วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โจเซฟ สตาลิน





โจเซฟ สตาลิน (รัสเซียИосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin โยซิฟ วิซซาร์โยโนวิช สตาลิน ;อังกฤษ: Joseph Stalin) (18 ธันวาคม ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง ค.ศ. 1953 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค
สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในการทำสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา
โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงของเขาคือ "โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี" (იოსებ ბესარიონის ძე ჯუღაშვილიIoseb Besarionis dze Jughashvili) เขาเกิดที่เมือง โกรี ประเทศจอร์เจียตำแหน่งเมืองนั้นตั้งอยู่บนเนินสูงของเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เขาก็เป็นชาวจอร์เจียนโดยกำเนิด โดยชื่อ สตาลิน นี้เขาตั้งขึ้นมาเองขณะทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า)
ด้วยความทะเยอทะยานทำให้สตาลินได้เริ่มมีบทบาทสำคัญในพรรคบอลเชวิค หลังจากที่พรรคบอลเชวิคทำการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ลงได้ สตาลินก็ได้รับตำแหน่งคอมมิสซาร์ประชาชนเพื่อกิจการชนชาติต่างๆ[1]จนเมื่อเลนินล้มป่วย สตาลินก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นไปอีก จนได้เป็นเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 1922
จนกระทั่งเมื่อเลนินเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1924 ก็ได้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างสตาลินกับ ลีออน ทรอตสกี สุดท้ายสตาลินก็ชนะ จึงได้เป็นประธานาธิบดีต่อจากเลนิน ทำให้ทรอตสกีต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ เม็กซิโก แต่ในที่สุด ทรอตสกีก็ถูกลอบสังหารที่แม็กซิโกนั่นเอง
ใน ค.ศ. 1940 ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมื่อศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน เขานำระบบ คอมมูน มาใช้ ทุกคนถูกห้ามมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้งตัวบุคคลเป็นของพรรคหรือคอมมูน ผู้ต่อต้านถูกส่งไปค่ายกักกันและเสียชีวิตราว 10 ล้านคน ไมมีการสำรวจประชากรว่าระหว่างเขาเป็นผู้นำประชากรโซเวียตเสียชีวิตไปเท่าไร ในช่วงที่มีการปฏิวัติระบบ นารวม มีคนอดตายอีกเป็นล้านๆ คน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นกับรัสเซีย ปี ค.ศ. 1941 - ค.ศ. 1945 เขานำโซเวียตชนะสงคราม โดยประชาชนเสียชีวิต 20 ล้านคน ทหารเสียชีวิต 10 ล้านคน เขาสั่งพัฒนาประเทศต่อไปอย่างไม่รีรอ
เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1953 หลังสตาลินตาย ครุฟซอฟ ผู้นำคนใหม่ได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุกๆ ที่ ที่มีรูปปั้นสตาลินถูกทุบทิ้ง เพลงชาติถูกลบชื่อของเขาออก ศพของเขาถูกย้ายจากข้างๆ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อาลซัส

ธงประจำแคว้นอาลซัส

อาลซัส (ฝรั่งเศสAlsaceฟังเสียง) หรือ แอลซ็อส (อัลเซเชียน: Elsàss) เป็นหนึ่งใน 26แคว้นในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนทางทิศตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส และทางทิศตะวันตกของแม่น้ำไรน์ติดกับประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองสตราสบูร์กเดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และต่อมาประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีผลัดกันครอบครองแคว้นอาลซัสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 20
เดิมอาลซัสเคยเป็นของเยอรมนี แต่หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียฝรั่งเศสแย่งแคว้นอาลซัสและลอแรนไปจากเยอรมนีทำให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนไม่พอใจฝรั่งเศส จึงเกิดสงครามฝรั่งเศส-อาลซัสและสงครามฝรั่งเศส-ลอแรน โดยฝรั่งเศสต้องสู้กับชาวอาลซัสและชาวลอแรน แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถปราบชาวอาลซัสและลอแรนลงได้
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แคว้นอาลซัสค่อย ๆ ถูกปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14และกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส บ่อยครั้งที่แคว้นอาลซัสได้ถูกกล่าวรวมกับแคว้นลอแรนเนื่องจากการครอบครองดินแดนของแคว้นทั้งสอง (อาลซัส-ลอแรน) เป็นที่เลื่องชื่อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

