วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ใบจิงโกะหรือแปะก๊วย


    ใบแปะก๊วย

    ใบแปะก๊วย

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


              อีกหนึ่งสมุนไพรที่คนกำลังกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ก็คือ "ใบแปะก๊วย" ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน และเชื่อกันว่า มีสรรพคุณบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ วันนี้กระปุกดอทคอม จะพาคนรักสุขภาพ ไปไขข้อข้องใจกันค่ะ

              สำหรับ "แปะก๊วย" (Ginkgo biloba : กิงโกะ บิโลบา) จะเรียกว่าเป็นพืชโบราณก็ว่าได้ เพราะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ โดยคำภาษาจีน ออกเสียงว่า "หยินซิ่ง" ซึ่งแปลว่า ลูกไม้สีเงิน ต่อมาได้มีผู้นำ "แปะก๊วย" เข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า "อิโจว" หรือ "คินนัน" ซึ่งมีความหมายไม่แตกต่างกับประเทศจีน 

              ทั้งนี้เมื่อพูดถึง "แปะก๊วย" คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักเม็ดสีเหลือง ๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสมของขนมหวานหลาย ๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นบะจ่าง แปะก๊วยนมสด แปะก๊วยต้มน้ำตาล ฯลฯ มากกว่า "ใบแปะก๊วย" ซึ่งมีหลายคนบอกว่า จริง ๆ แล้ว "ใบแปะก๊วย" นี่แหละที่มีประโยชน์มากกว่าผลแปะก๊วยเสียอีก


    แปะก๊วย


    ว่าแล้วเรามารู้จัก "ใบแปะก๊วย" กันเลยดีกว่า

              "ใบแปะก๊วย" มีลักษณะเป็นใบสีเขียวแยกเป็น 2 กลีบ คล้ายใบพัด มีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบแล้ว ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงจากต้นภายในไม่กี่วัน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ครั้งแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1436 หรือเมื่อประมาณเกือบ 600 ปีที่แล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิง ประเทศจีน ปัจจุบัน ใบแปะก๊วย เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในเอเชีย ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ

              ทั้งนี้ หากนำใบแปะก๊วยไปสกัดด้วยตัวทำละลาย จะได้สารสกัดไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) มีฤทธิ์้ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ และยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน 

              ส่วนผู้ป่วยโรคหอบหืด หากรับประทาน "ใบแปะก๊วย" ก็สามารถป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมได้ หรือใครที่มีอาการปวดขา การทาน "ใบแปะก๊วย" ก็ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังประสาทมือและเท้า ลดอาการปวดต่าง ๆ ได้เช่นกัน

              นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.1996 มีการทดลองพบว่า "ใบแปะก๊วย" สามารถช่วยป้องกันอาการผิดปกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูง (Asthma & Acute Mountain Sickness : AMS) ได้ รวมทั้งกำลังมีการศึกษาว่า "ใบแปะก๊วย" อาจมีสรรพคุณลดภาวะอาการหูอื้อลงได้ด้วย


    ใบแปะก๊วย


              ขณะที่การโฆษณาสรรพคุณของใบแปะก๊วยส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของประสิทธิภาพในการเพิ่มความจำ และบำรุงสมอง หลังจากเคยมีการวิจัยทางคลินิกบางแห่งพบว่า การสกัดใบแปะก๊วยนอกจากจะได้สารไบโอฟลาโวนอยด์แล้ว ยังจะได้สารไบโลบาไลด์ (Bilobalides) และกิงโกไลด์ (Ginkgolides) ซึ่งเชื่อกันว่า มีผลต่อความจำ และบำบัดอาการสมองเสื่อม เพราะสารทั้งสองตัวนี้ จะไปเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตที่สมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น จึงช่วยเรื่องความจำได้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจจะสามารถป้องกันโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ อาการขี้หลงขี้ลืม วิงเวียนหน้ามืด โรคซึมเศร้าได้ด้วย 

              อย่างไรก็ตาม การวิจัยทางคลินิกหลายแห่งก็ยังไม่ได้สนับสนุนถึงสรรพคุณด้านนี้อย่างแน่ชัด โดยมีงานวิจัยบางแห่งกลับเห็นตรงกันข้ามว่า "ใบแปะก๊วย" อาจไม่มีความสามารถในการป้องกันอาการอัลไซเมอร์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ ขณะที่งานวิจัยที่ระบุว่า "ใบแปะก๊วย" ให้ผลดีต่อสมอง ก็ยังมีข้อมูลไม่มากนัก ฉะนั้นแล้ว จึงยังไม่มีสถาบันใดออกมายืนยันชัดเจนถึงสรรพคุณข้อนี้ของ "ใบแปะก๊วย" จึงคงต้องรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลมากกว่านี้ต่อไป 

              แต่ถึงแม้สรรพคุณของ "ใบแปะก๊วย" ในด้านการบำรุงสมองจะยังไม่แน่ชัด แต่เราก็เห็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใบแปะก๊วย ใบแปะก๊วยแคปซูล วางขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในทวีปยุโรปเอง โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน การจะรับประทาน "ใบแปะก๊วย" ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น

              เช่นเดียวกับที่ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ระบุข้อกำหนดในการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย ไว้ด้วยดังนี้

               1.ในการใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนปัจจุบัน จะต้องมีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ รวมทั้งโรคของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ โดยให้รับประทาน 40 มิลลิกรัม วันละ 3-4 เม็ด

