วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

กิลส์ เดอ เรยส์


 เรื่องราวของ บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ซึ่งเป็นต้นแบบฆาตกร"เคราน้ำเงิน"ที่หมายถึงฆาตกรที่สังหารเมียหลายๆ คน นั้น มีการกล่าวในแง่ประวัติศาสตร์ว่าเรื่องของเขาถูกแต่งเติมให้เกินจริงทั้งโดยคำบอกเล่าในภายหลัง และเจตนาร้ายของผู้หวังในทรัพย์สมบัติของเขา  ที่แน่ๆ เรื่องของชายผู้นี้คงจะถูกบอกเล่าต่อๆกันไปในฐานะตำนานอีกนานแสนนานทีเดียว
  ปี 1404 กิลส์ เดอ เรยส์ เกิดที่ปราสาทชานโตเซ่ใกล้เมืองนันท์ของแคว้นบริตตัญญีในฐานะทายาทผู้สืบทอดเพียงคนเดียวของตระกูล กี เดอ ราวาลผู้เป็นพ่อ เป็นเจ้าบ้านของตระกูลเรยส์ ผู้เป็นเจ้าของปราสาทใหญ่โตหลายแห่ง  และแมรี่ เดอ คราออนซึ่งเป็นมารดาก็มาจากตระกูลขุนนางที่เก่าแก่ที่สุดตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ทั้งสองต่างก็มีอาณาเขตในกรรมสิทธิ์ของตนเป็นบริเวณกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่มากมาย และมีรายได้จากการเก็บภาษีอากรราษฏรในแคว้น ซึ่งเมื่อกิลส์สืบทอดมรดก ตระกูลเรยส์ก็จะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในฝรั่งเศสอย่างไม่ต้องสงสัย
 ตระกูลเรยส์จึงเป็นที่อิจฉาของเหล่าขุนนางในราชสำนักอย่างไม่ต้องสงสัย.....................
 ด้วยความร่ำรวย ทำให้ บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ใช้ชีวิตเป็นหนุ่มเจ้าสำราญผู้มั่งคั่ง จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือยแทบทุกวัน งานเลี้ยงแต่ละครั้งในปราสาทของบารอน กิลล์ เดอ แรส์ เสิร์ฟ ด้วยอาหารรสเลิศราคาแพง เครื่องดื่มระดับสุดยอด และงานเลียงจะไม่เลิศลาจนกว่าบรรดาแขกรับเชิญจะกระเดือกไม่เข้าหรือเมาฟุปไปก่อน
 ปี 1415 กีเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน และแมรี่ก็ตายตามสามีไปในเวลาไม่นานนัก ตาเป็นผู้รับบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไปเลี้ยงดูแม้ว่าจะเป็นการขัดต่อพินัยกรรม ฌอง เดอ คราออนซึ่งเป็นตานี้ ใช่ว่าจะเป็นคนไม่ดี เพียงแต่ว่ามีรสนิยมรักร่วมเพศเท่านั้นเอง และคงเพราะอิทธิพลจากตา กิลส์ก็เลยมีรสนิยมเดียวกันนี้ด้วย
 เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาก็ถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับแคทเธอรีน เดอ ทวาลซึ่งเป็นบุตรสาวของผู้ครองแคว้นข้างเคียงเนื่องจากตาของเขาต้องการขยายพื้นที่ในครอบครองออกไปอีก บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไม่ได้สนใจเจ้าสาวของเขานัก เวลาส่วนใหญ่มักจะหมดไปกับการสนุกสนานกับบรรดาเด็กหนุ่มที่เป็นคนสนิทของเขามากกว่า
 หากในไม่ช้า การได้พบกับเด็กสาวผู้หนึ่งก็เปลี่ยนชีวิตของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ไปโดยสิ้นเชิง แจนน์ ดาร์ค (โจน ออฟ อาร์ค) วีรสตรีซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของฝรั่งเศสนั่นเอง

 ปี 1429 พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 (ในขณะนั้นทรงใช้พระนามว่า เจ้าฟ้าชายชาร์ลส) ทรงโปรดให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เข้าเฝ้าและแนะนำให้เขาได้รู้จักกับแจนน์ ดาร์คซึ่งภายหลังถูกขนานนามว่าเป็นหญิงศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์ลีนส์
 บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ประทับใจในในตัวแจนน์และประกอบกับว่าเขาเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าอยู่แล้ว เขาจึงได้สาบานตนเป็นอัศวินของแจนน์ และกลายมาเป็นมือขวาคู่ใจของเธอนับแต่นั้น
 และในขณะนั้นตัวของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ มีอายุแค่ 24 ปี
 ทั้งสองสร้างผลงานไว้มากมายในสงครามร้อยปี ด้วยความดีความชอบที่กิลส์ นำทหารสู้กับข้าศึกที่เป็นอังกฤษและได้ชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นแม่ทัพหรือจอมพลตั้งแต่ยังหนุ่มและได้รับพระบรมราชานุญาติให้ประดับดอกลิซ (ตราดอกลิลลี่ของราชวงศ์ฝรั่งเศส) ลงบนตราประจำตระกูลของเขาด้วย นับเป็นเกียตริสูงสุดเท่าที่เขาจะมีได้ในฐานะขุนนางทีเดียว
 แต่แล้ว ในปี 1430 แจนน์ ดาร์คก็ถูกทหารฝ่ายศัตรูจับ และถูกเผาทั้งเป็นในฐานะแม่มดเมื่อปี 1431 (ปี 1456 พระสันตปาปาจึงยกให้คำตัดสินลงโทษแจนน์ ดาร์คเป็นโมฆะ เธอถูกยกขึ้นเป็นนักบุญในปี 1920....เกือบ 500 ปีหลังจากการสำเร็จโทษที่รูน)
 ข่าวเรื่อง แจนน์ ดาร์ค ถูกประหาร นำความโศกเศร้ามาสู่บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เป็นอย่างมาก และหวนกลับไปสู่ชีวิตแหลกเหลวก่อนจะพบกับเธออีกครั้ง
 ด้วยความโศกเศร้าบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ก็ไม่สนใจสู้รบอีกต่อไป กิลส์โกรธแค้นพระเจ้าที่หักหลังแจนน์และแย่งเธอไปจากเขา เขาเริ่มฝักใฝ่ในมนต์ดำและการเล่นแร่แปรธาตุ ในไม่ช้า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ก็ทำการรวบรวมเด็กชายจากที่ต่างๆมาเพื่อเป็นเครื่องสังเวยให้กับปีศาจ (ว่ากันว่าผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่ให้ให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ บ้าเรื่องมนต์ดำนี้คือ หมอเวทมนต์ชาวอิตาเลี่ยน ชื่อ ฟรังเซสโก ปรีลาตี)
 เนื่องจากในเวลานั้นยังมีสงครามกันอย่างต่อเนื่อง ตามเมืองต่างๆจึงมีเด็กกำพร้าเร่ร่อนอยู่มากมาย หญิงชราและชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นลูกน้องของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ พาเด็กเหล่านี้มายังปราสาท และตัดคอพวกเขาเพื่อสังเวยเลือดแก่พิธี ไม่นานนัก การสังเวยก็ค่อยเพิ่มความโหดร้ายทารุณขึ้น เด็กบางคนถูกตัดแขนตัดขาเป็นชิ้นๆ บางคนถูกฟาดหัวด้วยท่อนไม้ตอกตะปู บางคนถูกเฉือนเนื้อออกทีละน้อยเพื่อให้กรีดร้องอยู่ให้นานที่สุดก่อนจะหมดลมไป
 เด็กบางคนถูกผ่าท้องแล้วทึ้งไส้ออกมา บ่อยครั้งที่บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ข่มขืนศพของเด็กที่เสียชีวิตแล้ว เขาสะสมศีรษะของเด็กหนุ่มจำนวนมาก และศีรษะที่หน้าตาดีจะถูกเรียงไว้เหนือเตาผิงเหมือนเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ มีการพบศพของเด็กจำนวนกว่า 150 ศพ (ส่วนใหญ่ไม่มีศีรษะ) ในปราสาท แต่พูดกันว่าเหยื่อของเขาน่าจะมีมากกว่า 1500 ราย
หอคอยที่ใช้ฆ่าเด็ก
 งานเลี้ยงอันหรูหราและมนต์ดำทำให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ผลาญทรัพย์สมบัติอันมหาศาลของเขาหมดไปในไม่ช้า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ จึงต้องขายปราสาทในกรรมสิทธิ์ของตนไป และการขายปราสาทนี่เองที่ทำให้เขามีปัญหากับโบสถ์ ทำให้บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ซึ่งเลือดขึ้นหน้าได้นำทหารบุกไปยังโบสถ์และจับกุมนักบวชหลายคนมาจองจำในปราสาทของตน
