วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ พุทธทาสภิกขุ


ประวัติ พุทธทาสภิกขุ


๑. กำเนิดแห่งชีวิต
ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา
ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคนเป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไปแต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา 

ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้น เรื่องความประหยัด เรื่องละเอียดละออในการ
ใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขาย แทนบิดาซึ่งเสียชีวิต

ภาพที่แนบมา
ครั้น อายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของชายไทย ที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศนแสดงธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคยถามท่าน ขณะที่ เป็นพระเงื่อม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านตอบว่า "ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด" "..แต่ถ้ายี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้องสึกออกไป อยู่บ้านค้าขาย"
ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่านควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมี
ชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้นเกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด
นาย ยี่เก้ย ต่อมาก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทาน ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของสวนโมกขพลาราม

๒. อุดมคติแห่งชีวิต

ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา

พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ ๓ ประโยคระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออกไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะ ที่ยึดถือรูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนในพระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของพุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอนที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ

จากบันทึกของท่าน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เขียนไว้ว่า
"...ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมาย ต่อความสุขนี้ และประกาศเผยแพร่ความสุขนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ในบรรดามีอยู่ใน พุทธศาสนา..."


๓. ปณิธานแห่งชีวิต

ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา ภาพที่แนบมา

อุดมคติ ที่หยั่งรากลึกลงแล้วนี้ ทำให้ท่านสนใจใฝ่หาความรู้ทางธรรมะตลอดเวลา ไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน แต่ครอบคลุมไปถึงพระพุทธศาสนา แบบมหายาน และศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ เป็นต้น จากความรอบรู้ที่กว้างขวาง และลึกซึ้ง นี้เอง ทำให้ท่านสามารถประยุกต์ วิธีการสอน และปฏิบัติธรรมะได้อย่างหลากหลาย ให้คนได้เลือกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับพื้นความรู้และอุปนิสัยของตนได้ โดยไม่จำกัดชนชั้นเชื้อชาติ และศาสนา เพราะท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนก็คือ เพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการ ให้คน พ้นจากความทุกข์

ท่านจึง ได้ตั้ง ปณิธานในชีวิตไว้ ๓ ข้อ คือ
๑. ให้พุทธศาสนิกชน หรือ ศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตามเข้าถึง ความหมายอันลึกซึ้ง ที่สุดแห่งศาสนาของตน
๒. ทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา
๓. ดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกมาเสียจากวัตถุนิยม

แม้ในความพยายามที่จะทำตามปณิธานนี้ จะทำให้บางคนไม่เข้าใจท่าน ไม่ชอบท่าน ด่าว่าท่าน หาว่าท่านจ้วงจาบ พระพุทธศาสนา เป็นเดียรถีย์ เป็นคอมมิวนิสต์ หรือ รับจ้างคนคริสต์ มาทำลายล้างพระพุทธศาสนาก็ตาม แต่ท่านกลับรับฟัง คำวิจารณ์เหล่านี้ด้วยใจเป็นกลาง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทางความคิด ในเรื่อง เนื้อหา และหลักการ มากกว่า ที่จะก่อความขัดแย้งส่วนตัว เพราะท่านมีหลัก ในการทำงานว่า " พุทธบุตร ทุกคน ไม่มีกังวล ในการรักษาชื่อเสียง มีกังวล แต่การทำความบริสุทธิ์เท่านั้น เมื่อได้ทำความบริสุทธิ์ มองเห็นชัดเจนใจ อยู่แล้วว่า นี่มันบริสุทธิ์เป็นธรรมแท้ ใครจะชอบ หรือ ไม่ชอบก็ตาม เราต้องทำ ด้วยความพยายามอย่างสุดชีวิต จะมีชื่อเสียง หรือไม่นั้น อย่านึกถึงเลย เป็นอันขาด จะกลายเป็นเศร้าหมอง และ หลอกลวง ไปไม่มาก ก็น้อย" 

ในที่สุด ท่านก็ได้รับการยอมรับ จากวงการ คณะสงฆ์ไทย วงการศึกษาของไทยและวงการศึกษาธรรมะของโลก
ได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคหลัง กึ่งพุทธกาล เยี่ยงพระมหากัสสป ในครั้งพุทธกาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น