วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ใบจิงโกะหรือแปะก๊วย


    ใบแปะก๊วย

    ใบแปะก๊วย

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


              อีกหนึ่งสมุนไพรที่คนกำลังกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ก็คือ "ใบแปะก๊วย" ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน และเชื่อกันว่า มีสรรพคุณบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ วันนี้กระปุกดอทคอม จะพาคนรักสุขภาพ ไปไขข้อข้องใจกันค่ะ

              สำหรับ "แปะก๊วย" (Ginkgo biloba : กิงโกะ บิโลบา) จะเรียกว่าเป็นพืชโบราณก็ว่าได้ เพราะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ โดยคำภาษาจีน ออกเสียงว่า "หยินซิ่ง" ซึ่งแปลว่า ลูกไม้สีเงิน ต่อมาได้มีผู้นำ "แปะก๊วย" เข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า "อิโจว" หรือ "คินนัน" ซึ่งมีความหมายไม่แตกต่างกับประเทศจีน 

              ทั้งนี้เมื่อพูดถึง "แปะก๊วย" คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักเม็ดสีเหลือง ๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสมของขนมหวานหลาย ๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นบะจ่าง แปะก๊วยนมสด แปะก๊วยต้มน้ำตาล ฯลฯ มากกว่า "ใบแปะก๊วย" ซึ่งมีหลายคนบอกว่า จริง ๆ แล้ว "ใบแปะก๊วย" นี่แหละที่มีประโยชน์มากกว่าผลแปะก๊วยเสียอีก


    แปะก๊วย


    ว่าแล้วเรามารู้จัก "ใบแปะก๊วย" กันเลยดีกว่า

              "ใบแปะก๊วย" มีลักษณะเป็นใบสีเขียวแยกเป็น 2 กลีบ คล้ายใบพัด มีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบแล้ว ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงจากต้นภายในไม่กี่วัน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ครั้งแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1436 หรือเมื่อประมาณเกือบ 600 ปีที่แล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิง ประเทศจีน ปัจจุบัน ใบแปะก๊วย เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในเอเชีย ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ

              ทั้งนี้ หากนำใบแปะก๊วยไปสกัดด้วยตัวทำละลาย จะได้สารสกัดไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) มีฤทธิ์้ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ และยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน 

              ส่วนผู้ป่วยโรคหอบหืด หากรับประทาน "ใบแปะก๊วย" ก็สามารถป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมได้ หรือใครที่มีอาการปวดขา การทาน "ใบแปะก๊วย" ก็ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังประสาทมือและเท้า ลดอาการปวดต่าง ๆ ได้เช่นกัน

              นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.1996 มีการทดลองพบว่า "ใบแปะก๊วย" สามารถช่วยป้องกันอาการผิดปกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูง (Asthma & Acute Mountain Sickness : AMS) ได้ รวมทั้งกำลังมีการศึกษาว่า "ใบแปะก๊วย" อาจมีสรรพคุณลดภาวะอาการหูอื้อลงได้ด้วย


    ใบแปะก๊วย


              ขณะที่การโฆษณาสรรพคุณของใบแปะก๊วยส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของประสิทธิภาพในการเพิ่มความจำ และบำรุงสมอง หลังจากเคยมีการวิจัยทางคลินิกบางแห่งพบว่า การสกัดใบแปะก๊วยนอกจากจะได้สารไบโอฟลาโวนอยด์แล้ว ยังจะได้สารไบโลบาไลด์ (Bilobalides) และกิงโกไลด์ (Ginkgolides) ซึ่งเชื่อกันว่า มีผลต่อความจำ และบำบัดอาการสมองเสื่อม เพราะสารทั้งสองตัวนี้ จะไปเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตที่สมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น จึงช่วยเรื่องความจำได้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจจะสามารถป้องกันโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ อาการขี้หลงขี้ลืม วิงเวียนหน้ามืด โรคซึมเศร้าได้ด้วย 

              อย่างไรก็ตาม การวิจัยทางคลินิกหลายแห่งก็ยังไม่ได้สนับสนุนถึงสรรพคุณด้านนี้อย่างแน่ชัด โดยมีงานวิจัยบางแห่งกลับเห็นตรงกันข้ามว่า "ใบแปะก๊วย" อาจไม่มีความสามารถในการป้องกันอาการอัลไซเมอร์ หรือเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ ขณะที่งานวิจัยที่ระบุว่า "ใบแปะก๊วย" ให้ผลดีต่อสมอง ก็ยังมีข้อมูลไม่มากนัก ฉะนั้นแล้ว จึงยังไม่มีสถาบันใดออกมายืนยันชัดเจนถึงสรรพคุณข้อนี้ของ "ใบแปะก๊วย" จึงคงต้องรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลมากกว่านี้ต่อไป 

