วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

มนุษย์น้ำแข็ง

มัมมี่ของมนุษย์ยุคน้ำแข็งชื่อ "tzi" นี้มีอายุกว่า 5300 ปี ซึ่งจัดเป็นมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ซึ่งมีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก ในปี 1991 นักท่องเที่ยวชาวเยอมันได้ค้นพบซากมัมมี่นี้ที่ชายแดนระหว่างอิตาลีกับออสเตรเลียบริเวณอัลไพน์





โรเบิร์ต แวดโลว์

                 
โรเบิร์ต เพอร์ชิง แวดโลว์ (อังกฤษRobert Pershing Wadlow) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 191815 กรกฎาคม ค.ศ. 1940) เป็นมนุษย์ที่สูงที่สุดในโลก โดยเขาเป็นเจ้าของความสูงถึง 2.72 เมตร และยังเป็นมนุษย์ที่สูงที่สุดตลอดกาลด้วย เพราะในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครสามารถทำลายสถิติความสูงของเขาได้เลย เขามีน้ำหนักมากถึง 222 กิโลกรัม ซ้ำยังเป็นมนุษย์ที่มีมือและเท้ายาวที่สุด แวดโลว์มีมือที่ยาวมากกว่า 30 เซนติเมตร และเท้าที่ยาวเกือบ 50 เซนติเมตร ซึ่งการที่เขาสูงได้ขนาดนี้ ก็เพราะความผิดปกติของต่อมใต้สมองของเขานั่นเอง

ประวัติ

แวดโลว์เป็นบุตรชายของ ฮาโรลด์ แฟรงคลิน แวดโลว์ กับนาง แอดดี จอห์นสัน เขาเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 ที่รัฐอิลลินอยส์สหรัฐอเมริกา เมื่อตอนที่แวดโรว์เกิดนั้น เขามีความสูงปกติดี แต่พอเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ ความสูงของเขาก็เริ่มผิดปกติ เมื่อแวดโลว์สูงมากเกินไปเมื่อเขาสูงเกือบ 2 เมตรในวัย 10 ปีเท่านั้น (ตอนนั้นแวดโลว์ก็มีน้ำหนักถึง 100 กิโลกรัม) แต่ทางครอบครัวของเขาก็ไม่ได้ผ่าตัดรักษาอาการผิดปกติของต่อมใต้สมองของเขาเลย แต่กลับปล่อยไปตามธรรมชาติ และในวัย 20 ปี เขาก็มีความสูงถึง 2.6 เมตร และยังคงสูงต่อไปเรื่อยๆ

การเสียชีวิต[แก้]

ด้วยเหตุที่แวดโลว์มีความสูงและน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เขาต้องใส่เฝือกเพื่อรับน้ำหนักที่มากกว่า 200 กิโลกรัมของเขา จนกระทั่งวันหนึ่งเขาเกิดแผลที่เท้า จนทำให้มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ทำให้เขาต่องเปลี่ยนถ่ายเลือดโดยด่วน แต่ก็ไม่ทันการ แวดโลว์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 ที่รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ด้วยวัยเพียง 22 ปี โดยก่อนเขาเสียชีวิตไม่นาน แวดโลว์มีความสูงถึง 3.12 เมตร และหนัก 222 กิโลกรัม ในงานศพของเขามีผู้เข้าร่วมถึง 40,000 คนในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 โลงศพของเขาหนักถึงครึ่งตันเลยทีเดียว

สัตว์ที่มีอายุเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย

      

สัตว์ที่มีอายุเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย
Dr Maria Miglietta นักวิทยาศาสตร์จาก the Smithsonian Tropical Marine Institute เปิดเผยว่าแมงกะพรุนที่เรียกว่า Turritopsis Nutricula มีชีวิตเป็นอมตะ เนื่องจากมันสามารถย้อนวัยตัวเองกลับไปสู่วัยหนุ่มสาวได้อีก หลังจากที่่ได้สืบพันธ์แล้ว นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้บอกว่าจำนวนของแมงกะพรุนสายพันธ์นี้กำลังเพิ่ม จำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากชีวิตที่เป็นอมตะของพวกมัน

