ประเทศอินเดีย ท่องเที่ยวอินเดีย แสวงบุญอินเดีย, พระพิฆเนศ องค์พระพิฆเณศ, พราหมณ์ ประเพณีวัฒนธรรมของพราหมณ์ พราหม์ พราห์ม ประเพณีโบราณ ประเพณีไทย, วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ เทวสถาน เทวาลัยพระพิฆเนศ ศาลพระพิฆเนศ ศาลพระพรหม, ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดูการบูชาพระพิฆเนศ, ขอพร,คเณศจตุรถี, คเนศจตุรถี, งานคเณศจตุรถี, งานคเนศจตุรถี, งานแห่พระพิฆเนศ, พระพิฆเณศ, วัดแขก, วิธีบูชา, องค์เทพ,อินเดีย, เคณศจตุรถี, เคนศจตุรถี
พระคเณศ (Ganesh) เทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งปวง ชาวฮินดูเชื่อกันว่าพระองค์จะช่วยบันดาลให้ความปรารถนาใดๆ สัมฤทธิ์ผลสมดังประสงค์ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มกิจการงานสำคัญต่างๆ จึงต้องมีการสวดอ้อนวอนขอพรจากพระคเณศก่อนเสมอ
โดยเฉพาะที่เมืองปูเณ่ พระคเณศได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลาย และในทุกๆ ปีจะจัดให้มีเทศกาลบูชาพระองค์ขึ้น ที่เรียกว่า คเณศจตุรถี (Ganesh Chaturthi) หรือเทศกาลกันปาตี (Ganpati Festival) ตามที่นิยมเรียกกันในเมืองปูเณ่
เทศกาลคเณศจตุรถีนี้ยังเป็นที่นิยมเฉลิมฉลองกันทั่วไปในรัฐมหาราษฎระ (Maharashtra) รัฐทมิฬนาดู (Tamil Nadu) รัฐคาร์นาตะกา (Karnataka) รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) และที่ต่างๆ ในอินเดีย
โดยผู้ที่ริเริ่มจัดเทศกาลนี้ขึ้นก็คือ ฉัตรปาตี ชีวจี มหาราช (Chatrapati Shivaji Maharaja) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรมาราธะ (Maratha) เพื่อส่งเสริมทางด้านวัฒนธรรมและความเป็นชาตินิยมในอินเดียสมัยนั้น
และเทศกาลนี้ก็ได้รับการฟื้นฟูต่อมาโดย โลกมันยา ติลัก (Lokmanya Tilak) นักสู้เพื่อเสรีภาพของอินเดีย เพื่อส่งข่าวสารเสรีภาพและท้าทายอำนาจจักรวรรดิอังกฤษในยุคนั้น เทศกาลนี้ทำให้คนอินเดียรู้สึกถึงความเป็นเอกภาพ ความรักชาติ และความศรัทธา
โดยในงานนี้ชาวฮินดูจะสร้างซุ้มหลากหลายขนาดตามขนาดของชุมชนและความเลื่อมใสตามหัวมุมถนน เพื่อประดิษฐานเทวรูปพระคเณศขนาดใหญ่ ที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรจนถึง 30 เมตรเลยทีเดียว รวมทั้งในบ้านเรือนด้วยแต่จะใช้รูปขนาดเล็กลง
มีการตกแต่งประดับประดาซุ้มเหล่านั้นด้วยแสงไฟ กระจก และดอกไม้นานา และมีพิธีบูชาเทวรูปพระคเณศในแต่ละวัน ตลอดระยะเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง เมื่อถึงวันสุดท้าย ผู้ศรัทธาจะนำรูปบูชาของพระคเณศมาแห่แหน แล้วนำไปยังแม่น้ำลำธารหรือทะเล ตลอดทางที่ขบวนผ่านจะมีการร้องเพลง เต้นรำ และเล่นสีกัน เมื่อไปถึงริมฝั่งแม่น้ำหรือทะเลแล้วก็จะทำการบูชา ก่อนจะนำรูปพระคเณศไปจมลงในน้ำเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีกรรม ซึ่งเทศกาลนี้จะดำเนินไปเป็นเวลา 5 วัน 7 วัน หรือ 10 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น