              ทั้งนี้ สารสกัดจากใบแปะก๊วยจัดเป็นยาอันตราย ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน และไม่ให้มีโฆษณาสรรพคุณต่อสาธารณะ 

               2.ในการใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนโบราณ ให้ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่น ๆ ว่ามีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และอนุญาตสรรพคุณของตำรับเป็นยาบำรุงร่างกาย

               3.ในการใช้สารสกัดแปะก๊วย เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากอาหาร โดยอนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม และจะต้องไม่ระบุสรรพคุณใด ๆ ในการบำบัดรักษาโรคเลย

    ใบแปะก๊วย


    อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อแนะนำไม่ให้ใช้ "ใบแปะก๊วย" กับคน 3 กลุ่ม คือ

               1.ผู้ที่ใช้สารป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Anti-coaggulant) เช่น ยา Warfarin , แอสไพริน , อิบูโพรเฟน และผู้ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากใบแปะก๊วย มีผลทำให้เกิดเลือดออกตามร่างกายได้

               2.ผู้ป่วยที่ความดันสูง หรือความดันต่ำกว่าปกติ หรือใช้ยาอยู่ เพราะใบแปะก๊วยจะไปทำให้หลอดเลือดขยาย และลดความดันลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ความดันต่ำลงมากเกินไปได้

               3.สตรีมีครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

              นอกจากนี้ ในบางคนหากทานใบแปะก๊วยมากเกินไป อาจได้รับผลข้างเคียง เช่น มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ปั่นป่วนในระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจผิดปกติและหลอดเลือดผิดปกติ ผิวหนังมีอาการแพ้ เป็นต้น ซึ่งหากใครมีอาการลักษณะที่กล่าวมา ควรหยุดทานทันที

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

10 อันดับประเทศที่ "อากาศดี" ที่สุดในโลก

1. สาธารณรัฐมอลตา


มอลตา ประเทศที่ไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก สาธารณรัฐมอลตา เป็นประเทศหมู่เกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนใต้ของยุโรป  โดยอยู่ห่างจากเกาะซิซิลีของประเทศอิตาลีราว 60 ไมล์ สภาพอากาศที่มอลตาถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป มีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส ในเวลากลางวัน มีแสงแดดเฉลี่ยประมาณวันละ 5 ชั่วโมง ขณะที่หลายประเทศในยุโรปมีหิมะตกหนัก แต่มอลตากลับแทบไม่เคยได้สัมผัสหิมะเลย ที่มอลตาอาจมีฝนตกหนักบ้างบางช่วง แต่มักเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น
2. สาธารณรัฐเอกวาดอร์


เอกวาดอร์ อยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร พรมแดนทางตอนเหนือจรดโคลัมเบีย ทางตะวันออกและทางใต้ติดกับประเทศเปรู และมีชายฝั่งทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยความที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร เอกวาดอร์ จึงได้รับแสงแดดแบบเต็มๆ ถึงวันละ 12 ชั่วโมง ตลอดปี แต่เนื่องจากเอกวาดอร์มีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือมีทั้งที่เป็นภูเขา ป่าฝน และพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลแปซิฟิก ดังนั้นในแต่ละพื้นที่จึงมีสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น กิโต้ เมืองหลวงของประเทศเอกวาดอร์ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 9,350 ฟุต (2,849 เมตร) เป็นเมืองหลวงที่อยู่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีสภาพอากาศเหมือนอยู่ในฤดูใบไม้ผลิตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 24 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และ 10-13 องศาเซลเซียสในช่วงเวลากลางคืน
 3. สาธารณรัฐเม็กซิโก


ประเทศเม็กซิโก ทิศเหนือติดสหรัฐฯ ทิศใต้ติดกัวเตมาลาและเบลิซ ทิศตะวันออกติดอ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่าวแคลิฟอร์เนีย เม็กซิโก มีสภาพอากาศที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสูงของพื้นที่ กระแสลม และกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณชายฝั่งของเม็กซิโกมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน ส่วนพื้นที่บนความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 900 เมตรขึ้นไป จะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็น ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของเม็กซิโกจะอยู่ที่ประมาณ 40 นิ้ว และในบางช่วงของปีพื้นที่บริเวณอ่าวเม็กซิโก รวมถึงบริเวณชายฝั่งทะเลแคริบเบียนและแปซิฟิกอาจมีพายุเฮอร์ริเคนเกิดขึ้นได้ ส่วนในบางพื้นที่แถบบาฮา และทางตอนเหนือของประเทศกลับแทบไม่มีฝนตกเลยตลอดทั้งปี
  4. สาธารณรัฐโคลัมเบีย


เนื่องจากประเทศโคลัมเบีย ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร สภาพอากาศโดยทั่วไปจึงมีลักษณะร้อนชื้นและมีอุณหภูมิคงที่ตลอดทั้งปี หากจะมีอุณหภูมิแตกต่างไปจากเดิมบ้าง เพราะมีสาเหตุอันเนื่องมาจากฝนตกนั่นเอง ระดับอุณหภูมิของโคลัมเบียจะเริ่มตั้งแต่ร้อนมากบนพื้นที่ระดับน้ำทะเล และจะค่อยๆ มีอุณหภูมิต่ำลงบนพื้นที่ที่อยู่สูงขึ้นไป โดยพื้นที่ทางด้านตะวันออกของชายฝั่งทะเลแคริบเบียนและแปซิฟิก จะมีอุณหภูมิและความชื้นสูงตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนต่อปีโดยเฉลี่ย 40 นิ้ว ส่วนพื้นที่บนภูเขาอากาศจะเย็นลงโดยมี ลม ระดับความสูง และลักษณะภูมิประเทศเป็นตัวแปรที่สำคัญ
 5. ประเทศออสเตรเลีย