 ทางด้านฝ่ายโบสถ์ซึ่งสงสัยบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ เกี่ยวกับคดีเด็กหายสาปสูญอยู่แล้ว (แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะนอกจากกิลส์จะเป็นขุนนางแล้ว ยังเป็น"วีรบุรุษกู้ชาติ"อีกด้วย) จึงได้อาศัยโอกาสนี้เองนำคนเข้าตรวจปราสาทของบารอน กิลส์ เดอ เรยส์ และจับกุมเขาและพวกไว้ได้ในที่สุด
 เชื่อกันว่าการสอบสวนในครั้งนั้น มีการทารุณกรรมเพื่อทรมานให้ผู้จับกุมยอมรับสารภาพและถูกซัดทอดผู้ต้องหาด้วย แม้กระทั้งตัวบารอนกิล์เองก็ไม่พ้นทัณฑ์ทรมานอย่างสาหัสเพื่อให้รับสารภาพแน่นอน
 12 ตุลาคม ค.ศ. 1440 มีการประกาสอย่างเป็นทางการว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ยอมรับสารภาพว่าเขาคือผู้สังหารเด็กนับร้อยคนนั้น โดยมีคำยืนยันของจอมพลดังต่อไปนี้
 ?ข้าพเจ้าขอย้ำว่าที่ฆ่าพวกเด็กๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับอำนาจและความร่ำรวยของข้าพเจ้า เจตนาที่ได้กระทำลงไปมีเพียงเท่านี้?(แต่ชาวฝรั่งเศสหลายคนเชื่อว่า บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ยอมรับสารภาพเพราะทนการทรมานไม่ไหวมากกว่า)
 นอกจากนี้ยังมีการพิพากษ์วิจารณ์อีกว่าทำไม บารอน กิลส์ เดอ เรยส์ ถึงโดนกล่าวหาอย่างรุงแรงแบบนี้ อาจเป็นเพราะฝีมือของดยุคจอห์นแห่งแคว้นบริตตัญญีที่เป็นผู้กล่าวหาตัวบารอนกิลส์ เพราะถ้าเกิดเขาได้ปราสาทและทรัพย์สมบัติมูลค่ามหาศาลจะตกเป็นของเขาในทันที

 13 กันยายน 1440 พระสังฆราชซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาติจากพระเจ้าชาร์ลสฟ้องกิลส์ในข้อหาประกอบพฤติกรรมนอกรีต สังหารเด็ก ทำสัญญาปีศาจ และกระทำตนขัดต่อหลักธรรมชาติ ซึ่งไม่ว่าข้อหาใดต่างก็เพียงพอที่จะทำให้เขาโดนประหารทั้งสิ้น (มีการกล่าวว่า พระเจ้าชาร์ลสและโบสถ์ได้ร่วมมือกัน เนื่องจากพระเจ้าชาร์ลสต้องการดินแดนในครอบครองของตระกูลเรยส์)
 การพิพากษาถูกจัดขึ้นที่ปราสาทนันท์และกินเวลากว่า 1 เดือน กิลส์ซึ่งในครั้งแรกมีท่าทีแข็งขืนถึงกับหลั่งน้ำตาสำนึกผิดในภายหลัง เขาถูกตัดสินให้ประหารโดยการแขวนคอในวันที่ 26 ตุลาคม 1440 (ในครั้งแรก จะมีการตัดสินโทษเผาทั้งเป็น แต่เนื่องจากการเผาทั้งเป็นถือเป็นการลบหลู่เกียรติมากในสมัยนั้น และด้วยว่ากิลส์มีความชอบ เขาจึงรอดโทษเผาทั้งเป็นไป)
 ปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. 1440 กิลล์ เดอ เรยส์ เดินไปที่ตะแลงแกงที่ใช้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่ถูกสร้างขึ้น ผู้คนมาชมจนล้นหลามจนต้องมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแย่งชิงตัวนักโทษประหาของพวกที่จงรักภักดีต่อตัวบารอนกิลส์อยู่
 เมื่อถึงเวลาประหารชีวิต บารอน กิลล์ เดอ เรยส์ ถูกนำตัวขึ้นตะแลงแกง จอมพลหนุ่มเดินเข้าหาความตายของตนอย่างองอาจ ไม่มีความพรั่นพรึงแม้แต่น้อย ถุงผ้าคลุมศีรษะถูกนำมาสวมแล้วเพชฌฆาตนำเชือกบ่วงคล้องคอมาสวม จากนั้นก็เปิดพื้นใต้ฝ่าเท้านักโทษ ร่างของบารอน กิลล์ เดอ แรส์ หล่นลงไปในช่อง เป็นอันจบชีวิตจอมพลผู้ยิ่งใหญ่เพียงเท่านี้
 ว่ากันว่าชาวแคว้นบริตตัญญีพากันร่ำให้ด้วยความโศกเศร้าอาลัยแก่ตัวบารอน กิลด์ เดอ เรยส์ แต่หมดหนทางที่จะเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่เขาได้ เพราะคำรับสารภาพของเขาคือการปิดประตูพิสูจน์ใดๆ ทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น