แหล่งกำเนิดสัตว์ที่มีอายุยืนที่สุด
Turritopsis Nutricula เป็นแมงกะพรุนที่มีต้นกำเนิดอยู่ในแถบ Caribbean แต่ขณะนี้มันกำลังกระจายไปทั่วทุกแห่งในโลกอย่างรวดเร็ว

ลักษณะเด่นสัตว์ที่มีอายุยืนที่สุด
แมงกะพรุน (Turritopsis Nutricula) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อว่า hydrozoan และเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตขนิดเดียว ที่สามารถย้อนวัยตัวเองกลับสู่วัยหนุ่มสาว ด้วยวิธีที่เรียกว่า cell development process of transdifferentiation นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ขั้นตอนของcell development process of transdifferentiation ใน Turritopsis Nutricula จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้มันมีชีวิตที่เป็นอมตะ ในขณะที่แมงกะพรุนสายพันธ์อื่นๆ จะตายไปตามอายุขัยเหมือนสิ่งชีวิตอื่นๆในโลก
นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาว่าเหตุใด แมงกะพรุนสายพันธ์นี้ที่มีขนาดเพียง 5 มิลลิเมตร ถึงได้มีคุณสมบัติพิเศษในการย้อนวัยตนเองได้

เอสคีลัส (Aeschylus)




เอสคีลัส(ราว525-455 ปีก่อนคริสต์ศักราช)เป็นบิดาแห่งงานประพันธ์โศกนาฎกรรมและเป็นหนึ่งในนักเขียนบทละครคนแรกๆที่ผลงานยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้บทละครของเอสคีลัสประพันธ์ขึ้นในช่วงที่เอเธนส์เริ่มปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยบทละครของเขาจึงเป็นทั้งจุดเริ่มต้นของบทละครตะวันตกและประตูสู่วัฒนธรรมกรีกโบรา

เอสคีลัสเกิดในแอตติกาซึ่งเป็นภูมิภาคที่ล้อมรอบกรุงเอเธนส์เขาเข้าร่วมกองทัพเอเธนส์และร่วมรบในสงครามมาราธอนเมื่อ490ปีก่อนคริสต์ศักราชและในสงครามเซลามิสเมื่อ480 ปีก่อนคริสต์ศักราชสงครามทั้งสองครั้งที่ประสบชัยชนะเป็นการสู้รบกับจักรวรรดิเปอร์เซียซึ่งช่วยรักษาเอกราชของเอเธนส์เอาไว้และกลายเป็นข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้การประพันธ์บทละครเรื่องThe Persians (472ปีก่อนคริสต์ศักราช)ซึ่งนี่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในบรรดาบทละครที่เหลืออยู่ของเอลคีลัส

บทละครชิ้นนี้ค่อนข้างแปลกในแง่ที่ว่าเอสคีลัสพยายามบอกเล่าเรื่องราวของสงครามจากมุมมองของฝ่ายเปอร์เซียแทนที่จะมองผ่านจุดยืนของกรีกซึ่งเป็นฝ่ายชนะเนื่อเรื่องเกิดขึ้นในซูซาเมืองเหลวงของจักรวรรดิเปอร์เซียโดยนำเสนอความพ่ายแพ้ของฝ่ายเปอร์เซียในลักษณะโศกนาฎกรรมอันเกิดจากความอหังการของกษัตริย์เซอร์ซีส(519-465 ปีก่อนคริสต์ศักราช)เอสคีลัสนำเสนอในลักษณะที่ว่ากษํตริย์เซอร์ยุซีสทำให้พระเจ้าทรงพิโรธด้วยการสร้างสะพานข้างช่องแคบแฮลเลสปอนด์ซึ่งส่งผลให้เขาพ่ายแพ้