ประเทศออสเตรเลีย ประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย รวมถึงเกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ ออสเตรเลีย มีหลายสภาพอากาศ แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งและทุรกันดาร มีขนาดทะเลทรายรวมกันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา พื้นที่ราว 40% จึงถูกปกคลุมด้วยเนินทราย จะมีเพียงดินแดนทางตอนใต้ด้านตะวันออกและตะวันตกเท่านั้นที่อากาศเย็นและมีผืนดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลียมีแดดออกโดยเฉลี่ยมากกว่า 3,000 ชั่วโมง/ปี โดยในช่วงฤดูร้อน (ธ.ค.-มี.ค.) จะมีอุณหภูมิเฉลี่ย29 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงฤดูหนาว (มิ.ย.-ส.ค.) อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 13 องศาเซลเซียส
  6. ประเทศอุรุกวัย


อุรุกวัย เป็นประเทศเล็กๆ ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีสภาพอากาศแบบกึ่งร้อนและชื้นในบางพื้นที่ มีฝนตกบ้างประปราย สภาพอากาศของอุรุกวัยในแต่ละพื้นที่ไม่แตกต่างกันมากนัก และเนื่องจากประเทศนี้ไม่มีภูเขาจึงทำให้มีกระแสลมพัดผ่านมาจากภูมิภาคอื่น  เช่น ในช่วงฤดูร้อนอากาศจะอุ่นถึงร้อน เพราะได้รับอิทธิพลของลมร้อนที่พัดมาจากประเทศบราซิล ส่วนในช่วงฤดูหนาวอากาศจะเย็นถึงหนาว จากกระแสลมที่พัดมาจากขั้วโลกเป็นตัวแปรสำคัญ ปกติ อุรุกวัย ไม่มีหิมะ แต่เคยมีหิมะตก 2 ครั้งในประวัติศาสตร์ ไม่เคยเกิดเฮอร์ริเคน สึนามิ แผ่นดินไหว และไม่มีสภาพอากาศที่หนาวจัด จึงสามารถเดินทางไปเยือนได้ตลอดเวลา ช่วงที่มีอากาศดีที่สุด คือ เดือนกันยายน-เมษายน ในช่วงฤดูร้อน อุรุกวัยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียส
  7. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีสภาพอากาศหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่กึ่งร้อน กึ่งอบอุ่น ฝนตกชุก ไปจนถึงหิมะตก โดยตอนเหนือของประเทศจะมีลักษณะอากาศแบบกึ่งร้อน ขณะที่ตอนกลางอากาศจะร้อนชื้น ส่วนทางตอนใต้ของประเทศจะมีสภาพอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะบริเวณตอนใต้สุดของประเทศ ซึ่งจะมีลักษณะอากาศแบบแอนตาร์กติก คืออากาศแบบแห้ง เป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี และที่น่ามหัศจรรย์คือ ในช่วงกลางของฤดูหนาว (เดือนมิถุนายน) จะเกิดปรากฏการณ์ “ซาน ควน ซัมเมอร์” คือ สภาวะอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติเสมือนเป็นฤดูร้อนประมาณ 3-7 วัน ชาวอาร์เจนตินาจึงมักพากันออกมานอนอาบแสงแดดอันร้อนแรง ณ บริเวณจตุรัสใจกลางเมือง ทั้งๆ ที่กำลังอยู่ในช่วงกลางฤดูหนาว
  8. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้


สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีหลายสภาพภูมิอากาศเช่นกัน นับตั้งแต่สภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ กึ่งร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปจนถึงอากาศหนาวเย็นบริเวณที่ราบสูงตอนใน และสภาพอากาศแบบทะเลทรายทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ แต่โดยรวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอฟริกาใต้จะมีอากาศแบบอบอุ่น แดดร้อนในตอนกลางวัน อากาศเย็นในยามค่ำคืน และมีฝนตกในช่วงฤดูร้อน (พ.ย.-มี.ค.) ขณะที่บริเวณตอนล่างทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ แถบเมืองเคปทาวน์กลับมีฝนตกในช่วงฤดูหนาว (มิ.ย.-ส.ค.) สภาพอากาศทางตอนเหนือและใต้ของประเทศแอฟริกาใต้มักไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 17 องศาเซลเซียส และ 17.5 องศาเซลเซียส
  9. สาธารณรัฐอิตาลี


อิตาลี มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่ร้อยละ 75 เป็นภูเขาและที่ราบสูง อิตาลี เป็นหนึ่งประเทศในแถบยุโรปที่มีอากาศดี แต่สภาพอากาศจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในแต่ละพื้นที่ บริเวณที่มีอากาศดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว คือ แถบชายฝั่งอามัลฟี หรือที่เรียกว่า “อิตาเลี่ยน ริเวียร่า”รวมทั้งที่หมู่เกาะซิซิลีและซาร์ดิเนีย เพราะบริเวณดังกล่าวอากาศจะไม่หนาวมาก และไม่มีฝนตกหนัก ส่วนในช่วงฤดูร้อน ยิ่งลงไปทางตอนใต้ของประเทศมากเท่าไหร่ อากาศก็ยิ่งร้อนมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นปูเกลีย ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียสในเดือนสิงหาคม
  10. สาธารณรัฐฝรั่งเศส