pyotr ilyich tchaikovsky

His father was a mine inspector. He started piano studies at five and soon showed remarkable gifts; his childhood was also affected by an abnormal sensitivity. At ten he was sent to the School of Jurisprudence at St. Petersburg, where the family lived for some time. His parting from his mother was painful; further, she died when he was 14 -- an event that may have stimulated him to compose. At 19 he took a post at the Ministry of Justice, where he remained for four years despite a long journey to western Europe and increasing involvement in music. In 1863 he entered the Conservatory, also undertaking private teaching. Three years later he moved to Moscow with a professorship of harmony at the new conservatory. Little of his music so far had pleased the conservative musical establishment or the more nationalist group, but his First Symphony had a good public reception when heard in Moscow in 1868.

Rather less successful was his first opera, "The Voyevoda," given at the Bol'shoy in Moscow in 1869; Tchaikovsky later abandoned it and re-used material from it in his next, "The Oprichnik." A severe critic was Balakirev, who suggested that he write a work on "Romeo and Juliet": this was the Fantasy-Overture, several times rewritten to meet Balakirev's criticisms; Tchaikovsky's tendency to juxtapose blocks of material rather than provide organic transitions serves better in this programmatic piece than in a symphony as each theme stands for a character in the drama. Its expressive, well-defined themes and their vigorous treatment produced the first of his works in the regular repertory.

"The Oprichnik" won some success at St. Petersburg in 1874, by when Tchaikovsky had won acclaim with his Second Symphony (which incorporates Ukrainian folktunes); he had also composed two string quartets (the first the source of the famous Andante cantabile), most of his next opera, "Vakula the Smith," and of his First Piano Concerto, where contrasts of the heroic and the lyrical, between soloist and orchestra, clearly fired him. Originally intended for Nikolay Rubinstein, the head of the Moscow Conservatory, who had much encouraged Tchaikovsky, it was dedicated to Hans von Bülow (who gave its première, in Boston) when Rubinstein rejected it as ill-composed and unplayable (he later recanted and became a distinguished interpreter of it). In 1875 came the carefully written Third Symphony and "Swan Lake," commissioned by Moscow Opera. The next year a journey west took in "Carmen" in Paris, a cure at Vichy and the first complete "Ring" at Bayreuth; although deeply depressed when he reached home -- he could not accept his homosexuality -- he wrote the fantasia "Francesca da Rimini" and (an escape into the 18th century) the "Rococo Variations" for cello and orchestra. "Vakula," which had won a competition, had its première that autumn. At the end of the year he was contacted by a wealthy widow, Nadezhda von Meck, who admired his music and was eager to give him financial security; they corresponded intimately for 14 years but never met.

Tchaikovsky, however, saw marriage as a possible solution to his sexual problems; and when contacted by a young woman who admired his music he offered (after first rejecting her) immediate marriage. It was a disaster: he escaped from her almost at once, in a state of nervous collapse, attempted suicide and went abroad. This was however the time of two of his greatest works, the Fourth Symphony and "Eugene Onegin." The symphony embodies a "fate" motif that recurs at various points, clarifying the structure; the first movement is one of Tchaikovsky's most individual with its hesitant, melancholy waltz-like main theme and its ingenious and appealing combination of this with the secondary ideas; there is a lyrical, intermezzo-like second movement and an ingenious third in which pizzicato strings play a main role, while the finale is impassioned if loose and melodramatic, with a folk theme pressed into service as second subject. "Eugene Onegin," after Pushkin, tells of a girl's rejected approach to a man who fascinates her (the parallel with Tchaikovsky's situation is obvious) and his later remorse: the heroine Tatyana is warmly and appealingly drawn, and Onegin's hauteur is deftly conveyed too, all against a rural Russian setting which incorporates spectacular ball scenes, an ironic background to the private tragedies. The brilliant Violin Concerto also comes from the late 1870s.

