื่อความตายมาปรากฏอยู่เบื้องหน้า จึงตื่นตระหนก ร่ำร้อง ทุรนทุราย ต่อรอง ผัดผ่อน ปฏิเสธผลักไส ไขว่คว้าขอความช่วยเหลือ แต่ถึงตอนนั้นก็ยากที่จะมีใครช่วยเหลือได้ เตรียมตัวเตรียมใจเพียงใด ก็ได้รับผลเพียงนั้น ถ้าเตรียมมามากก็ผ่านความตายได้อย่างสงบราบรื่น ถ้าเตรียมมาน้อย ก็ทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าจะหมดลม หากความตายเปรียบเสมือนการสอบ ก็เป็นการสอบที่ยุติธรรมอย่างยิ่ง
จะว่าไปชีวิตนี้ทั้งชีวิตก็คือโอกาสสำหรับการเตรียมตัวสอบครั้งสำคัญนี้ สิ่งที่เราทำมาตลอดชีวิตล้วนมีผลต่อการสอบดังกล่าว ไม่ว่าการคิด พูด หรือทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม การกระทำแม้เพียงเล็กน้อยไม่เคยสูญเปล่าหรือเป็นโมฆะ ที่สำคัญก็คือการสอบดังกล่าวมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่มีการแก้ตัวหรือสอบซ่อม หากสอบพลาดก็มีความทุกข์ทรมานเป็นผลพวงจนสิ้นลม
ความตายเป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับผู้ใช้ชีวิตอย่างลืมตายหรือคิดแต่จะไปตายเอาดาบหน้า แต่จะไม่น่ากลัวเลยสำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมมาอย่างดี อันที่จริงถ้ารู้จักความตายอยู่บ้าง ก็จะรู้ว่าความตายนั้นมิใช่เป็นแค่ “วิกฤต” เท่านั้น แต่ยังเป็น “โอกาส”อีกด้วย กล่าวคือเป็นวิกฤตในทางกาย แต่เป็นโอกาสในทางจิตวิญญาณ ในขณะที่ร่างกายกำลังแตกดับ ดิน น้ำ ลม ไฟ กำลังเสื่อมสลาย หากวางใจได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถพบกับความสงบ ทุกขเวทนาทางกายมิอาจบีบคั้นบั่นทอนจิตใจได้ มีผู้คนเป็นจำนวนมากได้สัมผัสกับความสุขและรู้สึกโปร่งเบาอย่างยิ่งเมื่อป่วยหนักในระยะสุดท้าย เพราะความตายมาเตือนให้เขาปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ที่เคยแบกยึดเอาไว้ หลายคนหันเข้าหาธรรมะจนค้นพบความหมายของชีวิตและความสุขที่แท้ ขณะที่อีกหลายคนเมื่อรู้ว่าเวลาเหลือน้อยแล้วก็หันมาคืนดีกับคนรักจนไม่เหลือสิ่งค้างคาใจใด ๆ และเมื่อความตายมาถึง มีคนจำนวนไม่น้อยที่จากไปอย่างสงบ โดยมีสติรู้ตัวกระทั่งนาทีสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้นมีบางท่านที่เห็นแจ้งในสัจธรรมจากทุกขเวทนาอันแรงกล้าที่ปรากฏเฉพาะหน้า จนเกิดปัญญาสว่างไสว และปล่อยวางจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งปวง บรรลุธรรมขั้นสูงได้ในขณะที่หมดลมนั้นเอง
สำหรับผู้ใฝ่ธรรม ความตายจึงมิใช่ศัตรู หากคือครูที่เคี่ยวเข็ญให้เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คอยกระตุ้นเตือนให้เราอยู่อย่างไม่ประมาท และไม่หลงเพลิดเพลินกับสิ่งที่มิใช่สาระของชีวิต ขณะเดียวกันก็สอนแล้วสอนเล่าให้เราเห็นแจ้งในสัจธรรมของชีวิต ว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ไม่มีอะไรน่ายึดถือ และไม่มีอะไรที่ยึดถือเป็นของเราได้เลยแม้แต่อย่างเดียว ยิ่งใกล้ความตายมากเท่าไร คำสอนของครูก็ยิ่งแจ่มชัดและเข้มข้นมากเท่านั้น หากเราสลัดความดื้อดึงได้ทันท่วงที นาทีสุดท้ายของเราจะเป็นนาทีที่ล้ำค่าอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกนาทีนั้นว่า “นาทีทอง”