โดยทั่วไป ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีอากาศเย็น แต่ก็มีสภาพอากาศที่หลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงฤดูหนาวอยู่ที่ 0-7 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 16-24 องศาเซลเซียส สำหรับเมืองที่อยู่ตอนกลางและค่อนไปทางเหนืออย่าง กรุงปารีส นั้น จะมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นและมักมีฝนตก แต่อากาศจะค่อนข้างร้อนในช่วงฤดูร้อน ส่วนพื้นที่ในแถบตะวันออกอย่างแคว้นอัลซาซ แคว้นลอร์แรน รวมถึงบริเวณเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาปีเรเนส์ และที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราล จะมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัดในช่วงฤดูหนาว

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

น้ำตกชิระอิโตะที่เมืองฟุจิโนะมิยะ

น้ำตกชิราอิโตะ(Shiraito Falls)

น้ำตกชิราอิโตะ(Shiraito Falls)

Shiraito Falls are a graceful expanse of waterfalls located north of Karuizawa. The falls are only 3 meters tall, but they are spread out over a 70 meter wide arch. Ground water spills out of the top of the arch in hundreds of little white strings from which the waterfall gets its name. The beautiful falls are a refreshingly cool setting, especially pleasurable in the summer. The area also has an abundance of wild vegetables in the spring, and the crimson colors of the maple trees are a beautiful sight in the fall.

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทากทะเล

ทากเปลือยหรือทากทะเล (Nudibranch) จัดอยู่ในกลุ่มของหอยที่ไม่มีเปลือกขนาดเล็ก อยู่ใน Order Nudibranchia โดยปกติทากเปลือยมีรูปร่างลักษณะที่หลากหลาย และมีสีสันสวยสดงดงาม จึงเป็นที่ดึงดูดสำหรับบรรดานักถ่ายภาพใต้น้ำ สีสันเหล่านี้บ่งบอกถึงความเป็นพิษที่สะสมอยู่ในตัวของมัน เนื่องจากทากเปลือยไม่มีโครงสร้างแข็งปกคลุมลำตัวที่อ่อนนิ่ม สารพิษที่สะสมอยู่นั้นจึงเป็นเสมือนเครื่องมือปกป้องจากการถูกล่าของสัตว์อื่น
        ทากเปลือยโดยทั่วไปมีอายุไม่เกินหนึ่งปี มีบางชนิดที่หลังจากวางไข่แล้วก็จะตายทันที ขนาดโตเต็มวัยมีตั้งแต่ขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร จนถึงขนาด 23 เซนติเมตร อาหารของทากเปลือยแต่ละชนิดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นพวกฟองน้ำ ไฮดรอยด์ สาหร่ายทะเล ดอกไม้ทะเล หรือแม้กระทั่งปะการัง โดยสามารถพบทากเปลือยได้ตั้งแต่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจนกระทั่งลึกลงไปถึง 1,000 เมตร นอกจากนั้นแล้วยังพบทากเปลือยได้ในระบบนิเวศอันหลากหลายๆ เช่น บริเวณป่าชายเลน หาดทราย หาดหิน แหล่งหญ้าทะเล แนวปะการัง และกลางทะเลลึก
        ทากเปลือยมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่ของอาหารในทะเล เช่น ช่วยควบคุมการกระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นจำพวกไบรโอซัว (Bryozoa) ในทะเลได้ นอกจากนั้นแล้วในปัจจุบันพบว่าทากเปลือยบางชนิดสามารถสร้างสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติทางทะเลซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพเป็น “สารต้านมะเร็ง” โดย ทากเปลือยโจรันนา Jorunna funebris ที่พบกระจายในน่านน้ำไทย ซึ่งกินฟองน้ำสีน้ำเงินเป็นอาหาร สามารถสร้างสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ และในขณะนี้ภาควิชาเภสัชเวช คณะเภสัชศาสตร์ ร่วมกับภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังดำเนินการศึกษาอยู่
ทากเปลือย
ทากเปลือยหรือทากทะเล (Nudibranch) ชนิดหนึ่งที่มีสีสัน
สะดุดตาเพื่อบอกผู้ล่าถึงพิษภัยในตัว



Jorunna funebrisทากเปลือยโจรันนา Jorunna funebris ที่พบว่าสามารถสร้างสาร
ที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งกำลังกิน ฟองน้ำสีฟ้า Halichondria sp.