The period 1878-84, however, represents a creative trough. He resigned from the conservatory and, tortured by his sexuality, could produce no music of real emotional force (the Piano Trio, written on Rubinstein's death, is a single exception). He spent some time abroad. But in 1884, stimulated by Balakirev, he produced his "Manfred" symphony, after Byron. He continued to travel widely, and conduct; and he was much honoured. In 1888 the Fifth Symphony, similar in plan to the Fourth (though the motto theme is heard in each movement), was finished; a note of hysteria in the finale was recognized by Tchaikovsky himself. The next three years saw the composition of two ballets, the finely characterized "Sleeping Beauty" and the more decorative "Nutcracker," and the opera "The Queen of Spades," with its ingenious atmospheric use of Rococo music (it is set in Catherine the Great's Russia) within a work of high emotional tension. Its theatrical qualities ensured its success when given at St. Petersburg in late 1890. The next year Tchaikovsky visited the USA; in 1892 he heard Mahler conduct "Eugene Onegin" at Hamburg. In 1893 he worked on his Sixth Symphony, to a plan -- the first movement was to be concerned with activity and passion; the second, love; the third, disappointment; and the finale, death. It is a profoundly pessimistic work, formally unorthodox, with the finale haunted by descending melodic ideas clothed in anguished harmonies. It was performed on 28 October. He died nine days later: traditionally, and officially, of cholera, but recently verbal evidence has been put forward that he underwent a "trial" from a court of honour from his old school regarding his sexual behaviour and it was decreed that he commit suicide. Which version is true must remain uncertain.