สมโภชนักบุญเปโตร และเปาโล อัครธรรมทูต



สมโภชนักบุญเปโตร และเปาโล  อัครธรรมทูต 

การสมโภชในวันนี้เป็นการเฉลิมฉลองที่เก่าแก่ที่สุดวันหนึ่ง และที่จริงเป็นการฉลองที่มีมาก่อนการฉลองพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดเสียอีก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 แล้วที่ในวันฉลองนี้มีการถวายบูชามิสซา 3 มิสซาด้วยกันคือ ที่พระวิหารนักบุญเปโตรในรัฐวาติกันมิสซาหนึ่ง ที่พระวิหารนักบุญเปาโล นอกกำแพงเมืองอีกมิสซาหนึ่ง และมิสซาที่สามที่คาตากอมบ์นักบุญ เซบาสเตียน ซึ่งเชื่อว่าศพของท่านนักบุญอัครธรรมทูตผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านคงจะถูกซ่อนไว้ ณ ที่นี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง
นักบุญ เปโตร ซีมอนเป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา  (ลก. 5:3 ;ยน.1:44 ) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม ( มก. 1: 21.29 ) นักบุญ อันเดร น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซูเจ้า ( ยน. 1:42 )    และอาจเป็นนักบุญ ยอห์น แบปติสต์  ที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับองค์พระเยซูเจ้า
พระเยซูเจ้าได้ทรงเปลี่ยนชื่อท่านและทรงเรียกท่านด้วยชื่อใหม่ว่า “เปโตร” ( มธ. 16: 17-19 ; ยน. 21: 15-17 ) เพื่อทำหน้าที่เป็นศิลาพื้นฐานในตัวบุคคลของท่านเอง
นักบุญ เปโตร เป็นพยานบุคคลแรกๆผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ ( ยน. 20:6 ) และได้รับการประจักษ์มาข ององค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ( ลก. 23:34 )
หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว  ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน ( กจ. 1: 15 ; 15:7 ) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) ( กจ. 2:14-41 ) และท่านเองเป็นคนแรกที่ได้แลเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดพระศาสนจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ ( กจ.10-11 ) ภ ารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่างๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ ( มธ.10: 41 ; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31 ) นักบุญเปาโล เองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองอันติโอก ( กจ.15; กท. 2:11-14 ) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว  ในเรื่องนี้รู้สึกว่านักบุญ เปโตร  ยังตัดสินใ จช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว ( กจ. 6: 1-2 ) ต่อเมื่อนักบุญ เปโตร ได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครธรรมทูตของทุกๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น “ศิลาหัวมุม” ของพระศาสนจักรของพระเยซูเจ้าโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์
นักบุญ เปาโล นักบุญเปาโลหลังจากที่ได้กลับใจในระหว่างทางที่มุ่งไปสู่กรุงดามัสกัสแล้ว ก็ได้เดินทางในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นจำนวน3 ครั้งด้วยกันที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญ การเดินทางครั้งแรกของท่านนั้นมีนักบุญ บาร์นาบัส ร่วมเดินทางไปด้วย ( กจ 13-14 ) โดยออกเดินทางจากเมืองอันติโอก หยุดพักที่เกาะไซปรัสแล้วก็เดินทางผ่านประเทศตุรกีในปัจจุบันนี้
หลังจากการประชุมของบรรดาอัครธรรมทูตที่กรุงเยรูซาเลมแล้ว  ท่านก็ได้เริ่มการเดินทางครั้งที่ 2 ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้รับการขอร้องจากบรรดาอัครธรรมทูตทั้ง 12 อย่างเป็นทางการ ( กจ.15:36-18 : 22 ) ท่านได้เดินทางผ่านดินแดนตุรกี  ได้ประกาศพระวรสารในแคว้นฟรีเจียและกาลาเทียซึ่งท่านได้ล้มเจ็บลง ( กท. 4:13 ) จากนั้นก็ได้เดินทางเข้าสู่ยุโรปพร้อมกับนักบุญ ลูกา และได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้น ที่แคว้นฟิลิปปี (ประเทศกรีก) ที่แคว้นนี้ท่านได้ถูกจับขังคุกเป็นระยะหนึ่งแต่หลังจากนั้นเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้วก็เริ่มประกาศพระวรสารใหม่อีกที่กรุงเอเธนส์(ประเทศกรีก)ภารกิจของท่านต้องหยุดชะงักลงต่อหน้าบรรดานักปรัชญาชาวกรีก แต่ที่เมืองโครินธ์ ท่านได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นซึ่งภายหลังได้ทำให้ท่านต้องหนักใจมากกว่าที่อื่นๆ จากนั้นก็กลับเข้าสู่เมืองอันติโอก