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
รถไฟรางที่นำขึ้นสู่ยอดปีนังฮิลล์
       พูดถึงความเก่านั้น ก็ใช่แต่จะหมายถึงด้านไม่ดีเสมอไป ของบางอย่างที่เป็นของเก่า ก็มีคุณค่าแบบที่ไม่สามารถประเมินราคาได้ หรือแม้แต่เมืองเก่าๆ ก็มีมนต์เสน่ห์ที่ทำให้หลายคนอยากเข้าไปสัมผัส อย่างเช่น “ปีนัง” หรือ รัฐปีนัง ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
     
       นอกจากจะชอบเที่ยวในเมืองใหญ่ หรือออกไปตามป่าเขาลำเนาไพรแล้ว “ตะลอนเที่ยว” ก็ชอบเที่ยวเมืองเก่าด้วยเหมือนกัน เมื่อมีโอกาสดีมาถึงให้ได้ไปเยี่ยมเยือนปีนัง ก็ย่อมต้องไม่พลาดอย่างแน่นอน
     
       ก่อนจะตะลอนเที่ยวกันในเมืองปีนัง เรามาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของปีนังกันเสียหน่อย การท่องเที่ยวทริปนี้จะได้มีรสชาติมากยิ่งขึ้น
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
เจดีย์เจ็ดชั้น
       “ปีนัง” นั้นเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐของมาเลเซีย ในภาษามาเลย์จะเรียกว่า “ปูเลาปีนัง” (Pulau Penang) ซึ่งมาจากคำว่า “ปีนัง” ที่แปลว่า “ต้นหมาก” โดยในสมัยก่อนนั้นบนเกาะปีนังจะพบต้นหมากขึ้นอยู่มากมายนั่นเอง และหากพูดถึงรัฐปีนัง จะหมายรวมถึงพื้นที่บนเกาะปีนัง และ เซเบอรังเปอไร (Seberang Parai) บนแผ่นดินใหญ่
     
       เกาะปีนังถูกค้นพบโดย กัปตันฟรานซิส ไลท์ (Captain Fransis Light) ชาวอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ.1786 กัปตันไลท์ก็ได้รับมอบเกาะปีนังจากสุลต่านแห่งรัฐเคดาห์ ในนามของบริษัทอีสต์ อินเดีย คอมพานี ด้วยการทำสัญญาว่าจะปกป้องแผ่นดินนี้จากสยามประเทศ ซึ่งเขาก็ได้เปลี่ยนชื่อเกาะเสียใหม่ว่า “Prince of Wales Island” เนื่องด้วยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันเกิดของเจ้าชายแห่งเวลส์
     
       ต่อมาไม่นาน กัปตันไลท์ก็ได้ตั้ง “จอร์จทาวน์” (George Town) ขึ้นมา เพื่อให้เป็นเมืองท่าปลอดภาษี ซึ่งก็มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทำให้จอร์จทาวน์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการเปิดสอนภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนในสมัยนั้นคนไทยที่พอมีฐานะนิยมจะส่งลูกหลานไปเรียนที่ปีนังเพื่อให้ได้เรียนภาษาอังกฤษ
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
เจ้าแม่กวนอิม ที่วัดเค็กลกซี
       ในปัจจุบัน ปีนังถูกกล่าวขานว่าเป็นไข่มุกแห่งตะวันออก เนื่องจากมีบ้านเมืองที่สวยงามและโรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะบนเกาะปีนังที่เราจะมาเที่ยวตะลอนกันในคราวนี้ และถ้าอยากจะเห็นว่าบ้านเมืองโดยรวมของเกาะปีนังเป็นอย่างไรบ้างนั้น ก็ต้องขึ้นมาที่ “ปีนังฮิลล์” (Penang Hill / Bukit Bendara) เนื่องจากเป็นจุดที่สูงที่สุดบนเกาะปีนัง
     
       การจะขึ้นไปสู่ยอดเขาปีนังฮิลล์ที่มีความสูงประมาณ 830 เมตรจากระดับน้ำทะเลนั้น จะต้องใช้บริการรถไฟรางเพื่อไต่ระดับขึ้นไป ระหว่างที่รถไฟเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ ก็จะผ่านสวนป่าที่มีต้นไม้ดอกไม้หลากหลายสายพันธุ์ ดูแล้วสดชื่นสบายตาจากความเขียวชอุ่ม
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
ทิวทัศน์รอบๆ ปีนัง
       พอขึ้นไปถึงด้านบนสุดก็จะได้สูดอากาศบริสุทธิ์เย็นสบาย พร้อมกับชมทิวทัศน์ที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ซึ่งจะเห็นทั้งจอร์จทาวน์ ที่ในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐปีนัง ไปจนถึงชายฝั่งทะเล ขึ้นมาถึงด้านบนแล้วก็ต้องใช้เวลาดื่มด่ำกับบรรยากาศดีๆ มากสักหน่อย แล้วค่อยลงมาสำรวจแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ กันบ้าง
     
       ด้วยเหตุที่มาเลเซียมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน จึงทำให้วิถีชีวิต อาหารการกิน บ้านเรือน และบรรยากาศในเมืองนั้นเต็มไปด้วยการผสมผสานของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในปีนังนี่เอง
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
อนุสรณ์สงครามโลกครั้งที่ 1
       เริ่มแรกนั้น ลองไปสัมผัสวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนกันก่อนที่ “วัดเค็กลกซี” (Kek Lok Si Temple) หรือ วัดเขาเต่า หากใครจะขึ้นมาให้ถึงที่วัดนี้ ต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากทางขึ้นมายังวัดนั้นเป็นบันไดเดินขึ้นเนินเขาเรื่อยๆ ระยะทางไม่ใกล้ไม่ไกลมากนัก แต่ก็พอให้รู้สึกว่าเหงื่อเริ่มซึม และระหว่างทางเดินขึ้นก็จะผ่านร้านค้า ร้านขายของฝากที่กวักมือเรียกให้นักท่องเที่ยวทั้งหลายเข้าไปเยี่ยมชม
     