ระลึกถึงความตายสบายนัก


สำหรับคนทั่วไปไม่มีอะไรน่ากลัวเท่ากับความตาย เพราะความตายไม่เพียงพรากเราไปจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารักและหวงแหนเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานอย่างยิ่งยวดก่อนที่ลมหายใจสุดท้ายจะหมดไป ความตายที่ไม่เจ็บปวดจึงเป็นยอดปรารถนาของทุกคนรองลงมาจากความปรารถนาที่จะเป็นอมตะ แต่ความจริงที่เที่ยงแท้แน่นอนก็คือเราทุกคนต้องตาย
ความตายเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็จริง แต่ใครบ้างที่ยอมรับความจริงข้อนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ผู้คนเป็นอันมากจึงพยายามหนีห่างความตายให้ไกลที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามไม่นึกถึงมัน โดยทำตัวให้วุ่น หาไม่ก็ปล่อยใจเพลิดเพลินไปกับความสุขและการเสพ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีชีวิตราวกับลืมตาย ดังนั้นจึงไม่พอใจหากมีใครพูดถึงความตายให้ได้ยิน ถือว่าเป็นอัปมงคล คำว่า “ความตาย”กลายเป็นคำอุจาดที่แสลงหู ต้องเปลี่ยนไปใช้คำอื่นที่ฟังดูนุ่มนวล เช่น “จากไป” หรือ “สิ้นลม”
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะต้องตายไม่ช้าก็เร็ว แต่แทนที่จะเตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้า คนส่วนใหญ่เลือกที่จะ “ไปตายเอาดาบหน้า” คือ ความตายมาถึงเมื่อไร ค่อยว่ากันอีกที แต่วันนี้ขอสนุกหรือขอหาเงินก่อน ผลก็คือเมื่อความตายมาปรากฏอยู่เบื้องหน้า จึงตื่นตระหนก ร่ำร้อง ทุรนทุราย ต่อรอง ผัดผ่อน ปฏิเสธผลักไส ไขว่คว้าขอความช่วยเหลือ แต่ถึงตอนนั้นก็ยากที่จะมีใครช่วยเหลือได้ เตรียมตัวเตรียมใจเพียงใด ก็ได้รับผลเพียงนั้น ถ้าเตรียมมามากก็ผ่านความตายได้อย่างสงบราบรื่น ถ้าเตรียมมาน้อย ก็ทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าจะหมดลม หากความตายเปรียบเสมือนการสอบ ก็เป็นการสอบที่ยุติธรรมอย่างยิ่ง
จะว่าไปชีวิตนี้ทั้งชีวิตก็คือโอกาสสำหรับการเตรียมตัวสอบครั้งสำคัญนี้ สิ่งที่เราทำมาตลอดชีวิตล้วนมีผลต่อการสอบดังกล่าว ไม่ว่าการคิด พูด หรือทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม การกระทำแม้เพียงเล็กน้อยไม่เคยสูญเปล่าหรือเป็นโมฆะ ที่สำคัญก็คือการสอบดังกล่าวมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่มีการแก้ตัวหรือสอบซ่อม หากสอบพลาดก็มีความทุกข์ทรมานเป็นผลพวงจนสิ้นลม
ความตายเป็นสิ่งน่ากลัวสำหรับผู้ใช้ชีวิตอย่างลืมตายหรือคิดแต่จะไปตายเอาดาบหน้า แต่จะไม่น่ากลัวเลยสำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมมาอย่างดี อันที่จริงถ้ารู้จักความตายอยู่บ้าง ก็จะรู้ว่าความตายนั้นมิใช่เป็นแค่ “วิกฤต” เท่านั้น แต่ยังเป็น “โอกาส”อีกด้วย กล่าวคือเป็นวิกฤตในทางกาย แต่เป็นโอกาสในทางจิตวิญญาณ ในขณะที่ร่างกายกำลังแตกดับ ดิน น้ำ ลม ไฟ กำลังเสื่อมสลาย หากวางใจได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถพบกับความสงบ ทุกขเวทนาทางกายมิอาจบีบคั้นบั่นทอนจิตใจได้ มีผู้คนเป็นจำนวนมากได้สัมผัสกับความสุขและรู้สึกโปร่งเบาอย่างยิ่งเมื่อป่วยหนักในระยะสุดท้าย เพราะความตายมาเตือนให้เขาปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ที่เคยแบกยึดเอาไว้ หลายคนหันเข้าหาธรรมะจนค้นพบความหมายของชีวิตและความสุขที่แท้ ขณะที่อีกหลายคนเมื่อรู้ว่าเวลาเหลือน้อยแล้วก็หันมาคืนดีกับคนรักจนไม่เหลือสิ่งค้างคาใจใด ๆ และเมื่อความตายมาถึง มีคนจำนวนไม่น้อยที่จากไปอย่างสงบ โดยมีสติรู้ตัวกระทั่งนาทีสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้นมีบางท่านที่เห็นแจ้งในสัจธรรมจากทุกขเวทนาอันแรงกล้าที่ปรากฏเฉพาะหน้า จนเกิดปัญญาสว่างไสว และปล่อยวางจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งปวง บรรลุธรรมขั้นสูงได้ในขณะที่หมดลมนั้นเอง
สำหรับผู้ใฝ่ธรรม ความตายจึงมิใช่ศัตรู หากคือครูที่เคี่ยวเข็ญให้เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คอยกระตุ้นเตือนให้เราอยู่อย่างไม่ประมาท และไม่หลงเพลิดเพลินกับสิ่งที่มิใช่สาระของชีวิต ขณะเดียวกันก็สอนแล้วสอนเล่าให้เราเห็นแจ้งในสัจธรรมของชีวิต ว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ไม่มีอะไรน่ายึดถือ และไม่มีอะไรที่ยึดถือเป็นของเราได้เลยแม้แต่อย่างเดียว ยิ่งใกล้ความตายมากเท่าไร คำสอนของครูก็ยิ่งแจ่มชัดและเข้มข้นมากเท่านั้น หากเราสลัดความดื้อดึงได้ทันท่วงที นาทีสุดท้ายของเราจะเป็นนาทีที่ล้ำค่าอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกนาทีนั้นว่า “นาทีทอง”