สำหรับการเดินทางครั้งที่3นั้น(กจ1823-2117 )  ท่านได้เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งขึ้น(ประเทศตุรก ี) เป็นต้นกลุ่มคริสตชนที่เมืองเอเฟซัส จากนั้นก็มุ่งสู่ประเทศกรีก ไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่เมืองโครินธ์แล้วข้ามไปเมืองมิเลตุส พลางได้แจ้งให้บรรดาสมณทั้งหลายได้ทราบถึงการทดลองต่างๆ ที่ท่านกำลังจะได้รับและก็เป็นเช่นนั้นจริงคือ หลังจากที่ท่านได้กลับมาที่กรุงเยรูซาเลมได้ไม่นาน ท่านก็ถูกพวกชาวยิวจับและถูกขังคุก ( กจ 21 ) แต่เนื่องจากว่าท่านถือสิทธิ์เป็นพลเมืองโรมัน จึงได้อุทธรณ์ไปที่กรุงโรม
และดังนี้ก็เป็นการเริ่มต้นการเดินทางต่อมาของท่านแต่ว่าไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เพราะไม่มีอิสรภาพในการเดินทางถูกจับกุมตัว (กจ. 21-26 ) ท่านได้ไปถึงกรุงโรมในราวปี 60หรือ61และได้ถูกขังอยู่ในคุกจนถึงปี63แม้ว่าอยู่ในคุก ท่านได้รับความสะดวกสบายหลายประการ และสามารถติดต่อกับบรรดาคริสตชนที่กรุงโรมได้ ท่านได้เขียนจดหมายจากคุกและ ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้เป็นอิสระ
*อาจจะเป็นไปได้ที่ในช่วงนี้ท่านได้เดินทางเป็นครั้งสุดท้ายไปประเทศสเปน ( รม.15: 24-28  หรืออาจจะเดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่ ทิโมธีและติตัสปกครองอยู่นักบุญเปาโลเองได้เขียนจดหมายถึงท่านทั้งสองนี้โดยบอกเป็นนัยๆ ว่าวาระสุดท้ายของท่านกำลังใกล้เข้ามาแล้วและท่านได้ถูกจับขังคุกอีกครั้ง
นักบุญ เปาโล ได้เป็นมรณสักขีประมาณปี 67 ด้วยการถูกตัดศีรษะ
นักบุญเปโตและนักบุญเปาโล เป็นชื่อสองชื่อที่ผูกพันอยู่กับพระศาสนจักรตลอดมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ในธรรมประเพณีที่ท่านทั้งสองได้มอบให้แก่เราคริสตชนทุกๆ คน
           

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

กิลส์ เดอ เรยส์


 เรื่องราวของ บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ซึ่งเป็นต้นแบบฆาตกร"เคราน้ำเงิน"ที่หมายถึงฆาตกรที่สังหารเมียหลายๆ คน นั้น มีการกล่าวในแง่ประวัติศาสตร์ว่าเรื่องของเขาถูกแต่งเติมให้เกินจริงทั้งโดยคำบอกเล่าในภายหลัง และเจตนาร้ายของผู้หวังในทรัพย์สมบัติของเขา  ที่แน่ๆ เรื่องของชายผู้นี้คงจะถูกบอกเล่าต่อๆกันไปในฐานะตำนานอีกนานแสนนานทีเดียว
  ปี 1404 กิลส์ เดอ เรยส์ เกิดที่ปราสาทชานโตเซ่ใกล้เมืองนันท์ของแคว้นบริตตัญญีในฐานะทายาทผู้สืบทอดเพียงคนเดียวของตระกูล กี เดอ ราวาลผู้เป็นพ่อ เป็นเจ้าบ้านของตระกูลเรยส์ ผู้เป็นเจ้าของปราสาทใหญ่โตหลายแห่ง  และแมรี่ เดอ คราออนซึ่งเป็นมารดาก็มาจากตระกูลขุนนางที่เก่าแก่ที่สุดตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ทั้งสองต่างก็มีอาณาเขตในกรรมสิทธิ์ของตนเป็นบริเวณกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่มากมาย และมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรราษฏรในแคว้น ซึ่งเมื่อกิลส์สืบทอดมรดก ตระกูลเรยส์ก็จะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในฝรั่งเศสอย่างไม่ต้องสงสัย
 ตระกูลเรยส์จึงเป็นที่อิจฉาของเหล่าขุนนางในราชสำนักอย่างไม่ต้องสงสัย.....................
 ด้วยความร่ำรวย ทำให้ บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ใช้ชีวิตเป็นหนุ่มเจ้าสำราญผู้มั่งคั่ง จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือยแทบทุกวัน งานเลี้ยงแต่ละครั้งในปราสาทของบารอน กิลล์ เดอ แรส์ เสิร์ฟ ด้วยอาหารรสเลิศราคาแพง เครื่องดื่มระดับสุดยอด และงานเลียงจะไม่เลิศลาจนกว่าบรรดาแขกรับเชิญจะกระเดือกไม่เข้าหรือเมาฟุปไปก่อน
 ปี 1415 กีเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน และแมรี่ก็ตายตามสามีไปในเวลาไม่นานนัก ตาเป็นผู้รับบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไปเลี้ยงดูแม้ว่าจะเป็นการขัดต่อพินัยกรรม ฌอง เดอ คราออนซึ่งเป็นตานี้ ใช่ว่าจะเป็นคนไม่ดี เพียงแต่ว่ามีรสนิยมรักร่วมเพศเท่านั้นเอง และคงเพราะอิทธิพลจากตา กิลส์ก็เลยมีรสนิยมเดียวกันนี้ด้วย
 เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาก็ถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับแคทเธอรีน เดอ ทวาลซึ่งเป็นบุตรสาวของผู้ครองแคว้นข้างเคียงเนื่องจากตาของเขาต้องการขยายพื้นที่ในครอบครองออกไปอีก บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไม่ได้สนใจเจ้าสาวของเขานัก เวลาส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการสนุกสนานกับบรรดาเด็กหนุ่มที่เป็นคนสนิทของเขามากกว่า
 หากในไม่ช้า การได้พบกับเด็กสาวผู้หนึ่งก็เปลี่ยนชีวิตของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไปโดยสิ้นเชิง แจนน์ ดาร์ค (โจน ออฟ อาร์ค) วีรสตรีซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสนั่นเอง

