วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมโภชนักบุญเปโตร และเปาโล อัครธรรมทูต



สมโภชนักบุญเปโตร และเปาโล  อัครธรรมทูต 

การสมโภชในวันนี้เป็นการเฉลิมฉลองที่เก่าแก่ที่สุดวันหนึ่ง และที่จริงเป็นการฉลองที่มีมาก่อนการฉลองพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดเสียอีก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 แล้วที่ในวันฉลองนี้มีการถวายบูชามิสซา 3 มิสซาด้วยกันคือ ที่พระวิหารนักบุญเปโตรในรัฐวาติกันมิสซาหนึ่ง ที่พระวิหารนักบุญเปาโล นอกกำแพงเมืองอีกมิสซาหนึ่ง และมิสซาที่สามที่คาตากอมบ์นักบุญ เซบาสเตียน ซึ่งเชื่อว่าศพของท่านนักบุญอัครธรรมทูตผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านคงจะถูกซ่อนไว้ ณ ที่นี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง
นักบุญ เปโตร ซีมอนเป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา  (ลก. 5:3 ;ยน.1:44 ) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม ( มก. 1: 21.29 ) นักบุญ อันเดร น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซูเจ้า ( ยน. 1:42 )    และอาจเป็นนักบุญ ยอห์น แบปติสต์  ที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับองค์พระเยซูเจ้า
พระเยซูเจ้าได้ทรงเปลี่ยนชื่อท่านและทรงเรียกท่านด้วยชื่อใหม่ว่า “เปโตร” ( มธ. 16: 17-19 ; ยน. 21: 15-17 ) เพื่อทำหน้าที่เป็นศิลาพื้นฐานในตัวบุคคลของท่านเอง
นักบุญ เปโตร เป็นพยานบุคคลแรกๆผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ ( ยน. 20:6 ) และได้รับการประจักษ์มาข ององค์พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ( ลก. 23:34 )
หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว  ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน ( กจ. 1: 15 ; 15:7 ) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) ( กจ. 2:14-41 ) และท่านเองเป็นคนแรกที่ได้แลเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดพระศาสนจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ ( กจ.10-11 ) ภ ารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่างๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ ( มธ.10: 41 ; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31 ) นักบุญเปาโล เองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองอันติโอก ( กจ.15; กท. 2:11-14 ) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว  ในเรื่องนี้รู้สึกว่านักบุญ เปโตร  ยังตัดสินใ จช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว ( กจ. 6: 1-2 ) ต่อเมื่อนักบุญ เปโตร ได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครธรรมทูตของทุกๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น “ศิลาหัวมุม” ของพระศาสนจักรของพระเยซูเจ้าโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์
นักบุญ เปาโล นักบุญเปาโลหลังจากที่ได้กลับใจในระหว่างทางที่มุ่งไปสู่กรุงดามัสกัสแล้ว ก็ได้เดินทางในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นจำนวน3 ครั้งด้วยกันที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญ การเดินทางครั้งแรกของท่านนั้นมีนักบุญ บาร์นาบัส ร่วมเดินทางไปด้วย ( กจ 13-14 ) โดยออกเดินทางจากเมืองอันติโอก หยุดพักที่เกาะไซปรัสแล้วก็เดินทางผ่านประเทศตุรกีในปัจจุบันนี้
หลังจากการประชุมของบรรดาอัครธรรมทูตที่กรุงเยรูซาเลมแล้ว  ท่านก็ได้เริ่มการเดินทางครั้งที่ 2 ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้รับการขอร้องจากบรรดาอัครธรรมทูตทั้ง 12 อย่างเป็นทางการ ( กจ.15:36-18 : 22 ) ท่านได้เดินทางผ่านดินแดนตุรกี  ได้ประกาศพระวรสารในแคว้นฟรีเจียและกาลาเทียซึ่งท่านได้ล้มเจ็บลง ( กท. 4:13 ) จากนั้นก็ได้เดินทางเข้าสู่ยุโรปพร้อมกับนักบุญ ลูกา และได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้น ที่แคว้นฟิลิปปี (ประเทศกรีก) ที่แคว้นนี้ท่านได้ถูกจับขังคุกเป็นระยะหนึ่งแต่หลังจากนั้นเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้วก็เริ่มประกาศพระวรสารใหม่อีกที่กรุงเอเธนส์(ประเทศกรีก)ภารกิจของท่านต้องหยุดชะงักลงต่อหน้าบรรดานักปรัชญาชาวกรีก แต่ที่เมืองโครินธ์ ท่านได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นซึ่งภายหลังได้ทำให้ท่านต้องหนักใจมากกว่าที่อื่นๆ จากนั้นก็กลับเข้าสู่เมืองอันติโอก

สำหรับการเดินทางครั้งที่3นั้น(กจ1823-2117 )  ท่านได้เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนต่างๆ ที่ท่านได้ตั้งขึ้น(ประเทศตุรก ี) เป็นต้นกลุ่มคริสตชนที่เมืองเอเฟซัส จากนั้นก็มุ่งสู่ประเทศกรีก ไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่เมืองโครินธ์แล้วข้ามไปเมืองมิเลตุส พลางได้แจ้งให้บรรดาสมณทั้งหลายได้ทราบถึงการทดลองต่างๆ ที่ท่านกำลังจะได้รับและก็เป็นเช่นนั้นจริงคือ หลังจากที่ท่านได้กลับมาที่กรุงเยรูซาเลมได้ไม่นาน ท่านก็ถูกพวกชาวยิวจับและถูกขังคุก ( กจ 21 ) แต่เนื่องจากว่าท่านถือสิทธิ์เป็นพลเมืองโรมัน จึงได้อุทธรณ์ไปที่กรุงโรม
และดังนี้ก็เป็นการเริ่มต้นการเดินทางต่อมาของท่านแต่ว่าไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เพราะไม่มีอิสรภาพในการเดินทางถูกจับกุมตัว (กจ. 21-26 ) ท่านได้ไปถึงกรุงโรมในราวปี 60หรือ61และได้ถูกขังอยู่ในคุกจนถึงปี63แม้ว่าอยู่ในคุก ท่านได้รับความสะดวกสบายหลายประการ และสามารถติดต่อกับบรรดาคริสตชนที่กรุงโรมได้ ท่านได้เขียนจดหมายจากคุกและ ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้เป็นอิสระ
*อาจจะเป็นไปได้ที่ในช่วงนี้ท่านได้เดินทางเป็นครั้งสุดท้ายไปประเทศสเปน ( รม.15: 24-28  หรืออาจจะเดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนที่ ทิโมธีและติตัสปกครองอยู่นักบุญเปาโลเองได้เขียนจดหมายถึงท่านทั้งสองนี้โดยบอกเป็นนัยๆ ว่าวาระสุดท้ายของท่านกำลังใกล้เข้ามาแล้วและท่านได้ถูกจับขังคุกอีกครั้ง
นักบุญ เปาโล ได้เป็นมรณสักขีประมาณปี 67 ด้วยการถูกตัดศีรษะ
นักบุญเปโตและนักบุญเปาโล เป็นชื่อสองชื่อที่ผูกพันอยู่กับพระศาสนจักรตลอดมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ในธรรมประเพณีที่ท่านทั้งสองได้มอบให้แก่เราคริสตชนทุกๆ คน
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น