สมโภชนักบุญเปโตร และเปาโล อัครธรรมทูต



สมโภชนักบุญเปโตร และเปาโล  อัครธรรมทูต 

การสมโภชในวันนี้เป็นการเฉลิมฉลองที่เก่าแก่ที่สุดวันหนึ่ง และที่จริงเป็นการฉลองที่มีมาก่อนการฉลองพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดเสียอีก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 แล้วที่ในวันฉลองนี้มีการถวายบูชามิสซา 3 มิสซาด้วยกันคือ ที่พระวิหารนักบุญเปโตรในรัฐวาติกันมิสซาหนึ่ง ที่พระวิหารนักบุญเปาโล นอกกำแพงเมืองอีกมิสซาหนึ่ง และมิสซาที่สามที่คาตากอมบ์นักบุญ เซบาสเตียน ซึ่งเชื่อว่าศพของท่านนักบุญอัครธรรมทูตผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านคงจะถูกซ่อนไว้ ณ ที่นี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง
นักบุญ เปโตร ซีมอนเป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา  (ลก. 5:3 ;ยน.1:44 ) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม ( มก. 1: 21.29 ) นักบุญ อันเดร น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซูเจ้า ( ยน. 1:42 )    และอาจเป็นนักบุญ ยอห์น แบปติสต์  ที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับองค์พระเยซูเจ้า
พระเยซูเจ้าได้ทรงเปลี่ยนชื่อท่านและทรงเรียกท่านด้วยชื่อใหม่ว่า “เปโตร” ( มธ. 16: 17-19 ; ยน. 21: 15-17 ) เพื่อทำหน้าที่เป็นศิลาพื้นฐานในตัวบุคคลของท่านเอง
นักบุญ เปโตร เป็นพยานบุคคลแรกๆผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ ( ยน. 20:6 ) และได้รับการประจักษ์มาข ององค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ( ลก. 23:34 )
หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว  ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน ( กจ. 1: 15 ; 15:7 ) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) ( กจ. 2:14-41 ) และท่านเองเป็นคนแรกที่ได้แลเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดพระศาสนจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ ( กจ.10-11 ) ภ ารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่างๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ ( มธ.10: 41 ; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31 ) นักบุญเปาโล เองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองอันติโอก ( กจ.15; กท. 2:11-14 ) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว  ในเรื่องนี้รู้สึกว่านักบุญ เปโตร  ยังตัดสินใ จช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว ( กจ. 6: 1-2 ) ต่อเมื่อนักบุญ เปโตร ได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครธรรมทูตของทุกๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น “ศิลาหัวมุม” ของพระศาสนจักรของพระเยซูเจ้าโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์
นักบุญ เปาโล นักบุญเปาโลหลังจากที่ได้กลับใจในระหว่างทางที่มุ่งไปสู่กรุงดามัสกัสแล้ว ก็ได้เดินทางในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นจำนวน3 ครั้งด้วยกันที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญ การเดินทางครั้งแรกของท่านนั้นมีนักบุญ บาร์นาบัส ร่วมเดินทางไปด้วย ( กจ 13-14 ) โดยออกเดินทางจากเมืองอันติโอก หยุดพักที่เกาะไซปรัสแล้วก็เดินทางผ่านประเทศตุรกีในปัจจุบันนี้
หลังจากการประชุมของบรรดาอัครธรรมทูตที่กรุงเยรูซาเลมแล้ว  ท่านก็ได้เริ่มการเดินทางครั้งที่ 2 ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้รับการขอร้องจากบรรดาอัครธรรมทูตทั้ง 12 อย่างเป็นทางการ ( กจ.15:36-18 : 22 ) ท่านได้เดินทางผ่านดินแดนตุรกี  ได้ประกาศพระวรสารในแคว้นฟรีเจียและกาลาเทียซึ่งท่านได้ล้มเจ็บลง ( กท. 4:13 ) จากนั้นก็ได้เดินทางเข้าสู่ยุโรปพร้อมกับนักบุญ ลูกา และได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้น ที่แคว้นฟิลิปปี (ประเทศกรีก) ที่แคว้นนี้ท่านได้ถูกจับขังคุกเป็นระยะหนึ่งแต่หลังจากนั้นเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้วก็เริ่มประกาศพระวรสารใหม่อีกที่กรุงเอเธนส์(ประเทศกรีก)ภารกิจของท่านต้องหยุดชะงักลงต่อหน้าบรรดานักปรัชญาชาวกรีก แต่ที่เมืองโครินธ์ ท่านได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นซึ่งภายหลังได้ทำให้ท่านต้องหนักใจมากกว่าที่อื่นๆ จากนั้นก็กลับเข้าสู่เมืองอันติโอก

