วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วอลแตร์


วอลแตร์ (ฝรั่งเศสVoltaire21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18มีชื่อเดิมว่า ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ในตระกูลคนชั้นกลาง

ประวัติ[แก้]

วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ "ซื้อเอาได้" เขาอยากทำงานที่ "ไม่ต้องซื้อหา"
วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์(William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutusเพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriadeเพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipeนับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล(Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซียซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)
ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส

ผลงานของวอลแตร์[แก้]

ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวีเขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย

อิทธิพลของวอลแตร์[แก้]

ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้น
วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332

วอลแตร์ (ฝรั่งเศสVoltaire21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18มีชื่อเดิมว่า ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ในตระกูลคนชั้นกลาง

ประวัติ[แก้]

วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ "ซื้อเอาได้" เขาอยากทำงานที่ "ไม่ต้องซื้อหา"
วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์(William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutusเพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriadeเพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipeนับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล(Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซียซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)
ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส

ผลงานของวอลแตร์[แก้]

ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวีเขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย

อิทธิพลของวอลแตร์[แก้]

ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากษ์วิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้น
วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์

ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ เป็นหนึ่งใน 13 ที่พักสไตล์ โรงแรม ตั้งอยู่ภายใน กลาเซียร์ฟ็อกซ์ 1928 เป็นครั้งแรก ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ ปรากฎในภูมิทัศน์โรงแรม
สถานที่
ได้รับการจัดอันดับ 6 ที่พักสไตล์ โรงแรม ได้รับความนิยมมากที่สุดใน กลาเซียร์ฟ็อกซ์ ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ มอบที่พักที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ เป็น โรงแรม แสนสบายใน กลาเซียร์ฟ็อกซ์ รีวิวของ ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ โดยผู้ใช้งาน Wego เปิดเผยว่าความเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของโรงแรมรวม 2 ความเห็น ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ มีประเภทห้องพักหลากหลายให้เลือก ที่พัก 3 ดาวแห่งนี้เสนอสิ่งอำนวยความสะดวกทันสมัยและสบายใน กลาเซียร์ฟ็อกซ์
การกำหนดราคา
ห้องพักที่ ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ ช่วงฤดูท่องเที่ยวขณะนี้มีราคาที่ THB 2691 หากคุณพิจารณาการเข้าพักที่ ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ คุณอาจอยากจะพิจารณา Rainforest MotelHeartland Hotel Fox Glacierที่มีการจัดอันดับ 3 ดาวเหมือนกัน และตั้งอยู่ในย่านเดียวกัน
ห้องพักที่มี
ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ เสนอที่พัก กลาเซียร์ฟ็อกซ์ ผสมผสานราคาและคุณภาพที่น่าดึงดูดใจ ห้องพักทุกห้องตกแต่งด้วย เครื่องปรับอากาศ,กาต้มกาแฟ/ชา,โทรทัศน์จอแบน,การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต,มินิบาร์,ฝักบัว หลังการทบทวนฐานข้อมูล พบว่าผู้ใช้ Wego 2 มีความเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับบริการที่ ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์
ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าพัก
ฮาร์ทแลนด์โฮเต็ลฟอกซ์กลาเซียร์ ได้รับการประเมินรวม 5.0 จาก 5 ซึ่งเป็น ยอดเยี่ยม โรงแรมใน กลาเซียร์ฟ็อกซ์
Heartland Hotel Fox Glacier Exterior

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โมเน่

 ชีวิตและผลงาน...ของโมเน่ต์
บทความ:  Claude Monet : The Great Impressionist



Claude Monet เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศส
ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี คศ. 1840-1926
เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มจิตรกรผู้บุกเบิก
การวาดภาพในแนว Impressionism ในยุคต้นๆ
หรือที่เรียกว่า The Beginning of Impressionist Art

การวาดภาพตามแนว Impressionism นั้น จะไม่เน้น
ที่รายละเอียดของภาพ แต่จะเน้นที่อารมณ์ และความ
ประทับใจที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น โดยการให้สีของภาพ
จะเป็นไปตามที่ตาของจิตรกรมองเห็น
เช่น เรารู้ว่าปรกติใบไม้มีสีเขียว แต่ขณะที่ Monet
วาดภาพใบไม้นั้น อาจเป็นตอนพลบค่ำ และมีพายุฝน
ซึ่งตาเขามองเห็นว่าใบไม้ขณะนั้นมีสีดำ เขาก็จะวาดภาพ
ใบไม้ออกมาเป็นสีดำ