 ปี 1429 พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 (ในขณะนั้นทรงใช้พระนามว่า เจ้าฟ้าชายชาร์ลส) ทรงโปรดให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เข้าเฝ้าและแนะนำให้เขาได้รู้จักกับแจนน์ ดาร์คซึ่งภายหลังถูกขนานนามว่าเป็นหญิงศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์ลีนส์
 บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ประทับใจในในตัวแจนน์และประกอบกับว่าเขาเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าอยู่แล้ว เขาจึงได้สาบานตนเป็นอัศวินของแจนน์ และกลายมาเป็นมือขวาคู่ใจของเธอนับแต่นั้น
 และในขณะนั้นตัวของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ มีอายุแค่ 24 ปี
 ทั้งสองสร้างผลงานไว้มากมายในสงครามร้อยปี ด้วยความดีความชอบที่กิลส์ นำทหารสู้กับข้าศึกที่เป็นอังกฤษและได้ชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นแม่ทัพหรือจอมพลตั้งแต่ยังหนุ่มและได้รับพระบรมราชานุญาติให้ประดับดอกลิซ (ตราดอกลิลลี่ของราชวงศ์ฝรั่งเศส) ลงบนตราประจำตระกูลของเขาด้วย นับเป็นเกียตริสูงสุดเท่าที่เขาจะมีได้ในฐานะขุนนางทีเดียว
 แต่แล้ว ในปี 1430 แจนน์ ดาร์คก็ถูกทหารฝ่ายศัตรูจับ และถูกเผาทั้งเป็นในฐานะแม่มดเมื่อปี 1431 (ปี 1456 พระสันตปาปาจึงยกให้คำตัดสินลงโทษแจนน์ ดาร์คเป็นโมฆะ เธอถูกยกขึ้นเป็นนักบุญในปี 1920....เกือบ 500 ปีหลังจากการสำเร็จโทษที่รูน)
 ข่าวเรื่อง แจนน์ ดาร์ค ถูกประหาร นำความโศกเศร้ามาสู่บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เป็นอย่างมาก และหวนกลับไปสู่ชีวิตแหลกเหลวก่อนจะพบกับเธออีกครั้ง
 ด้วยความโศกเศร้าบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ก็ไม่สนใจสู้รบอีกต่อไป กิลส์โกรธแค้นพระเจ้าที่หักหลังแจนน์และแย่งเธอไปจากเขา เขาเริ่มฝักใฝ่ในมนต์ดำและการเล่นแร่แปรธาตุ ในไม่ช้า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ก็ทำการรวบรวมเด็กชายจากที่ต่างๆมาเพื่อเป็นเครื่องสังเวยให้กับปีศาจ (ว่ากันว่าผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่ให้ให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ บ้าเรื่องมนต์ดำนี้คือ หมอเวทมนต์ชาวอิตาเลี่ยน ชื่อ ฟรังเซสโก ปรีลาตี)
 เนื่องจากในเวลานั้นยังมีสงครามกันอย่างต่อเนื่อง ตามเมืองต่างๆจึงมีเด็กกำพร้าเร่ร่อนอยู่มากมาย หญิงชราและชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นลูกน้องของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ พาเด็กเหล่านี้มายังปราสาท และตัดคอพวกเขาเพื่อสังเวยเลือดแก่พิธี ไม่นานนัก การสังเวยก็ค่อยเพิ่มความโหดร้ายทารุณขึ้น เด็กบางคนถูกตัดแขนตัดขาเป็นชิ้นๆ บางคนถูกฟาดหัวด้วยท่อนไม้ตอกตะปู บางคนถูกเฉือนเนื้อออกทีละน้อยเพื่อให้กรีดร้องอยู่ให้นานที่สุดก่อนจะหมดลมไป
 เด็กบางคนถูกผ่าท้องแล้วทึ้งไส้ออกมา บ่อยครั้งที่บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ข่มขืนศพของเด็กที่เสียชีวิตแล้ว เขาสะสมศีรษะของเด็กหนุ่มจำนวนมาก และศีรษะที่หน้าตาดีจะถูกเรียงไว้เหนือเตาผิงเหมือนเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ มีการพบศพของเด็กจำนวนกว่า 150 ศพ (ส่วนใหญ่ไม่มีศีรษะ) ในปราสาท แต่พูดกันว่าเหยื่อของเขาน่าจะมีมากกว่า 1500 ราย
หอคอยที่ใช้ฆ่าเด็ก
 งานเลี้ยงอันหรูหราและมนต์ดำทำให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ผลาญทรัพย์สมบัติอันมหาศาลของเขาหมดไปในไม่ช้า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ จึงต้องขายปราสาทในกรรมสิทธิ์ของตนไป และการขายปราสาทนี่เองที่ทำให้เขามีปัญหากับโบสถ์ ทำให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ซึ่งเลือดขึ้นหน้าได้นำทหารบุกไปยังโบสถ์และจับกุมนักบวชหลายคนมาจองจำในปราสาทของตน
 ทางด้านฝ่ายโบสถ์ซึ่งสงสัยบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เกี่ยวกับคดีเด็กหายสาปสูญอยู่แล้ว (แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะนอกจากกิลส์จะเป็นขุนนางแล้ว ยังเป็น"วีรบุรุษกู้ชาติ"อีกด้วย) จึงได้อาศัยโอกาสนี้เองนำคนเข้าตรวจปราสาทของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ และจับกุมเขาและพวกไว้ได้ในที่สุด
 เชื่อกันว่าการสอบสวนในครั้งนั้น มีการทารุณกรรมเพื่อทรมานให้ผู้จับกุมยอมรับสารภาพและถูกซัดทอดผู้ต้องหาด้วย แม้กระทั้งตัวบารอนกิล์เองก็ไม่พ้นทัณฑ์ทรมานอย่างสาหัสเพื่อให้รับสารภาพแน่นอน
 12 ตุลาคม ค.ศ. 1440 มีการประกาสอย่างเป็นทางการว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ยอมรับสารภาพว่าเขาคือผู้สังหารเด็กนับร้อยคนนั้น โดยมีคำยืนยันของจอมพลดังต่อไปนี้
 ?ข้าพเจ้าขอย้ำว่าที่ฆ่าพวกเด็กๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับอำนาจและความร่ำรวยของข้าพเจ้า เจตนาที่ได้กระทำลงไปมีเพียงเท่านี้?(แต่ชาวฝรั่งเศสหลายคนเชื่อว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ยอมรับสารภาพเพราะทนการทรมานไม่ไหวมากกว่า)
 นอกจากนี้ยังมีการพิพากษ์วิจารณ์อีกว่าทำไม บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ถึงโดนกล่าวหาอย่างรุงแรงแบบนี้ อาจเป็นเพราะฝีมือของดยุคจอห์นแห่งแคว้นบริตตัญญีที่เป็นผู้กล่าวหาตัวบารอนกิลส์ เพราะถ้าเกิดเขาได้ปราสาทและทรัพย์สมบัติมูลค่ามหาศาลจะตกเป็นของเขาในทันที