       ผ่านจากบรรดาร้านค้ามาได้ ก็จะมาถึงบ่อเต่าขนาดใหญ่ ที่มีเต่าตัวใหญ่นอนกองรวมกันอยู่ ด้านนอกบ่อก็จะมีคนขายผักบุ้งร้องเรียกให้ซื้อเพื่อทำบุญให้เต่าตาดำๆ มีทั้งภาษามาเลย์ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ แถมยังมีซับไตเติ้ลภาษาไทย สำหรับนักท่องเที่ยวหน้าตาไทยแท้ๆ อย่างเราอีกด้วย ใครที่ใจบุญสงสารพี่เต่า หรือทนเสียงเรียกร้องของพ่อค้าไม่ไหวก็แวะให้อาหารเต่ากันเสียหน่อย แล้วค่อยออกเดินต่อไปยังวัด
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
อาคารทาวน์ฮอลล์
       มาถึงทางเข้าวัดแล้วก็จะผ่านร้านขายของฝากของทางวัด ที่มีทั้งเครื่องรางของขลัง และของฝากมากมาย จากนั้นก็เป็นบันไดทางขึ้นไปอีกเล็กน้อย ก่อนจะถึงตัววัดเสียที
     
       มองเข้าไปในวัดแล้วจะได้กลิ่นอายสถาปัตยกรรมแบบจีนอย่างเต็มเปี่ยม แม้จะมีผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาท่องเที่ยวที่วัดแห่งนี้ แต่คนส่วนใหญ่ก็มาด้วยใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งคนที่มาที่นี่ นิยมมาไหว้พระและเทพเจ้าองค์ต่างๆ
     
       เริ่มจากจุดที่น่าสนใจมากอีกจุดหนึ่งภายในวัดแห่งนี้ ก็คือ เจดีย์เจ็ดชั้น ที่มีความงดงามจากการผสมผสานศิลปะจาก 3 ชาติ คือ ฐานเจดีย์เป็นแบบจีน ตัวเจดีย์เป็นแบบไทย และยอดเจดีย์เป็นแบบพม่า โดยจะมีการตกแต่งด้วยพระพุทธรูปสำริดและพระพุทธรูปศิลาขาวทั้งหมด 10,000 องค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีระหว่างนิกายมหายานและเถรวาท
     
       หลังจากชมเจดีย์ที่งดงามแล้ว ก็ตรงเข้าไปไหว้พระและเทพเจ้าองค์ต่างๆ ที่ด้านใน ซึ่งก็ต้องขึ้นบันไดไปอีกเล็กน้อย จากนั้นก็มาถึงไฮไลต์สำคัญของวัดเค้กลกซี ก็คือ องค์เจ้าแม่กวนอิมที่อยู่ด้านบนสุดของวัด โดยจะต้องขึ้นรถรางต่อขึ้นไปอีก
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
ป้อมคอร์นเวลลิส
       สำหรับองค์เจ้าแม่กวนอิมเป็นรูปหล่อสำริด ที่มีความสูงราว 30 เมตร ตั้งตระหง่านงดงามอยู่ที่ด้านบนสุดของวัด ซึ่งบริเวณรอบๆ นั้นก็มีการตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างงดงาม สามารถชมทัศนียภาพรอบๆ เกาะปีนังได้สะดวก และข้างๆ กันนั้นก็มีศาลาประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมไม้แกะสลักให้เข้าไปสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกันอีกด้วย
     
       ผู้คนที่ทยอยกันเข้ามายังวัดแห่งนี้ มีทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติ และชาวมาเลเซียที่อุ้มลูกจูงหลานเข้ามา เรียกได้ว่าวัดเค็กลกซี เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของปีนัง และยังมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะวัดที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่หากมาเยือนปีนังแล้วก็ไม่ควรพลาดเลยทีเดียว
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
บรรยากาศในย่านลิตเติ้ลอินเดีย
       ได้ไหว้พระทำบุญกันแล้ว ก็มาลองสัมผัสกับเมืองเก่าทรงเสน่ห์ ที่ยังเป็นจุดดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกกันดูบ้าง ที่นี่คือ “จอร์จทาวน์” (George Town) เมืองหลวงของรัฐปีนัง และยังได้รับเลือกให้เป็นเมืองมรดกโลกพร้อมกับมะละกา ในปี ค.ศ.2008 จากสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และได้รับการสืบทอดมาอย่างยาวนาน
     
       การท่องเที่ยวภายในจอร์จทาวน์ต้องใช้เวลาในการซึมซับบรรยากาศที่ผสมผสานระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกอย่างลงตัว “ตะลอนเที่ยว” จึงเลือกวิธีการเดินเท้า เดินชมตึกรามบ้านช่องตามรายทางไปเรื่อยๆ นอกจากจะได้ชื่นชมกับบ้านช่องที่มีร่องรอยของอดีตอย่างเต็มเปี่ยมแล้ว ก็ยังได้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในย่านจอร์จทาวน์อีกด้วย
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
ขนมแบบอินเดียก็มีขาย
       เราเริ่มต้นการเดินกันที่บริเวณ “เอสพลานาร์ด” ลานโล่งๆ ริมทะเลที่จัดตกแต่งเป็นสัดส่วนสบายตา โดยบริเวณนั้นจะมี “อนุสรณ์สงครามโลกครั้งที่ 1” (The Cenotaph) อยู่ด้านข้าง ส่วนใกล้ๆ กันนั้นก็เป็นอาคารเก่าที่เคยใช้เป็น “ทาวน์ฮอลล์” (Town Hall) และ “ซิตี้ฮอลล์” (City Hall) โดยอาคารซิตี้ฮอลล์ จะเป็นอาคารสีขาวสไตล์โคโลเนียล โดดเด่นด้วยเสาแบบกรีกและหน้าต่างบานใหญ่ ส่วนทาวน์ฮอลล์ จะเป็นอาคารสีเหลืองอ่อนสลับขาว สถาปัตยกรรม British Empire
     
