การเพาะพันธุ์ ได้มีการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวในบ่อครั้งแรกในประเทศไทยที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด) จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนปี 2503 ต่อมาได้พัฒนาจนถึงขั้นเพาะพันธุ์ออกจำหน่ายได้ที่สถานีประมงจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาการเพาะพันธุ์แบบช่วยธรรมชาติ โดยการฉีดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง และถึงขั้นการผสมเทียมตามลำดับ จนกระทั่งแพร่หลายไปทั่วทุกสถานีประมงและฟาร์มเอกชนทั่วไป การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวนั้นอาจแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ คือ
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาตะเพียนขาว เพื่อใช้ในการเพาะพันธุ์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการได้พ่อแม่พันธุ์ที่ดีนั้นย่อมมีผลกระทบกระเทือนที่จะได้ปริมาณลูกปลาที่รอดตายสูง โตเร็ว และแม้กระทั่งลดค่าใช่จ่ายในการเลี้ยงลงได้ด้วยในการเลี้ยงปลาเพื่อให้ได้พ่อแม่พันธุ์ที่ดีนั้น มีปัจจัยสำคัญที่ควรกล่าวถึง คือ
1. บ่อ แม้จะยังไม่มีการทดลองว่าบ่อขนาดเท่าใดจะพอเหมาะในการเลี้ยงปลาตะเพียนขาว แต่ก็มีแนวทางที่จะพิจารณาว่าบ่อขนาดเท่าใด จำนวนเท่าใดจะเหมาะสม เช่น
-ความสะดวกในการจับพ่อแม่พันธุ์ขึ้นมาทำการเพาะพันธุ์แต่ละครั้ง
-บ่อขนาดใหญ่ที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์มาก หากจับบ่อยครั้งพ่อแม่พันธุ์อาจได้รับความกระทบกระเทือน บอบช้ำ ส่งผลถึงการเพาะพันธุ์ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
-หากบ่อกว้างมากจะยังผลให้ต้องใช้แรงงานในการจับมากได้มีผู้ให้ความเห็นพอจะสรุปได้ ดังนี้
1. บ่อพ่อแม่ปลาควรมีขนาด 800-8,000 ม.2 และความลึก 1.5-2.5 เมตร
2. ถ้าต้องการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จำนวนมากเพื่อใช้ในการเพาะพันธุ์ ไม่ควรเลี้ยงรวมกันในบ่อใหญ่ แต่ควรแยกเลี้ยงในบ่อเล็กหลายๆ บ่อ
3. จำนวนบ่อมากน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับปริมาณพ่อแม่พันธุ์เป็นเกณฑ์ และควรพิจารณาปริมาณจำนวนตัวผู้ซึ่งปกติใช้จำนวนมากกว่าตัวเมียคือ ประมาณ 2:1 อยู่แล้วเนื้อที่ที่จะเลี้ยงและจำนวนบ่อทั้งหมด คำนวณจาก 4 ม.2/ตัว
4. จากเอกสารการปรับปรุงแหล่งประมงน้ำลึก ใช้บ่อขนาด 27 X 100 X 1.5 ม. เป็นบ่อพ่อแม่พันธุ์
5. บ่อพ่อแม่พันธุ์ขนาดควรจะเล็กใหญ่เท่าใดนั้น ควรพิจารณาจากขนาดของกิจการ ชนิดของปลา ความสะดวกในการจับมาเพาะพันธุ์ ฯลฯ ส่วนความลึกของบ่อนั้นควรอยู่ในระหว่าง 1.5-2.5 ม.
2. น้ำและการถ่ายเทน้ำ ในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาควรได้มีการนำน้ำที่มีคุณสมบัติมาใช้ นอกจากนี้การถ่ายเทน้ำปอยๆ จะช่วยกระตุ้นให้อวัยวะสืบพันธุ์เติบโตเร็วขึ้น และการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์กับความถี่ในการถ่ายเทน้ำ นอกจากนี้การลดและเพิ่มระดับน้ำตามจังหวะที่เหมาะสม ก็เป็นการช่วยให้อวัยวะสืบพันธุ์เติบโตเร็วขึ้นเช่นเดียวกับน้ำฝน น้ำท่วม และกระแสน้ำ ย่อมมีอิทธิพลต่อการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ไปพร้อมกันด้วย
เกี่ยวกับการส่งน้ำเข้าบ่อและระบายน้ำออกนั้น มีข้อที่น่าสังเกตและการพิจารณาได้ เช่น หากเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในบ่อเดียวกัน ปลาอาจผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และในจังหวะที่มีการถ่ายเทน้ำเข้าบ่อ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์แยกบ่อกันจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้หากมีบ่อเพียงพอ
3. ความหนาแน่นของปลาหรืออัตราปล่อยปลาทุกชนิด ถ้าปล่อยลงบ่อเลี้ยงจนหนาแน่นเกินไป จะทำให้การเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ดี เนื่องจากปลาจะกลั่นและปลดปล่อยสารต่างๆ ลงน้ำ สารดังกล่าวมีคุณสมบัติช่วยระงับมิให้มีการสืบพันธุ์วางไข่ขึ้น ปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในตัวปลาที่เกี่ยวกับสารที่ถูกขับจากฮอร์โมนแอนโดรไครน์ (endrocrine secretion) โดยเฉพาะต่อมใต้สมองที่ช่วยกระตุ้นให้ไข่แก่ และน้ำเชื้อดีจนวางไข่ และมีน้ำเชื้อดีก็ต้องได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายนอกด้วย บทบาทของสเตอโร ฮอร์โมน (stero hormones) ที่ผลิตจากปลาเพศผู้แล้วปล่อยลงไปในน้ำจะกระตุ้นให้ปลาเพศเมียไข่แก่และวางไข่
อัตราการปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ที่เลี้ยงในบ่อ เพื่อเตรียมใช้ในการผสมพันธุ์นั้น ได้มีผู้ไห้ความเห็นที่แตกต่างกัน เช่น ในเนื้อที่ 1 ไร่ ควรปล่อย
-8 ม.2/ตัว
-3-4 ม.2/ตัว
เห็นว่าการพิจารณาปริมาณปลาที่จะปล่อยเพื่อเลี้ยงเป็นพ่อ-แม่พันธุ์นั้น ควรจะพิจารณาจาก
-สภาพของบ่อและระบบของน้ำที่ใช้เลี้ยง
-ขนาดหรือน้ำหนักของปลาที่ปล่อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น