              แต่ถึงแม้สรรพคุณของ "ใบแปะก๊วย" ในด้านการบำรุงสมองจะยังไม่แน่ชัด แต่เราก็เห็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใบแปะก๊วย ใบแปะก๊วยแคปซูล วางขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในทวีปยุโรปเอง โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน การจะรับประทาน "ใบแปะก๊วย" ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น

              เช่นเดียวกับที่ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ระบุข้อกำหนดในการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย ไว้ด้วยดังนี้

               1.ในการใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนปัจจุบัน จะต้องมีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ รวมทั้งโรคของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ โดยให้รับประทาน 40 มิลลิกรัม วันละ 3-4 เม็ด

              ทั้งนี้ สารสกัดจากใบแปะก๊วยจัดเป็นยาอันตราย ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน และไม่ให้มีโฆษณาสรรพคุณต่อสาธารณะ 

               2.ในการใช้สารสกัดแปะก๊วยเป็นยาแผนโบราณ ให้ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่น ๆ ว่ามีสรรพคุณบำรุงร่างกาย และอนุญาตสรรพคุณของตำรับเป็นยาบำรุงร่างกาย

               3.ในการใช้สารสกัดแปะก๊วย เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะต้องได้รับใบสำคัญการใช้ฉลากอาหาร โดยอนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม และจะต้องไม่ระบุสรรพคุณใด ๆ ในการบำบัดรักษาโรคเลย

    ใบแปะก๊วย


    อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อแนะนำไม่ให้ใช้ "ใบแปะก๊วย" กับคน 3 กลุ่ม คือ

               1.ผู้ที่ใช้สารป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Anti-coaggulant) เช่น ยา Warfarin , แอสไพริน , อิบูโพรเฟน และผู้ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากใบแปะก๊วย มีผลทำให้เกิดเลือดออกตามร่างกายได้

               2.ผู้ป่วยที่ความดันสูง หรือความดันต่ำกว่าปกติ หรือใช้ยาอยู่ เพราะใบแปะก๊วยจะไปทำให้หลอดเลือดขยาย และลดความดันลง ซึ่งจะยิ่งทำให้ความดันต่ำลงมากเกินไปได้

               3.สตรีมีครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

              นอกจากนี้ ในบางคนหากทานใบแปะก๊วยมากเกินไป อาจได้รับผลข้างเคียง เช่น มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย ปั่นป่วนในระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจผิดปกติและหลอดเลือดผิดปกติ ผิวหนังมีอาการแพ้ เป็นต้น ซึ่งหากใครมีอาการลักษณะที่กล่าวมา ควรหยุดทานทันที

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

10 อันดับประเทศที่ "อากาศดี" ที่สุดในโลก

1. สาธารณรัฐมอลตา


มอลตา ประเทศที่ไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก สาธารณรัฐมอลตา เป็นประเทศหมู่เกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนใต้ของยุโรป  โดยอยู่ห่างจากเกาะซิซิลีของประเทศอิตาลีราว 60 ไมล์ สภาพอากาศที่มอลตาถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในยุโรป มีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส ในเวลากลางวัน มีแสงแดดเฉลี่ยประมาณวันละ 5 ชั่วโมง ขณะที่หลายประเทศในยุโรปมีหิมะตกหนัก แต่มอลตากลับแทบไม่เคยได้สัมผัสหิมะเลย ที่มอลตาอาจมีฝนตกหนักบ้างบางช่วง แต่มักเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น
2. สาธารณรัฐเอกวาดอร์


เอกวาดอร์ อยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร พรมแดนทางตอนเหนือจรดโคลัมเบีย ทางตะวันออกและทางใต้ติดกับประเทศเปรู และมีชายฝั่งทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยความที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร เอกวาดอร์ จึงได้รับแสงแดดแบบเต็มๆ ถึงวันละ 12 ชั่วโมง ตลอดปี แต่เนื่องจากเอกวาดอร์มีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะ คือมีทั้งที่เป็นภูเขา ป่าฝน และพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลแปซิฟิก ดังนั้นในแต่ละพื้นที่จึงมีสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น กิโต้ เมืองหลวงของประเทศเอกวาดอร์ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 9,350 ฟุต (2,849 เมตร) เป็นเมืองหลวงที่อยู่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีสภาพอากาศเหมือนอยู่ในฤดูใบไม้ผลิตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 24 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และ 10-13 องศาเซลเซียสในช่วงเวลากลางคืน
 3. สาธารณรัฐเม็กซิโก