       เดินข้ามมาอีกฝากหนึ่งก็จะเห็นปืนกระบอกใหญ่ตั้งอยู่ด้านหลังกำแพงสูง ซึ่งบริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า “ป้อมคอร์นเวลลิส” (Fort Cornwallis) ที่หากเข้าไปเดินชมภายในแล้วก็จะสามารถมองเห็นโครงสร้างเก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น โบสถ์ คลังเก็บดินปืน ประภาคาร และยังมีปืนเก่าชื่อ “เสรีรัมใบ” ซึ่งเป็นปืนใหญ่ของฮอลันดาที่มอบให้เป็นของกำนัลแก่สุลต่านยะโฮร์ แต่ถูกโปรตุเกสชิงไปแล้วส่งต่อไปยังชวา สุดท้ายอังกฤษก็นำกลับมาไว้ที่นี่
“ปีนัง” มนต์ขลังเมืองเก่า เล่าเรื่องราวหลากวัฒนธรรม
มัสยิดกาปิตัน เคลิง
       ได้รับบรรยากาศแบบตะวันตกกันไปบ้างแล้ว ก็ขอเดินต่อมาเรื่อยๆ ยังบริเวณที่มีกลิ่นอายแบบตะวันออกบ้าง แบบนี้ก็ต้องมาที่ “ลิตเติ้ลอินเดีย” (Little India) ชุมชนของชาวอินเดียที่มีทั้งโบสถ์ฮินดูเก่าแก่ บ้านเรือนที่ตกแต่งในสไตล์อินเดีย มีร้านขายอาหารของคาวของหวานแบบอินเดีย หรือจะดูหนังฟังเพลงอ่านหนังสืออินเดีย ที่มีก็มีครบทุกสิ่ง แถมยังเห็นสาวอินเดียห่มส่าหรีสีสันสวยสดเดินผ่านไปผ่านมา ได้อารมณ์เดินในเมืองหนึ่งในประเทศอินเดีย มากกว่าจะอยู่ที่ปีนังเสียอีก
     
       แต่ถึงจะเป็นชุมชนอินเดีย บริเวณใกล้ๆ กันนั้นก็ยังมี “วัดเจ้าแม่กวนอิม” ที่สร้างขึ้นโดยชาวจีนฮกเกี้ยนและชาวจีนกวางตุ้งกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาตั้งรกรากบนเกาะปีนัง น่าเสียดายว่าตอนที่เราไปถึงภายในวัดกำลังทำการปรับปรุงอยู่ จึงสามารถชมความงดงามของวัดได้แค่เพียงภายนอกเท่านั้น

ทะเลสาบเดดซี

ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร
คนชาวอาหรับจะเรียกทะเลสาบเดดซีกันว่า "อัลบาห์รัลไมยิต” หมายความว่า ทะเลมรณะเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ขณะที่ภาษาฮีบรูเรียกทะเลสาบนี้ว่า "ยัมฮาเมละฮ์" ซึ่งหมายความว่า "ทะเลเกลือ" เป็นทะเลที่เค็มที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เค็มกว่าทะเลอื่นถึง 4 เท่า[ต้องการอ้างอิง] มีความยาว 76 กิโลเมตร กว้างถึง 18 กิโลเมตร มีจุดที่ลึกที่สุดคือ 400 เมตร และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 417.5 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกอีกแห่งด้วย สำหรับทะเลสาบเดดซี เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ชื่นชอบในการเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นทะเลที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย ยกเว้นแต่แบคทีเรียและเห็ดราบางชนิด