วิธีการวาดภาพแนว Impressionist นี้ ถือเป็นการปฏิวัติ
ต่องานจิตกรรมแบบดั้งเดิม ที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12
และถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากสถาบันศิลปะของฝรั่งเศส
และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลงานภาพเขียนของ Monet
ในช่วงแรกๆ ถูกวิจารณ์อย่างสาดเสียเทเสีย และถูกต่อต้าน
ซึ่งส่งผลให้เขาเป็นจิตรกรผู้ยากไร้ ต้องเร่ขายภาพเขียน
ในราคาถูกๆ ไปทั่วปารีสอยู่นานกว่า 20 ปี




001
เรามาดูภาพวาดของ Monet กันเลยนะคะ
ภาพนี้เป็นภาพที่เขาวาดภาพตัวเขาเอง
หรือที่เรียกว่า Self-Portrait







002
ภาพที่ 002-005 เป็นตัวอย่างภาพวาดในยุคต้นๆ ของเขา
ภาพต่อไปนี้จัดได้ว่าเป็นผลงานที่เป็น masterpiece
ชิ้นแรกของ Monet

LUNCHEON ON THE GRASS, 1865


003
THE BEACH AT SAINTE ADDRESSE,
1867






004
GARDEN AT SAINTE ADDRESSE,
1867








005
และชื่อของภาพนี้นี่เอง ที่เหล่านักวิจารณ์ได้นำมาตั้งเป็นชื่อ
แนวการวาดภาพของศิลปินกลุ่ม Impressionist
และเป็นชื่อที่เป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้

IMPRESSION, SUNRISE, 1873








Image hosted by Photobucket.com






ภาพวาดกลุ่มถัดมาของ Claude Monet คือภาพวาดชุด
FAMILY LIFE AT ARGENTUEIL เป็นภาพวาดเกี่ยวกับ
ความสุขในชีวิตครอบครัวของเขา
ระหว่างพำนักอยู่ที่เมือง Argentueil ซึ่งเป็นเมืองที่
มีธรรมชาติอันงดงาม
Monet และครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองนี้ในปี 1872



006
ภาพนี้เป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากภาพหนึ่งของ Monet
ผู้ที่อยู่ในภาพนี้คือ Camille ภรรยาของเขา ซึ่งในภาพนี้
ดูเสมือนว่าเธอกำลังล่องลอยอยู่ในทะเลดอกไม้

POPPIES AT ARGENTUEIL, 1873







007
ในช่วงระยะเวลาสองปีแรกที่ Argenteuil, Monet มีความสุขมาก
เขาอยู่ในบ้านสวย มีสวนงามล้อมรอบ มีภรรยาและลูกชายที่น่ารัก

THE ARTIST'S HOUSE AT ARGENTUIEL,
1873








008
Monet มีความภาคภูมิใจในสวนสวยของเขามาก
เขามักวาดภาพครอบครัวของเขาขณะกำลังรื่นรมย์อยู่ในสวน
ในภาพนี้จะเห็น Jean ลูกชายของเขานั่งเล่นอยู่ที่พื้นดิน
และมองเห็น Camille ภรรยาของเขาอยู่ทางด้านหลังของภาพ

LUNCHEON IN THE GARDEN,
1873








009
ช่วงที่เขาใช้ชีวิตอยู่ที่เมือง Argenteuil
ซึ่งเป็นเมืองที่สวยงาม และมีพื้นที่อยู่ติดชายทะเล
Monet ก็มักจะวาดภาพเรือไว้ในผลงานของเขาเสมอ

THE ROAD BRIDGE AT ARGENTEUIL,
1874








010
REGATTA AT ARGENTEUIL,
1874








011
RED BOATS, ARGENTEUIL,
1875









Image hosted by Photobucket.com





012
จากการที่ Monet ได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปในประเทศต่างๆ
อยู่เสมอ เขาจึงได้นำประสบการณ์ที่ได้พบเห็นจากการเดินทางเหล่านี้
ถ่ายทอดลงในงานของเขาด้วย เริ่มจากภาพทิวทัศน์ใน Bordighera
ในประเทศ Italy

BORDIGHERA, 1884







013
STRADA ROMANA IN BODIGHERA








014
ทุ่งทิวลิป ในประเทศฮอลแลนด์

A FIELD OF TULIPS IN HOLLAND,
1886








015
ที่ Antibes ในประเทศฝรั่งเศส

ANTIBES, SEEN FROM THE SALIS GARDEN,
1888








016
THE ESTEREL MOUNTAINS,
1888








017
ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

THE CHARRING CROSS BRIDGE







018
และที่กรุงเวนิส ประเทศอิตาลี

THE GRAND CANAL, VENICE,
1908









Image hosted by Photobucket.com





019
นอกจากภาพทิวทัศน์แล้ว Monet ยังได้วาดภาพดอกไม้ไว้ด้วย
เช่น ภาพดอกไม้สีม่วงภาพนี้