 13 กันยายน 1440 พระสังฆราชซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาติจากพระเจ้าชาร์ลสฟ้องกิลส์ในข้อหาประกอบพฤติกรรมนอกรีต สังหารเด็ก ทำสัญญาปีศาจ และกระทำตนขัดต่อหลักธรรมชาติ ซึ่งไม่ว่าข้อหาใดต่างก็เพียงพอที่จะทำให้เขาโดนประหารทั้งสิ้น (มีการกล่าวว่า พระเจ้าชาร์ลสและโบสถ์ได้ร่วมมือกัน เนื่องจากพระเจ้าชาร์ลสต้องการดินแดนในครอบครองของตระกูลเรยส์)
 การพิพากษาถูกจัดขึ้นที่ปราสาทนันท์และกินเวลากว่า 1 เดือน กิลส์ซึ่งในครั้งแรกมีท่าทีแข็งขืนถึงกับหลั่งน้ำตาสำนึกผิดในภายหลัง เขาถูกตัดสินให้ประหารโดยการแขวนคอในวันที่ 26 ตุลาคม 1440 (ในครั้งแรก จะมีการตัดสินโทษเผาทั้งเป็น แต่เนื่องจากการเผาทั้งเป็นถือเป็นการลบหลู่เกียรติมากในสมัยนั้น และด้วยว่ากิลส์มีความชอบ เขาจึงรอดโทษเผาทั้งเป็นไป)
 ปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. 1440 กิลล์ เดอ เรยส์ เดินไปที่ตะแลงแกงที่ใช้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่ถูกสร้างขึ้น ผู้คนมาชมจนล้นหลามจนต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแย่งชิงตัวนักโทษประหาของพวกที่จงรักภักดีต่อตัวบารอนกิลส์อยู่
 เมื่อถึงเวลาประหารชีวิต บารอน กิลล์ เดอ เรยส์ ถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกง จอมพลหนุ่มเดินเข้าหาความตายของตนอย่างองอาจ ไม่มีความพรั่นพรึงแม้แต่น้อย ถุงผ้าคลุมศีรษะถูกนำมาสวมแล้วเพชฌฆาตนำเชือกบ่วงคล้องคอมาสวม จากนั้นก็เปิดพื้นใต้ฝ่าเท้านักโทษ ร่างของบารอน กิลล์ เดอ แรส์ หล่นลงไปในช่อง เป็นอันจบชีวิตจอมพลผู้ยิ่งใหญ่เพียงเท่านี้
 ว่ากันว่าชาวแคว้นบริตตัญญีพากันร่ำให้ด้วยความโศกเศร้าอาลัยแก่ตัวบารอน กิลด์ เดอ เรยส์ แต่หมดหนทางที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่เขาได้ เพราะคำรับสารภาพของเขาคือการปิดประตูพิสูจน์ใดๆ ทั้งสิ้น