ประเทศเม็กซิโก ทิศเหนือติดสหรัฐฯ ทิศใต้ติดกัวเตมาลาและเบลิซ ทิศตะวันออกติดอ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่าวแคลิฟอร์เนีย เม็กซิโก มีสภาพอากาศที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสูงของพื้นที่ กระแสลม และกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณชายฝั่งของเม็กซิโกมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน ส่วนพื้นที่บนความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 900 เมตรขึ้นไป จะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็น ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของเม็กซิโกจะอยู่ที่ประมาณ 40 นิ้ว และในบางช่วงของปีพื้นที่บริเวณอ่าวเม็กซิโก รวมถึงบริเวณชายฝั่งทะเลแคริบเบียนและแปซิฟิกอาจมีพายุเฮอร์ริเคนเกิดขึ้นได้ ส่วนในบางพื้นที่แถบบาฮา และทางตอนเหนือของประเทศกลับแทบไม่มีฝนตกเลยตลอดทั้งปี
  4. สาธารณรัฐโคลัมเบีย


เนื่องจากประเทศโคลัมเบีย ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร สภาพอากาศโดยทั่วไปจึงมีลักษณะร้อนชื้นและมีอุณหภูมิคงที่ตลอดทั้งปี หากจะมีอุณหภูมิแตกต่างไปจากเดิมบ้าง เพราะมีสาเหตุอันเนื่องมาจากฝนตกนั่นเอง ระดับอุณหภูมิของโคลัมเบียจะเริ่มตั้งแต่ร้อนมากบนพื้นที่ระดับน้ำทะเล และจะค่อยๆ มีอุณหภูมิต่ำลงบนพื้นที่ที่อยู่สูงขึ้นไป โดยพื้นที่ทางด้านตะวันออกของชายฝั่งทะเลแคริบเบียนและแปซิฟิก จะมีอุณหภูมิและความชื้นสูงตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนต่อปีโดยเฉลี่ย 40 นิ้ว ส่วนพื้นที่บนภูเขาอากาศจะเย็นลงโดยมี ลม ระดับความสูง และลักษณะภูมิประเทศเป็นตัวแปรที่สำคัญ
 5. ประเทศออสเตรเลีย


ประเทศออสเตรเลีย ประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย รวมถึงเกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ ออสเตรเลีย มีหลายสภาพอากาศ แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งและทุรกันดาร มีขนาดทะเลทรายรวมกันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา พื้นที่ราว 40% จึงถูกปกคลุมด้วยเนินทราย จะมีเพียงดินแดนทางตอนใต้ด้านตะวันออกและตะวันตกเท่านั้นที่อากาศเย็นและมีผืนดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลียมีแดดออกโดยเฉลี่ยมากกว่า 3,000 ชั่วโมง/ปี โดยในช่วงฤดูร้อน (ธ.ค.-มี.ค.) จะมีอุณหภูมิเฉลี่ย29 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงฤดูหนาว (มิ.ย.-ส.ค.) อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 13 องศาเซลเซียส
  6. ประเทศอุรุกวัย


อุรุกวัย เป็นประเทศเล็กๆ ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีสภาพอากาศแบบกึ่งร้อนและชื้นในบางพื้นที่ มีฝนตกบ้างประปราย สภาพอากาศของอุรุกวัยในแต่ละพื้นที่ไม่แตกต่างกันมากนัก และเนื่องจากประเทศนี้ไม่มีภูเขาจึงทำให้มีกระแสลมพัดผ่านมาจากภูมิภาคอื่น  เช่น ในช่วงฤดูร้อนอากาศจะอุ่นถึงร้อน เพราะได้รับอิทธิพลของลมร้อนที่พัดมาจากประเทศบราซิล ส่วนในช่วงฤดูหนาวอากาศจะเย็นถึงหนาว จากกระแสลมที่พัดมาจากขั้วโลกเป็นตัวแปรสำคัญ ปกติ อุรุกวัย ไม่มีหิมะ แต่เคยมีหิมะตก 2 ครั้งในประวัติศาสตร์ ไม่เคยเกิดเฮอร์ริเคน สึนามิ แผ่นดินไหว และไม่มีสภาพอากาศที่หนาวจัด จึงสามารถเดินทางไปเยือนได้ตลอดเวลา ช่วงที่มีอากาศดีที่สุด คือ เดือนกันยายน-เมษายน ในช่วงฤดูร้อน อุรุกวัยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียส
  7. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีสภาพอากาศหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่กึ่งร้อน กึ่งอบอุ่น ฝนตกชุก ไปจนถึงหิมะตก โดยตอนเหนือของประเทศจะมีลักษณะอากาศแบบกึ่งร้อน ขณะที่ตอนกลางอากาศจะร้อนชื้น ส่วนทางตอนใต้ของประเทศจะมีสภาพอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะบริเวณตอนใต้สุดของประเทศ ซึ่งจะมีลักษณะอากาศแบบแอนตาร์กติก คืออากาศแบบแห้ง เป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี และที่น่ามหัศจรรย์คือ ในช่วงกลางของฤดูหนาว (เดือนมิถุนายน) จะเกิดปรากฏการณ์ “ซาน ควน ซัมเมอร์” คือ สภาวะอุณหภูมิสูงขึ้นผิดปกติเสมือนเป็นฤดูร้อนประมาณ 3-7 วัน ชาวอาร์เจนตินาจึงมักพากันออกมานอนอาบแสงแดดอันร้อนแรง ณ บริเวณจตุรัสใจกลางเมือง ทั้งๆ ที่กำลังอยู่ในช่วงกลางฤดูหนาว
  8. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้


สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีหลายสภาพภูมิอากาศเช่นกัน นับตั้งแต่สภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ กึ่งร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปจนถึงอากาศหนาวเย็นบริเวณที่ราบสูงตอนใน และสภาพอากาศแบบทะเลทรายทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ แต่โดยรวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอฟริกาใต้จะมีอากาศแบบอบอุ่น แดดร้อนในตอนกลางวัน อากาศเย็นในยามค่ำคืน และมีฝนตกในช่วงฤดูร้อน (พ.ย.-มี.ค.) ขณะที่บริเวณตอนล่างทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ แถบเมืองเคปทาวน์กลับมีฝนตกในช่วงฤดูหนาว (มิ.ย.-ส.ค.) สภาพอากาศทางตอนเหนือและใต้ของประเทศแอฟริกาใต้มักไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 17 องศาเซลเซียส และ 17.5 องศาเซลเซียส
  9. สาธารณรัฐอิตาลี


อิตาลี มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่ร้อยละ 75 เป็นภูเขาและที่ราบสูง อิตาลี เป็นหนึ่งประเทศในแถบยุโรปที่มีอากาศดี แต่สภาพอากาศจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในแต่ละพื้นที่ บริเวณที่มีอากาศดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว คือ แถบชายฝั่งอามัลฟี หรือที่เรียกว่า “อิตาเลี่ยน ริเวียร่า”รวมทั้งที่หมู่เกาะซิซิลีและซาร์ดิเนีย เพราะบริเวณดังกล่าวอากาศจะไม่หนาวมาก และไม่มีฝนตกหนัก ส่วนในช่วงฤดูร้อน ยิ่งลงไปทางตอนใต้ของประเทศมากเท่าไหร่ อากาศก็ยิ่งร้อนมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นปูเกลีย ซึ่งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียสในเดือนสิงหาคม
  10. สาธารณรัฐฝรั่งเศส


โดยทั่วไป ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีอากาศเย็น แต่ก็มีสภาพอากาศที่หลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงฤดูหนาวอยู่ที่ 0-7 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย 16-24 องศาเซลเซียส สำหรับเมืองที่อยู่ตอนกลางและค่อนไปทางเหนืออย่าง กรุงปารีส นั้น จะมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นและมักมีฝนตก แต่อากาศจะค่อนข้างร้อนในช่วงฤดูร้อน ส่วนพื้นที่ในแถบตะวันออกอย่างแคว้นอัลซาซ แคว้นลอร์แรน รวมถึงบริเวณเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาปีเรเนส์ และที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราล จะมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัดในช่วงฤดูหนาว

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

น้ำตกชิระอิโตะที่เมืองฟุจิโนะมิยะ

น้ำตกชิราอิโตะ(Shiraito Falls)

น้ำตกชิราอิโตะ(Shiraito Falls)

Shiraito Falls are a graceful expanse of waterfalls located north of Karuizawa. The falls are only 3 meters tall, but they are spread out over a 70 meter wide arch. Ground water spills out of the top of the arch in hundreds of little white strings from which the waterfall gets its name. The beautiful falls are a refreshingly cool setting, especially pleasurable in the summer. The area also has an abundance of wild vegetables in the spring, and the crimson colors of the maple trees are a beautiful sight in the fall.