BOUQUET DE MAUVE, 1880







020
และภาพดอกทานตะวันซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
เป็นที่น่าสังเกตว่ามีจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายท่าน
ได้วาดภาพดอกทานตะวันไว้เช่นกัน
โดยเฉพาะ Vincent Van Gogh

BOUQUET OF SUNFLOWERS, 1881








Image hosted by Photobucket.com





021
ความชื่นชอบในความงามของธรรมชาติ ได้ถูกถ่ายทอดออกมา
ในผลงานของ Monet เช่นกัน
เขามักวาดภาพสมาชิกในครอบครัวขณะเดินเล่นตามท้องทุ่ง
อันงดงาม พร้อมทั้งกางร่มเพื่อบังแดดและสายลมแรง

SUNLIGHT EFFECT UNDER THE POPLARS







022
THE WALK IN THE COUNTRY IN ARGENTEUIL,
1875








023
ภาพนี้ชื่อว่า "Le Promenade" หรือ "The Walk"
เป็นภาพที่ Monet วาดภาพ Camille ภรรยาของเขาซึ่งกำลังกางร่ม
พร้อมทั้ง Jean บุตรชาย ขณะทั้งคู่กำลังเดินเล่นในท้องทุ่งเขียวขจี

LE PROMENADE, 1875







024
และอีก 11 ปีต่อมา Monet ก็วาดภาพสตรีผู้หนึ่งที่กำลังกางร่ม
ขณะยืนอยู่กลางท้องทุ่งอันสวยงามภาพนี้ ซึ่งเป็นภาพที่
มีชื่อเสียงอย่างมากภาพหนึ่งของเขา

STUDY OF A FIGURE OUTDOORS,
1886









Image hosted by Photobucket.com





025
ด้วยเหตุที่ Monet ชื่นชอบความงามของธรรมชาติรอบๆ ตัว
เขาจึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นหัวข้อในการวาดภาพ
ของเขาอยู่เสมอ
โดยเฉพาะช่วงที่เขามาอยู่ที่ Giverny ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ
ที่มีธรรมชาติงดงาม

A FIELD OF YELLOW IRIS AT GIVERNY







026
SUSANNE READING AND BLANCHE PAINTING
BY THE MARSH AT GIVERNY, 1887








027
การตั้งบ้านเรือนพักอาศัย หรือการได้ท่องเที่ยวพักผ่อน
ในตามแม่น้ำ เป็นสิ่งที่ Monet ชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง
เขาได้วาดภาพกิจกรรมและเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
แม่น้ำลำคลอง ไว้มากเช่นกัน

IN THE NORVEGIENNE, 1887







028
THE BANK OF THE RIVER EPTE








029
YOUNG GIRLS IN A ROW BOAT









Image hosted by Photobucket.com





030
ภาพชุดที่มีชื่อเสียงมากๆ อีกชุดหนึ่งของ Monet
ก็คือภาพสระบัว หรือ Lily pond ในสวนอันสวยงาม
ของเขานั่นเอง

มีผู้คนจำนวนมากที่ชื่นชมผลงานของ Monet ได้เดินทาง
ไปที่บ้านของเขาที่ Giverny ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ
ทางตะวันตกฉียงเหนือของกรุงปารีส
เพื่อไปเยืยนสถานที่จริงที่เขาใช้วาดรูปชุดนี้
และชื่นชมผลงานของเขาที่จัดแสดงไว้ที่บ้านหลังนี้

WATER LILIES







031






032
WATER LILIES ... MORNING








033
ภาพดอกบัว และดอก Agapanthus ริมสระบัว

WATERLILIES AND AGAPANTHUS







034
THE AGAPANTHUS








035
และที่จะขาดเสียมิได้ ก็คือภาพชุด The Japanese Bridge
ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้นิยมชมชอบงานศิลปะทั่วโลก

LE BASSIN AUX NYMPHEAS, IRIS







036
และขอปิดท้ายด้วยภาพนี้ ซึ่งเชื่อว่าคงเป็นที่คุ้นตา
ผู้นิยมชมชอบงานของ Monet หลายท่านนะคะ

LE PONT JAPANOIS A GIVERNY