สำหรับการเดินทางครั้งที่3นั้น(กจ1823-2117 )  ท่านได้เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งขึ้น(ประเทศตุรก ี) เป็นต้นกลุ่มคริสตชนที่เมืองเอเฟซัส จากนั้นก็มุ่งสู่ประเทศกรีก ไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่เมืองโครินธ์แล้วข้ามไปเมืองมิเลตุส พลางได้แจ้งให้บรรดาสมณทั้งหลายได้ทราบถึงการทดลองต่างๆ ที่ท่านกำลังจะได้รับและก็เป็นเช่นนั้นจริงคือ หลังจากที่ท่านได้กลับมาที่กรุงเยรูซาเลมได้ไม่นาน ท่านก็ถูกพวกชาวยิวจับและถูกขังคุก ( กจ 21 ) แต่เนื่องจากว่าท่านถือสิทธิ์เป็นพลเมืองโรมัน จึงได้อุทธรณ์ไปที่กรุงโรม
และดังนี้ก็เป็นการเริ่มต้นการเดินทางต่อมาของท่านแต่ว่าไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เพราะไม่มีอิสรภาพในการเดินทางถูกจับกุมตัว (กจ. 21-26 ) ท่านได้ไปถึงกรุงโรมในราวปี 60หรือ61และได้ถูกขังอยู่ในคุกจนถึงปี63แม้ว่าอยู่ในคุก ท่านได้รับความสะดวกสบายหลายประการ และสามารถติดต่อกับบรรดาคริสตชนที่กรุงโรมได้ ท่านได้เขียนจดหมายจากคุกและ ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้เป็นอิสระ
*อาจจะเป็นไปได้ที่ในช่วงนี้ท่านได้เดินทางเป็นครั้งสุดท้ายไปประเทศสเปน ( รม.15: 24-28  หรืออาจจะเดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่ ทิโมธีและติตัสปกครองอยู่นักบุญเปาโลเองได้เขียนจดหมายถึงท่านทั้งสองนี้โดยบอกเป็นนัยๆ ว่าวาระสุดท้ายของท่านกำลังใกล้เข้ามาแล้วและท่านได้ถูกจับขังคุกอีกครั้ง
นักบุญ เปาโล ได้เป็นมรณสักขีประมาณปี 67 ด้วยการถูกตัดศีรษะ
นักบุญเปโตและนักบุญเปาโล เป็นชื่อสองชื่อที่ผูกพันอยู่กับพระศาสนจักรตลอดมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ในธรรมประเพณีที่ท่านทั้งสองได้มอบให้แก่เราคริสตชนทุกๆ คน