ประวัติ

ชื่อ ทะเลมรณะ ในภาษาไทยปรากฏครั้งแรก ๆ ในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทย ภาษาอังกฤษถ่ายมาจากภาษาเดิมว่า Dead Sea มีประวัติย้อนไปอย่างน้อยก็สมัยเฮลเลน (323 - 30 ปีก่อนคริสตกาล) เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในไบเบิล เพราะเป็นยุคสมัยของอับราฮัม (บรรพบุรุษของชาวฮีบรูและอาหรับ) และการทำลายเมืองโสโดมและกอมอร์ราห์ (สองเมืองนี้ปรากฏในพระคัมภีร์เก่า กล่าวว่าถูกทำลายจากไฟสวรรค์ เพราะความชั่วร้ายของผู้คนในดังกล่าวคงจะจมในบริเวณตอนใต้ของทะเลเดดซี) แม่น้ำที่แตกสาขาออกไป เป็นทางหนีของกษัตริย์ดาวิด (กษัตริย์แห่งอิสราเอล) และภายหลังก็เป็นทางหนีของพระเจ้าเฮรอดที่หนึ่งมหาราช กษัตริย์แห่งยูดาย
ทะเลเดดซีกินเนื้อที่ส่วนต่ำสุดของถ้ำในทะเลจอร์แดน-ทะเลเดดซี (ยาว 560 กิโลเมตร) ซึ่งขยายออกไปจากทางเหนือของสันปันน้ำแอฟริกาตะวันออก เป็นภูเขาที่จมลงในเขตรอบเลื่อนทวีปขนานสองรอย คือทางตะวันออก ตามขอบที่ราบสูงโมอาบ ซึ่งมองจากทะเลสาบนี้เห็นได้ง่ายกว่ารอยเลื่อนตะวันตก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการยกตัว
ในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส (คือราว 208 - 66.4 ล้านปีที่ผ่านมา) ก่อนการเกิดถ้ำ ทะเลเมดิเตอร์เคไมโอซีน (23.7 - 5.3 ล้านปีที่ผ่านมา) ก้นทะเลยกตัวขึ้น ทำให้มีระดับสูงกว่าเดิมมาก
ทะเลเดดซีอยู่ในเขตทะเลทราย น้ำเค็ม ฝนตกก็น้อย และไม่สม่ำเสมอ ปีหนึ่งราว 65 มิลลิเมตร และเมืองเสโดม (ใกล้เมืองโสโดมในไบเบิล) ไม่มี
เหตุที่เรียกว่าเดดซีเพราะทะเลสาบนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งอื่นเลย มีเพียงแม่น้ำจอร์แดนที่ไหลลงสู่ทะเลเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปน้ำในทะเลนี้ระเหยขึ้นทำให้เกลือในทะเลสาบเดดซีตกค้างอยู่ในบริเวณเดิมน้ำในทะเลสาบเดดซีจึงมีความเค็มมากกว่าน้ำทะเลปกติถึง6เท่า ด้วยเหตุที่น้ำมีความเค็มมากขนาดนี้ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จึงเรียกทะเลสาบนี้ว่าทะเลสาบเดดซี มีความหมายว่าทะเลสาบมรณะ   

น้ำพุร้อนปามุคคาเล


ปามุคคาเล ปราสาทปุยฝ้ายสุดวิจิตร บ่อน้ำร้อนศักดิ์สิทธิ์แห่งตุรกี


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            ปามุคคาเล (Pamukkale) ปราสาทปุยฝ้ายสุดวิจิตร บ่อน้ำร้อนศักดิ์สิทธิ์แห่งตุรกี ทั้งงดงามราวกับเป็นน้ำพุร้อนจากสวรรค์ และมีสรรพคุณในการบำบัดโรคจนกลายเป็นสปาธรรมชาติมานานกว่าพันปี
            หากจะคิดถึงสถานที่ท่องเที่ยวอันแสนงดงาม ราวกับไม่น่าจะมีอยู่จริงบนโลกใบนี้ ปามุคคาเลหรือ พามุคคาเล (Pamukkale) ดินแดนแห่งน้ำพุร้อน ในประเทศตุรกี ซึ่งมีลักษณะคล้ายระเบียงน้ำพุร้อนที่ซ้อนกันหลายชั้น มีขอบหินปูนสีขาว ดูวิจิตรงดงามและสะอาดบริสุทธิ์ราวกับปุยฝ้ายแห่งนี้ คงจะเป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งผุดขึ้นมาในใจของหลาย ๆ คนเป็นแน่ และแน่นอนว่ามันคงเป็นราวกับดินแดนในฝันของนักท่องเที่ยวหลายคนทีเดียว
            สำหรับ ปามุคคาเล ซึ่งแปลว่า ปราสาทปุยฝ้าย (Cotton Castle) ในภาษาตุรกี ตั้งอยู่ในเมืองปามุคคาเล จังหวัดเดนิซลิ (Denizli) ประเทศตุรกี มีลักษณะเป็นระเบียงน้ำพุเกลือร้อน ซึ่งเกิดขึ้นจากการเกิดแผ่นดินไหวของโลกในอดีต มีความยาวประมาณ 2.7 กิโลเมตร สูง 160 เมตร ความงดงามสุดวิจิตรของสถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นจากบ่อน้ำร้อนที่อุดมไปด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน ซึ่งเมื่อน้ำพุร้อนระเหยขึ้นมาเป็นเวลาเนิ่นนาน ไอน้ำก็จะค่อย ๆ ก่อให้เกิดชั้นของแคลเซียมเกาะบริเวณขอบบ่อจนเกิดเป็นผนังสีขาวขึ้นนั่นเอง
            ด้วยความเชื่อว่า ปามุคคาเล เป็นเหมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาบำบัดการอาการต่าง ๆ ทำให้ในอดีตชนเผ่ากรีก-โรมันได้เข้ามาสร้างเมืองอยู่บนบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ และขนานนามเมืองนั้นว่า ฮีเอราโพลิส อันหมายถึงเมืองศักดิ์สิทธิ์ และปามุคคาเล ก็ได้ถูกใช้เป็นสปาบำบัดโรคมานานกว่าพันปี กระทั่งปามุคคาเลได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการร่วมกับเมือง ฮีเอราโพลิส เมื่อปี 2531 จึงได้มีการปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวลงไปอาบแช่แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้สถานที่แห่งนี้เกิดความเสียหาย


ปามุคคาเล ปราสาทปุยฝ้ายสุดวิจิตร บ่อน้ำร้อนศักดิ์สิทธิ์แห่งตุรกี

ปามุคคาเล ปราสาทปุยฝ้ายสุดวิจิตร บ่อน้ำร้อนศักดิ์สิทธิ์แห่งตุรกี

ปามุคคาเล ปราสาทปุยฝ้ายสุดวิจิตร บ่อน้ำร้อนศักดิ์สิทธิ์แห่งตุรกี