The Oresteiaบทละครไตรภาคว่าด้วยกษัตริย์อะกาเมมนอนแห่งอาร์กกอสผู้เป็นตำนานมีอายุเก่าแก่ย้อนไปประมาณ457 ปีก่อนคริสต์ศักราชบทละครไตรภาคนี้ไม่ต่างจากThe Persiansตรงที่เรื่องราวโศกนาฏกรรมทั้งสามซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดอ่อนของตัวเอกได้นำเขาไปสู่หายนะในที่สุดThe Oresteiaยังเป็นที่มาของตัวละครหลายตัวในวรรณกรรมตะวันตกเช่น แคสซานดร้าผู้มีพรสวรรค์ด้านการพยากรณ์แต่ถูกลิขิตมาให้ไม่มีใครเชื่อหรือไม่สนใจบทละครโศกนาฏกรรมของเอสคีลัสวางธรรมเนียมปฏิบัติไว้หลายประการให้กับละครและมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อนักเขียนบทละครชาวกรีกรุ่นหลังอย่างโซโฟเคลส(ราว496-506 ปีก่อนคริสต์ศักราช)และยูริิบิตีส(ราว484-406 ปีก่อนคริสต์ศักราช) 

นอกจากนี้แล้วไม่มีใครได้รู้เกี่ยวกับชีวิตของเขาเลยเขาชนะการประกวดบทละครในกรุงเอเธนส์หลายต่อหลายครั้งและประมาณว่าเขาประพันธ์บทละครทั้งหมดกว่า90 เรื่องแต่ทุกวันนี้หลงเหลืออยู่เพียง7 เรื่องเอสคีลัสเสียชีวิตระหว่างไปเยือนเกาะชิชิลีซึ่งตามตำนานเล่าว่ามีนกตัวหนึ่งปล่อยเต่าลงบนศรีษะจึงทำให้เขาเสียชีวิต

ประวัติเพลง Happy Birthday to you

เพลง "Happy Birthday to you" ซึ่งกินเนสบุกระบุว่าเป็น
เพลงภาษาอังกฤษที่มีการร้องบ่อยที่สุด แต่งทำนองโดย
แพ็ตตี้ ฮิลล์ และ มิลเดร็ด ฮิลล์ พี่น้องชาวอเมริกันจากรัฐเคนทักกี้ 
ในปี พ.ศ. 2436 โดยเริ่มแรก สองพี่น้องซึ่งเป็นครูสอนใน
โรงเรียน Louisville Experimental Kindergarten School
ได้ตั้งใจใช้สำหรับทักทายนักเรียนในชั้นโดยใส่ประโยคว่า
"Good Morning to All" (อรุณสวัสดิ์ทุกคน) 

ขณะที่ แพตตี้ ผู้เป็นน้องสาวนั้นเป็นครูใหญ่ 
มิลเดรดแต่งทำนองเพลงนี้ขึ้น 
โดยแพตตี้ก็แต่งเนื้อร้องให้ จนได้เพลงชื่อ
"Good Morning to All" 

ซึ่งพี่น้อง 2 คนใช้เป็นเพลงทักทายเด็กในชั้นเรียน
เนื้อเพลงตามต้นฉบับดั้งเดิม มีดังนี้

Good morning to you
Good morning to you
Good morning, dear children
Good morning to all

ต่อมา บทเพลงดังกล่าวก็ถูกพิมพ์ลงหนังสือเพลง
"Song Stories For The Kindergarten" จึงเป็นที่รู้จัก
และครูในโรงเรียนอื่นก็ใช้เอาไปร้องทักนักเรียนด้วย
จากนั้นไม่นานก็เป็นที่นิยมสำหรับเด็ก
นักเรียนเอาไปใช้ร้องกับครูแทน และ
ก็เป็นที่รู้จักในชื่อ "Good Morning To You"
เนื่องจากเนื้อเพลงท่อนที่ 3 นั้นถูกเปลี่ยนไป
ตามความเหมาะสม
แต่สำหรับใครเป็นผู้คิดแต่งเนื้อพลงให้กลายเป็น
"Happy Birthday to You"
ยังไม่แน่ชัดว่าใครเป็นคนแต่งขึ้น อย่างไรก็ตาม 
พบว่าเนื้อเพลง
นี้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ในหนังสือเพลงฉบับหนึ่ง 
ในปี 1924 โดยเป็นเนื้อเพลงบทที่ 2 ของเพลง 
"Good Morning to You" 
จากนั้นหนังหลายเรื่องและรายการวิทยุก็นำไปใช้
เป็นเพลงอวยพรวันเกิด 
จาก"Good Morning To You" ก็เลยเปลี่ยนไปเป็น
"Happy Birthday To You" ในที่สุด