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

20 ภาษา ที่แปลว่า "ฉันรักเธอ"

ภาษาพม่า เรียกว่า จิต พา เด (chit pa de)
- เขมร เรียกว่า บองสรันโอน(BonsroIahnoon)
- เวียดนาม เรียกว่า ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
- มาเลเซีย เรียกว่า ซายา จินตามู (Saya cintamu)
- อินโดนีเซีย เรียกว่า ซายา จินตา ปาดามู (Saya cint
apadamu)

- ฮกเกี้ยน เรียกว่า อั๊ว X ลู่ (Auo ai Lu)
- ตุรกี เรียกว่า เซนี เซวีโยรัม (Seni Seviyorum )
- ฟิลิปปินส์ เรียกว่า มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
- ญี่ปุ่น เรียกว่า คิมิ โอ ไอ ชิเตรุ (Kimi o ai X eru)
- เกาหลี เรียกว่า โน รุย สะรัง เฮ (No-rui sarang hae)
- เยอรมัน เรียกว่า อิคช์ ลิบ ดิกช์ (Ich Liebe Dich)
- ฝรั่งเศส เรียกว่า เฌอแตม (Je taime)
- ฮอลแลนด์ (ดัชต์) เรียกว่า อิค เฮา ฟาวน์ เยา (Ik hou van jou)
- สวีเดน เรียกว่า ย็อก แอลสการ์ เด (Jag a Lskar dig)
- อิตาลี เรียกว่า ติ อโม (Ti amo)
- สเปน เรียกว่า เตอ เควียโร (Te quiero)
- รัสเซีย เรียกว่า ยาวาส ลุยบลิอู (Ya vas Liubliu)
- โปรตุเกส เรียกว่า อโม-เท (Amo-te)
- จีนกลาง เรียกว่า หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
- จีนแคะ เรียกว่า ไหง อ้อย หงี (Ngai oi ngi)

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ิwu Zetian

The ultimate Tang Dynasty woman was undoubtedly Wu Zetian. There were altogether 243 emperors during the 2,000 years from the beginning of the Qin Dynasty (221 BC) to the end of the Qing Dynasty (1911), and Wu Zetian was the only female monarch among them. Wu Zetian was the most legendary and controversial figure in Chinese history. She lived to be 82, and held power for 50 years.



Wu Zetian was born into an official's family in Wenshui, Shanxi Province. She was not only beautiful but also very intelligent. Although bestowed with strong female charm and grace, Wu Zetian was firm and unyielding in all her dealings. She entered the palace at the age of 14 and was assigned to wait upon Emperor Taizong, who gave her the name Mei, meaning charming and lovely, in acknowledgement of her beauty. But she did not like this name. After taking over power, she changed her name to Zhao (meaning the light of the sun and the moon illuminating every corner of the land). Wu Zetian was an uncompromising woman. At one time there was a wild and savage horse in the palace stables that no one could tame. Wu Zetian said that the way to deal with it was first to beat it with an iron whip, and if that did not work, to kill it. Wu Zetian was initially conferred the title of cairen (concubine of medium rank), but was unable to win much favor with Emperor Taizong. She worked as his secretary for 12 years, but she was neither promoted nor able to give birth to his child. Emperor Taizong's son, Li Zhi, however, was deeply infatuated with her. After the death of Taizong, Li Zhi was enthroned and Wu Zetian became empress. The emperor and empress ruled the country jointly. Since Li Zhi had delicate health, Wu Zetian was the actual ruler of the country. When Li Zhi died, Wu Zetian managed to stabilize the political situation based on her abundant experience of political intrigue. In 690, Wu Zetian ascended the throne and changed the title of the dynasty to Zhou. She disposed of all her political enemies and established the Wu family court. As monarch, she was a hardworking, sagacious and caring ruler. During Wu Zetian's reign, the country maintained its prosperity and the people lived in peace. The tribes who lived at the time of the newly established Zhou Dynasty all pledged allegiance to the empress.


Having worked as Emperor Taizong's secretary for 12 years, Wu Zetian was very familiar with the former emperor's main priorities in his management of state affairs, many of which she followed, for example, his stress on agriculture, reducing tax and corvee, practicing a peaceful foreign policy, and widely soliciting advice and suggestions.


The empress took great care to select talented people and put them in important positions. She also encouraged and supported female participation in politics. Shangguan Wan'er is a perfect example. Both her grandfather and father had been killed for opposing Wu Zetian's accession to power, and the young Wan'er and her mother were employed as maidservants at the palace where Wan'er received a very good education. She not only wrote beautiful poetry, but also gained an intimate knowledge of state affairs. Wu Zetian greatly appreciated her ability, and appointed Wan'er as her personal aide. Shangguan Wan'er proved her worth to the empress, not only through her ability to participate in the decision-making required by the memorials to the throne, but also by drafting imperial edicts for the empress. Shangguan once even acted as chief examiner of the final imperial examination. After Wu Zetian died, Shangguan Wan'er remained at court to assist Emperor Zhongzong in governing the country.

Wu Zetian was very tolerant of different opinions emanating from her subordinates. Xu Yougong was the official in charge of the judiciary, but would often confront the empress with his dissatisfaction at some of the court verdicts. On one occasion, Wu Zetian became so incensed that she issued an order to behead Xu, but just as the execution was about to start, she pardoned him, instead demoting him to a commoner. When her anger had abated, she continued to solicit Xu's opinion, and reinstated him as head of the judiciary. In conclusion, Wu Zetian was an empress of status, power, and outstanding achievement.

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน


ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (เดนมาร์กHans Christian Andersen) (ค.ศ. 1805-1875) ตามความเห็นของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเขา แอนเดอร์เซนเป็นชาวเดนมาร์ก เขาเกิดในสลัม เป็นตัวตลกน่าสมเพชให้คนหัวเราะมาตลอดชีวิต แต่แล้วเขาก็ใช้คติหัวเราะทีหลังดังกว่า ด้วยบรรดางานเขียนที่เขาเรียกมันว่า ‘เรื่องเล่นๆ’ ที่เป็นนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ทั่วโลกนิ่งฟังด้วยตาโต แม้ว่าเขาจะเป็น ‘นักเขียนบทละครพื้นๆ กวีฝีมือธรรมดา นักเขียนนวนิยายชั้นดี และนักเขียนเรื่องท่องเที่ยวชั้นเลิศ’ หากในด้านนิทานแล้ว ‘เขาก้าวไปถึงขั้นเยี่ยมยอดไร้ที่ติ’ กล่าวกันว่านิทานของเขา ‘เป็นบรรณาการยิ่งใหญ่จากเดนมาร์กแก่โลกวรรณกรรม…ฐานะเทียมเท่าโฮเมอร์ ดันเต้ เชกสเปียร์ เซอร์บันเตส และเกอเธ่
จากการนำนิทานพื้นบ้านมาเล่าใหม่ เขาก็เริ่มแต่งนิทานเอง แล้วก็เติมความเศร้าหรือน่ากลัวเข้าไป เสริมด้วยจินตนาการเพ้อฝันและลีลาภาษาพูดเรียบง่าย เพื่อย้อมความหวานซึ้งให้กับคติของเรื่อง ‘ต้นสน’ (1845) เป็นเรื่องหนึ่งอันเป็นที่ชื่นชอบกันมากที่สุด เช่นเดียวกับ ‘เด็กหญิงไม้ขีดไฟ’ ‘เงือกน้อย’ ‘ราชินีหิมะ’ ‘ไนติงเกล’ ‘กล่องชุดจุดไฟ’ … และแน่นอน ‘ลูกเป็ดขี้เหร่’ และ ‘ชุดใหม่ของจักรพรรดิ’ (‘แต่พระองค์ไม่ทรงสวมอะไรเลยสักชิ้น!’)


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 แห่งมาดากัสการ์


ต้นพระชนม์ชีพของพระนางรานาวาโลนายังเป็นที่ถกเถียงในปัจจุบัน บางข้อมูลว่าพระนางประสูติในดินแดนชนเผ่ามาเนเบระหว่างพ.ศ. 2325 และพ.ศ. 2333 น้อยคนที่ทราบถึงพระราชประวัติช่วงต้นของพระนาง แต่ในช่วงระหว่างพระนางมีพระชนมายุ 1 ชันษา เจ้าชายนามโปอินา (Nampoina) ทรงพยายามรวมมาดากัสการ์ให้เป็นหนึ่งเดียว มีกษัตริย์พระองค์เดียว กษัตริย์แห่งมาเนเบที่ทรงปกครองทางฝั่งตะวันตกของเกาะไม่ทรงยินยอมที่จะรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียว เนื่องด้วยเหตุนี้รัชทายาทของเจ้าชายนามโปอินาซึ่งต่อมาได้ครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าราดามาที่ 1ทรงอภิเษกสมรสกับพระธิดาองค์โตในพระเจ้าอันเดรียน-ทซารา-แมนจากาแห่งมาเนเบ กับพระมเหสีราโบโด อันเดรียน-แทมโป
เป็นการชี้ทางให้พระเจ้านามโปอินาทรงรับเลี้ยงรานาวาโลนาไว้ พระบิดาของพระนางเป็นผู้เสนอแผนการให้ พระนางทรงอภิเษกสมรสเมื่อมีพระชนมายุ 22 ชันษาแต่เป็นการหลอกลวงเขาด่วยบุตรคนโปรดของเขา
เจ้าชายรามาดาได้ขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบิดาและพระองค์ประสบความสำเร็จในการรวมชาติในเกาะให้เป็นหนึ่งเดียว พระนางรานาวาโลนาได้ถูกสงสัยว่าทรงลอบวางยาพิษพระเจ้ารามาดาจนพระองค์สวรรคต
เมื่อพระเจ้าราดามาเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2371 โดยไม่มีรัชทายาทและตามราชประเพณีโบราณ สิทธิในการครองราชย์จะตกไปอยู่แก่ เจ้าชายราโคโทเบ พระโอรสองค์โตในพระเชษฐภคินีของพระเจ้ารามาดา พระนางรานาวาโลนาทรงเริ่มสร้างความจงรักภัคดีให้แก่ผู้นำทหารก่อนพระสวามีจะสวรรคตแล้ว พระนางจึงสั่งจับคนที่พระนางคาดว่าเป็นศัตรูของพระนางและประหาร พระนางทรงยึดราชบัลลังก์และขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2371 หลังจากสังหารศัตรูสิ้นแล้ว

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลามาร์แซแยซ



ลามาร์แซแยซ (ฝรั่งเศสLa Marseillaise, "เพลงแห่งเมืองมาร์แซย์") เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์คำร้องและทำนองโดยโกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 ที่เมืองสทราซบูร์ในแคว้นอาลซัส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de l'Armée du Rhin" (แปลว่า "เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์") เดอลีลได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย (อยู่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทศฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือจอมพลนีกอลา ลุคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์แซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยซดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วย
สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยซเป็นเพลงชาติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน โดยรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Veillons au Salut de l'Empire และ โดยรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Le Retour des Princes Français à Paris หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้น ๆ แต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422[1]


File:Pils - Rouget de Lisle chantant la Marseillaise.jpg

อิทธิพลของลามาร์แซแยซ

เพลงลามาร์แซแยซได้ถูกใช้เป็นเพลงปฏิวัติฝ่ายสาธารณรัฐโดยชาวรัสเซียซึ่งรู้ภาษาฝรั่งเศสในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งไล่เลี่ยกับช่วงเวลาการปฏิวัติในฝรั่งเศส ถึงปี ค.ศ. 1875 ปีเตอร์ ลัฟรอฟ (Peter Lavrov) นักปฏิวัติและนักทฤษฎีกลุ่ม Narodism ได้เขียนเพลงโดยใส่เนื้อร้องภาษารัสเซียขึ้นใหม่ตามทำนองเพลงลามาร์แซแยซ และให้ชื่อเพลงว่า "มาร์แซแยซของกรรมกร"("Rabochaya Marselyeza", "Worker's Marseillaise") ซึ่งเพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงปฏิวัติยอดนิยมเพลงหนึ่งในรัสเซียและได้มีการใช้ในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เพลงนี้ก็ได้มีลักษณะเป็นกึ่งเพลงชาติของสาธารณรัฐที่ตั้งขึ้นใหม่ หลังเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคมซึ่งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน เพลงนี้ก็ยังคงใช้เป็นเพลงปฏิวัติควบคู่กับเพลงแองเตอร์นาซิอองนาล[3]
สำหรับประเทศไทย เพลงลามาร์แซแยซได้เป็นแรงดลใจให้คณะราษฏรคิดเพลงชาติขึ้นใหม่ในช่วงการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[4] และยังมีการนำทำนองไปใช้ในเพลงมาร์ชต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง อันได้แก่ เพลง "มาร์ช ม.ธ.ก." ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ธ.ก. เป็นอักษรย่อนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อครั้งยังใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง") ซึ่งประพันธ์โดยทวีป วรดิลก ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2490 และเพลง "มาร์ชลาดยาว" ซึ่งประพันธ์โดย จิตร ภูมิศักดิ์ ขณะที่เขาถูกคุมขังในเรือนจำลาดยาว (เรือนจำคลองเปรม) ด้วยคดีการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2503 - 2505 เพื่อใช้ร้องในงานรื่นเริงภายในคุก