วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์




พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ ประสูติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์และสมเด็จพระราชินีนาซลีแห่งอียิปต์ โดยพระองค์นั้นมีศักดิ์เป็นโหลนของมูฮัมหมัด อาลี ปาชา วาลิแห่งอียิปต์และซูดาน ต้นพระราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ซึ่งมีเชื้อสายแอลเบเนียส่วนโดยส่วนพระเจ้าฟารูกเอง พระองค์มีเชื้อสายอียิปต์ และฝรั่งเศสจากพระราชมารดา โดยก่อนที่พระราชบิดาจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยวูลวิชสหราชอาณาจักร เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา และต่อมาเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 17 พรรษา จึงมีพิธีสวมมงกุฎขึ้น[3]พระราชบิดาของพระองค์ได้เสด็จสวรรคต โดยในพระราชพิธีสวมมงกุฎของพระองค์ พระองค์ได้มีพระราชดำรัสแก่ประชาชนด้วย พระองค์สามารถรับสั่งเป็นภาษาอาหรับภาษาตุรกี ภาษาอิตาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย ภาษาเยอรมันและภาษาสเปน
พระองค์มีวิถีชีวิตที่น่าลุ่มหลงฟุ่มเฟือยฟู่ฟ่า พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในดินแดนที่ยิ่งใหญ่ พระราชวัง 12 แห่ง รถยนต์พระที่นั่งกว่า 100 คัน และพระองค์ยังโปรดเสด็จประพาสดินแดนยุโรปอย่างเกษมสำราญอยู่บ่อยๆ จึงสร้างความไม่พอใจในหมู่ไพร่ฟ้าประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก
เมื่อพระเจ้าฟารูกขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ปลุกใจแก่ประชาชนชาวอียิปต์ได้เนื่องจากพระองค์มีเชื้อสายอียิปต์จากพระมารดา แม้พระราชวงศ์จะมาจากเชื้อสายแอลเบเนีย แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ของพระองค์นั้นถือว่าวิกฤต เนื่องจากพระองค์ยังไม่มีความพร้อมในการปกครอง และเห็นได้ว่าพระองค์ได้มีความเห็นไม่ลงรอยกับผู้อื่นทั้งหมดในขณะขึ้นครองราชบัลลังก์

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ในระหว่างช่วงทุกข์ยากของสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ถูกเพ่งเล็งในเรื่องของการใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย พระองค์ได้พิพากษาคดีที่พระราชวังในเมืองอเล็กซานเดรียของพระองค์ถูกเผา ในขณะที่พลเมืองกำลังอยู่อย่างสิ้นหวัง เนื่องจากอิตาลีและเยอรมันได้ทิ้งระเบิดทำลาย แต่พระเจ้าฟารูกคิดว่าเป็นการกระทำของคนกลุ่มอื่น ในขณะนั้นอังกฤษได้เริ่มกลับมายึดครองดินแดนอียิปต์อีกครั้ง ชาวอียิปต์จำนวนมากพร้อมด้วยพระเจ้าฟารูก ซึ่งได้พยายามโน้มน้าวเยอรมันและอิตาลีให้ทำการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามชาวอังกฤษที่พำนักในอียิปต์ก็วางตัวเป็นกลาง จนกระทั่งสิ้นสุดยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 พระเจ้าฟารูกเป็นผู้ที่มีความเห็นใจเข้าข้างฝ่ายอักษะ ได้กล่าวต้นรับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ผู้นำพรรคนาซี ทั้งที่อยากจะมาบุกรุกอียิปต์ แต่พระเจ้าฟารูกได้เปิดเผยตัวเป็นฝ่ายอักษะภายใต้การกดดันอย่างหนักของอังกฤษเป็นเวลานาน ใน ค.ศ. 1945หลังจากการต่อสู้ในทะเลทรายได้สิ้นสุดลง

การล้มล้างราชบัลลังก์[แก้]

พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์
ในช่วงสงครามปาเลสไตน์ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างยิวและอาหรับ อียิปต์ได้เข้าร่วมสงครามในนามของชาติสันนิบาตอาหรับจึงสร้งความไม่พอใจแก่อังกฤษ ทางอังกฤษจึงได้ให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านพระเจ้าฟารูกในการล้มล้างพระราชบัลลังก์ ในช่วงนี้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงในเหล่าข้าราชการ บางพวกใช้อำนาจหน้าที่ของตนสร้างความร่ำรวยแก่ตนเอง ขณะที่เหล่าราษฎรอยู่อย่างยากลำบาก แต่ราชสำนักและเหล่าข้าราชการกลับใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย
พระเจ้าฟารูกได้รับการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเรื่องของการปกครองที่ไม่ได้ผล ประกอบกับการเข้ามาปกครองอีกครั้งของอังกฤษ รวมไปถึงการเสียดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่อิสราเอลถึงร้อยละ 78 ในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948ทำให้เหล่าพสกนิกรต่างไม่พอใจในการปกครองของพระเจ้าฟารูก ท้ายที่สุดในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 กลุ่มขวนการ Free Officers Movement ภายใต้การนำของมูฮัมเหม็ด นาจีบ และกาเมล อับเดล นัสซอร์ ได้กระทำการรัฐประหารใน ค.ศ. 1952โดยบังคับให้พระองค์สละราชสมบัติ และเสด็จลี้ภัยไปยังประเทศโมนาโก และประเทศอิตาลีทันทีทันใดหลังจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าฟารูก ก็ได้มีการยกเจ้าชายอาเหม็ด ฟูอัด พระราชโอรสของพระเจ้าฟารูกที่ยังเป็นทารกอยู่เสด็จขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ แต่เมื่อครองราชย์ได้ 324 วัน ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ จึงเป็นอันสิ้นสุดการปกครองภายใต้ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี

ชีวิตหลังการสละราชสมบัติและการสวรรคต[แก้]

หลังจากเสด็จลี้ภัยจากประเทศอียิปต์แล้ว พระองค์ได้เข้าไปพำนักในประเทศโมนาโกโดยพระองค์ได้ถูกถอดสัญชาติอียิปต์โดยสหพันธ์สาธารณรัฐอาหรับ[4]แต่ภายหลังพระองค์ได้รับพระราชทานสัญชาติโมนาโกจากเจ้าชายเรนิเยที่ 3 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก ซึ่งเป็นพระสหาย[5]และภายหลังได้เข้ามาพำนักในกรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยพระองค์ได้รับเป็นพลเมืองของโมนาโก พระองค์มีปัญหาเกี่ยวกับการเสวยอาหาร จนทำให้มีพระวรกายใหญ่ และมีพระน้ำหนักเกือบ 300 ปอนด์ (136 กิโลกรัม) ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จสวรรคตในภัตตาคารอาหารฝรั่งเศสแห่งหนึ่งในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965ขณะที่พระองค์กำลังเสวยพระกระยาหารมื้อใหญ่[6] โดยที่พระองค์ได้ทรุดพระองค์ และสวรรคต แม้ว่าหน่วยข่าวกรองบางส่วนของอียิปต์คิดว่าเป็นการวางยาพิษลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากไม่มีการตรวจชันสูตรพระศพ รวมไปถึงมื้อกระยาหารเหล่านั้นด้วย[7] โดยงานพระศพของพระองค์นั้นตามเดิมต้องจัดที่มัสยิดอัลริฟะอี (Al-Rifa'i Mosque) กรุงไคโร ประเทศอียิปต์แต่การขอร้องถูกปฏิเสธโดยทางการอียิปต์ ซึ่งนำโดยนายกาเมล อับเดล นัสซอร์ พระศพของพระเจ้าฟารูกจึงถูกฝังในประเทศอิตาลีเอง เจ้าชายไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย (พระยศในขณะนั้น) จึงได้โปรดให้ทำการฝังพระเจ้าฟารูกในประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อประธานาธิบดีนัสซอร์เห็นเช่นนั้น จึงได้ให้นำพระศพมาฝังยังประเทศอียิปต์ ณ มัสยิดอัลริฟะอี

อภิเษกสมรส[แก้]

พระเจ้าฟารูกที่ 1, พระราชินีฟารีดา และเจ้าหญิงฟาริยัล ในปี ค.ศ. 1940
พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ โดยครั้งแรกพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับ บาร์บารา สเกลตัน นักเขียนชาวอังกฤษ ท่ามกลางเสียงคัดค้าน ทั้งสองจึงไม่ได้แต่งงานกัน พระเจ้าฟารูกจึงได้ทำการอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง ดังต่อไปนี้

ผู้ที่อ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระเจ้าฟารูก[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[2][แก้]

พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น