         

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

ประวัติของขนมโดนัท



 ขนมแป้งทอดมีรูตรงกลางชื่อเก๋ไก๋ว่าโดนัท มีประวัติความเป็นมายาวนาน นักโบราณคดีเคยขุดพบซากชิ้นส่วนฟอสซิล ที่มีลักษณะคล้ายขนมโดนัทจากกองขยะของชาวพื้นเมืองอเมริกาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเริ่มมีขึ้นครั้งแรกที่เมืองแมนแฮตเตน หรือ นิวอัมสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นเมืองอพยพของชาวดัตช์ที่มาตั้งรกรากในอเมริกา

ปัจจุบันคือเมืองนิวยอร์ก ซิตี้ มีชื่อภายใต้ภาษาดัตช์ว่า "โอลีคูกส์" หรือมาจาก ออยลี เคกส์ นั่นเอง

      ในยุคต้นของการล่าอาณา นิคม ชาวดัตช์-อเมริกัน ที่อพยพมาได้ค้นพบวิธีการนำแป้งเค้กมาทอด โดยมีเรื่องเล่าเม้าธ์กันเลยเถิดว่า บังเอิญมีวัวตัวหนึ่งไปเตะหม้อน้ำมันเดือดๆ หกราดบนแป้งขนมอบที่ผสมแล้ว ทำให้เกิดขนมทอดสีทองชนิดใหม่ขึ้นมา

      ประมาณปี 1847 เอลิซาเบธ เกรกอรี่ มารดาของกัปตันเรือนิวอิงแลนด์ นำส่วนผสมที่หลากหลายจากคาร์โกเรือของลูก เช่น ลูกจันทน์เทศ อบเชย และเปลือกมะนาว มาใส่ลงในแป้งทอด นำไปให้บุตรชายและลูกเรือเป็นเสบียงในการเดินทาง ในตอนนั้นเกรกอรี่นำถั่วฮาเซลนัทหรือวอลนัทมาวางตรงกลางของขนม และเรียกขนมนี้ว่า โดนัท อันเป็นที่มาของชื่อขนมในปัจจุบัน

      ส่วนที่มาของรูบนขนมโดนัท มีเรื่องเล่าปากต่อปากกันมากมาย แต่จุดเริ่มต้นคือ แฮนสัน เกรกอรี่ บุตรชายของเอลิซาเบธ ที่น่าเชื่อถือสุดบอกว่าแฮนสันไม่ชอบขนมโดนัทของแม่ที่อมน้ำมันมากเกินไป ซึ่งตอนนั้นยังมีรูปทรงกลมอยู่ เขาก็เลยใช้ขวดพริกไทยบนเรือ เจาะรูตรงกลางของขนม และได้สอนเทคนิคนี้ให้แม่ อันเป็นที่มาของรูบนขนมโดนัทนั่นเอง เมื่อมีการจัดงานปาร์ตี้แฮนสันก็จะนำขนมโดนัทออกมาเลี้ยงแขก ได้รับคำชื่นชมเป็นอันมาก

      โชคร้ายที่แฮนสันถูกจับเผาทั้งเป็นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแม่มด แต่ทุกวันนี้ยังมีแผ่นหินสลักยกย่อง แฮนสัน เกร กอรี่ ที่เมืองแคลมโคฟ มลรัฐเมน ในฐานะเป็นคนริเริ่มให้ขนมโดนัทมีรู

      เครื่องผลิตโดนัทเครื่องแรกเกิดขึ้นในปี 1920 เมืองนิวยอร์ก ซิตี้ โดยนายอดอล์ฟ เลวิตต์ ผู้ลี้ภัยจากสมัยของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย เครื่องทำขนมโดนัทของเขาทำให้ขนมโดนัทเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว

      ปี 1934 ในงานเวิลด์แฟร์ที่ชิคาโก โดนัทกลายเป็นขนมยอดฮิตในศตวรรษแห่งความก้าวหน้า มีการนำเครื่องทำขนมโดนัทอัตโนมัติมาจัดแสดง

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

ปลาสิงโตปีก

ปลาสิงโตปีก หรือ ปลาสิงโตปีกจุด (อังกฤษRed lionfishชื่อวิทยาศาสตร์Pterois volitans /เท-โร-อิส-โว-ลิ-แทนส์/) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งจำพวกปลาสิงโต ในวงศ์ปลาแมงป่อง (Scorpaenidae)
มีครีบอกแผ่กว้างมีก้านครีบแข็งยื่นยาวออกไป และมีเยื่อยึดระหว่างก้านครีบ ครีบหางโค้งมน พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีดำแต้มบนเยื่อยึดระหว่างก้านครีบอก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งทั้งหมด 13 ก้าน ซึ่งแต่ละก้านสามารถเคลื่อนไหวเป็นอิสระ โดยมีครีบเป็นตัวยึดติดไว้ ในก้านครีบหลังมีบางก้านซึ่งมีเข็มพิษและภายในบรรจุถุงพิษ รวมถึงครีบอื่น ๆ เช่น ครีบก้น, ครีบอก ด้วย หากถูกแทงจะได้รับความเจ็บปวดมาก เมื่อแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อของผู้ที่โดนแทงจะก่อให้เกิดความปวดแสบปวดร้อน เพราะมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เป็นอัมพาต หรืออัมพาตชั่วคราว รวมถึงเป็นแผลพุพองได้ด้วย
ขนาดโตเต็มที่สามารถยาวได้ถึง 47 เซนติเมตร (18.5 นิ้ว) ในขณะที่ยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีความยาวสั้นกว่า 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) มีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10 ปี เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของอินโด-แปซิฟิก แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของน่านน้ำแถบอเมริกาเหนือและแคริบเบียน เช่น มหาสมุทรแอตแลนติก, ฟลอริดา และบาฮามาส แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามีการแพร่ระบาดข้ามคลองปานามาด้วยหรือไม่ เชื่อว่า มาจากการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยพบครั้งแรกเมื่อฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2002 โดยนักดำน้ำผู้หนึ่งที่ฟลอริดา
จากการสำรวจของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ปลาสิงโตปีกแพร่ระบาดแทบทุกแนวปะการัง โดยสามารถพบได้ในที่ ๆ มีความลึกได้ถึง 600-800 ฟุต แต่โดยเฉลี่ยจะพบชุกชุมที่ความลึกไม่เกิน 200-400 ฟุต เป็นต้นเหตุทำให้ปลาขนาดเล็กซึ่งเป็นปลาพื้นถิ่นหลายชนิดหายไป เนื่องจากเป็นปลาที่กินอาหารได้จุมาก และแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว แม่ปลาหนึ่งตัวสามารถผลิตไข่ได้ถึงปีละ 2 ล้านฟอง และมีความสามารถสูงในการสืบพันธุ์ทุก ๆ 3-4 วัน ครั้งละนับแสนฟอง จนต้องมีการกำจัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาแพร่พันธ์มากจนเกินไป และไปทำลายระบบนิเวศ วิธีการกำจัดนั้นมีหลายวิธี รวมถึงการล่ามาเพื่อรับประทานเป็นอาหารของรัฐบาลบาฮามาสด้วย โดยในเริ่มแรกยังไม่มีผู้กล้ารับประทานเนื้อเพราะเกรงว่าจะมีพิษ แต่ความจริงแล้ว สามารถรับประทานได้ เนื้อปลามีความนุ่มอ่อนและมีรสชาติดี แต่กระนั้นก็ยังไม่เพียงพอ
นอกจากนี้แล้ว ปลาสิงโตปีกยังเป็นอาหารที่ชื่นชอบของปลากินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลากะรัง ในขณะที่ปลาขนาดใหญ่บางจำพวก เช่น ปลาฉลาม กลับไม่กินเป็นอาหาร เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในท้องถิ่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาสิงโตปีก