รองเท้ากลีบบัวมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนในช่วงยุคศตวรรษที่ 10 จวบจนถึงราวปี 2009 นี้ มันเป็นรองเท้าคู่เล็กกระจิริดเสียจนนึกไม่ถึงว่าจะสามารถใส่เท้าของคนเข้าไปได้จริง ๆ แต่สิ่งนั้นก็เกิดขึ้นมาแล้วพร้อม ๆ กับวัฒนธรรมการรัดเท้าของชาวจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ที่เชื่อว่าเท้าที่รัดเป็นรูปดอกบัวจะบ่งบอกถึงอนาคตที่ดีของลูกสาว อย่างการได้แต่งงานออกเรือนไปกับชายที่มีฐานะดี
รองเท้าที่ผสมผสานระหว่างรองเท้าบัลเลต์กับรองเท้าส้นสูงเข้าไป ได้ออกมาเป็น บัลเลต์บูท หน้าตาแปลก ๆ เดิมทีแฟชั่นนี้จำกัดอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ ของคนที่หลงใหลรองเท้าหน้าตาประหลาด แต่แล้วมันกลายเป็นรองเท้าแฟชั่นหวือหวาไปในช่วงปี 1980's เมื่อใส่แล้วปลายเท้าจะเหยียดตรงแน่วราวกับกำลังเต้นระบำบัลเลต์อยู่ อย่างไรก็ดีมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการสวมใส่เป็นเวลานาน ๆ เป็นแค่รองเท้าเอาไว้ใส่เก๋ ๆ ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นเอง
3. รองเท้าเจ้าสาวหัวแหลมทำจากไม้ (ฝรั่งเศส, ยุคปลายศตวรรษที่ 19)
รองเท้าเจ้าสาวทำจากไม้คู่นี้มีต้นกำเนิดมาจากแถบหุบเขา Bethmale ทางตอนใต้ของเมือง Saint Girons ในเขต Ariege ของประเทศฝรั่งเศส ย้อนกลับไปเมื่อสมัยศตวรรษที่ 9 ชาวบ้านเมืองนี้ต่อสู้ชนะกลุ่มแขกมัวร์ผู้มาลักเอาตัวผู้หญิงในหมู่บ้านไป เพื่อเป็นการฉลองชัยชนะจึงได้ควักหัวใจของศัตรูออกมาปักที่ปลายแหลมของยอดรองเท้าที่ทำจากไม้วอลนัท ซึ่งรองเท้าหนึ่งข้างจะทำมาจากไม้วอลนัทชิ้นเดียวกันทั้งหมด ภายหลังจึงมีการดัดต้นวอลนัทให้เป็นรูปร่างโค้งงอตามที่ต้องการเพื่อให้นำมาทำรองเท้าได้ง่ายขึ้น และชายหนุ่มก็จะมอบรองเท้าคู่นี้ให้แก่หญิงสาวของเขา โดยเชื่อว่ายิ่งปลายยอดของรองเท้าแหลมมากเท่าไร ก็แสดงถึงความรักที่ชายผู้นั้นมอบให้มากเท่านั้น
4. พาดูกัส รองเท้าแตะของชาวอินเดีย (อินเดีย, ช่วงปี 1700's)
พาดูกัส นับเป็นรองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอินเดีย มันมีเพียงส่วนที่เป็นพื้นรองเท้ากับตุ่มที่โผล่ออกมาให้ใช้นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้หนีบยึดเอาไว้เท่านั้น นอกจากพาดูกัสแบบธรรมดาแล้ว ยังมีพาดูกัสแบบหนามสำหรับผู้มีรสนิยมชอบทรมานตนเอง หรือเป็นพวกมาโซคิสม์ด้วย ผู้ที่เป็นมาโซคิสม์บางรายชอบความรู้สึกทิ่มแทงจากหนามแหลม โดยหลังจากที่ร่างกายถูกทรมานจากปลายหนามราว 20-40 นาที กลไกของร่างกายจะสั่งให้หลั่งสารเคมีระงับความเจ็บปวดชนิดหนึ่งออกมา ทำให้เกิดความรู้สึกชา เคลิ้ม และเหมือนตกอยู่ในภวังค์ บ้างก็เทียบว่าเป็นความรู้สึกเหมือนไปถึงจุดสุดยอดเลยทีเดียว แม้จะทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้ รองเท้าพาดูกัสหนามกลับถูกสวมใส่โดยนักบวชชาวฮินดู หรือผู้บำเพ็ญเพียรทรมานร่างกายตนเอง
รองเท้าชนิดนี้ยังคงพบเห็นได้บ่อยเมื่อเหล่าแฟชั่นนิสต้าหลาย ๆ คนปรากฏกาย มันเปิดตัวสู่โลกเป็นครั้งแรกในงานเดินแบบของแบรนด์ Antonio Berardi เมื่อปี 2007 และเป็นที่ฮือฮามากมายอีกครั้ง เมื่อวิคตอเรีย เบคแฮม ได้สวมใส่มันในปี 2008 ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบรองเท้าไร้ส้นเป็นคนแรกกล่าวว่า หากคิดว่ารองเท้าคู่นี้จะทำให้เจ็บเท้าล่ะก็ ผิดถนัดเลย เหล่านางแบบที่เข้ามาลองสวมเพื่อซ้อมเดินแบบแม้จะรู้สึกแปลก ๆ กับมันในตอนแรก แต่สุดท้ายก็บอกว่าใส่มันเดินได้สบาย ๆ ไม่ต่างอะไรกับรองเท้าทั่ว ๆ ไป มันรักษาสมดุลของร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดี แพทย์ได้เตือนว่ามันอาจทำร้ายเท้า หัวเข่า และกระดูกสันหลังได้ หากว่าใส่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
6. ชอพินส์ รองเท้ายกพื้นจากอิตาลี (Chopines อิตาลี 1580-1620)
ในปัจจุบัน การหาดูรองเท้าชอพินส์แบบโบราณแท้ ๆ แม้ในพิพิธภัณฑ์ก็ถือเป็นเรื่องยาก มันมีต้นกำเนิดในยุคเรเนสซองส์ และเป็นที่นิยมสำหรับสุภาพสตรีในยุคศตวรรษที่ 17 เป็นอย่างมาก จุดประสงค์ของรองเท้าที่ยกพื้นขึ้นมากกว่า 5 นิ้ว คือการทำให้ผู้สวมใส่ดูสูงโดดเด่นเป็นสง่า แต่ก็จำเป็นให้ต้องมีผู้ช่วยคอยประคองขณะเดินเพื่อไม่ให้ล้มลง นอกจากนี้มันยังถูกประดับตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจงละเมียดละไมเป็นที่สุดด้วย ตัวรองเท้ามักทำจากไม้ แล้วหุ้มด้วยผ้าไหมหรือกำมะหยี่ ตกแต่งด้วยแผ่นเงินฉลุลาย ห้อยพู่ประดับสวยงาม แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครได้ยลความงามของรองเท้าชอพินส์เท่าไรนัก เพราะมันมักถูกปิดบังไว้ด้วยชุดกระโปรงยาวที่คลุมรองเท้าเอาไว้มิดชิดนั่นเอง
ผู้หญิงในช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 20 ใส่รองเท้าชนิดนี้กันแทบทุกวัน โดยนำผ้ามาห่อพันเท้าก่อนที่จะสวมเข้าไปในรองเท้าซึ่งสานจากเปลือกไม้อีกที ทั้งยังมีบ่อยครั้งที่รองเท้าสานนี้ถูกนำมาสวมใส่เพื่อป้องกันไม่ให้รองเท้าราคาแพงที่สวมอยู่ด้านในเลอะเปรอะดินโคลนจากการลุยฝนหรือหิมะ มันมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นราว 1 สัปดาห์เท่านั้น ไม้ที่นิยมนำมาทำรองเท้าสานนี้มากที่สุดคือไม้เบิร์ช ตามมาด้วยเปลือกไม้จากต้นลินเดนและต้นเลมอน นอกจากในฟินแลนด์แล้ว ประเทศรัสเซีย นอร์เวย์ และสวีเดน ก็มีรองเท้าสานจากเปลือกไม้เป็นของตัวเองด้วย
8. กับกับส์ (Kabkabs เลบานอน, ศตวรรษที่ 14-17)
รองเท้าไม้ประดับแผ่นโลหะเงินนี้มาจากประเทศเลบานอน รู้จักกันในชื่อ กับกับส์ หรือ นาลินส์ ผู้หญิงตะวันออกกลางนิยมใส่เพื่อดีดตัวเองให้สูงจะได้พ้นความสกปรกจากฝุ่นดินและพื้นที่เฉอะแฉะไปด้วยโคลน รวมทั้งใส่ในโรงอาบน้ำที่พื้นทั้งร้อนและเปียก สายด้านบนของกับกับส์ทำจากหนัง ผ้าไหม หรือกำมะหยี่ ส่วนพื้นรองเท้าบ้างประดับด้วยเงิน ทอง หรือดีบุกผสม และหากเป็นกับกับส์ของคนรวยก็จะฝังมุกเม็ดโตลงไปด้วย ในโอกาสพิเศษอย่างงานแต่งงาน กับกับส์ที่ทำจากไม้จะยิ่งถูกประดับให้วิจิตรงดงามมากขึ้น และในกรณีที่เจ้าสาวยังเป็นเด็ก กับกับส์ที่ใช้ก็จะมีความสูงมากขึ้นเพื่อให้เจ้าสาวดูตัวใหญ่ขึ้นด้วย แม้จะเป็นรองเท้าสำหรับผู้หญิง แต่ผู้ชายก็สวมใส่มันอยู่บ้าง โดยจะลดทอนการประดับประดาลง ส่วนชื่อ "กับกับส์" ทีเรียกมันนั้น เลียนมากจากเสียงยามที่ส้นรองเท้ากระทบกับพื้นหินอ่อนเวลาเดินนั่นเอง
9. รองเท้าส้นสูงของผู้ชาย (ยุโรป, ช่วงยุค 1700's)
กางเกงขาพอง ถุงน่อง และรองเท้า กลายเป็นเครื่องแต่งกายสำคัญสำหรับผู้ชายในยุคศตวรรษ 1700's และเมื่อความสนใจในการแต่งกายเบนมาสู่ท่อนล่างของร่างกายมากขึ้น คุณผู้ชายจึงอยากจะมีเรียวขาที่ดูเรียวยาวสมส่วนดี รวมทั้งอยากให้ตัวสูงขึ้นดูสง่างามตา รองเท้าชายส้นสูงจึงถือกำเนิดขึ้นมา และมันก็ฮิตไปทั่วทั้งอาณาจักรเมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ซึ่งมีรูปร่างสันทัด หันมาใส่รองเท้ามีส้นเพื่อเพิ่มความน่าเกรงขามสร้างบารมีแก่ตน และเมื่อเจ้าแผ่นดินใส่ ใคร ๆ ก็เลยใส่ตาม เป็นที่นิยมมากในยุคนั้นเลยทีเดียว แถมยังมีการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยริบบิ้น หัวเข็มขัด หรือแม้แต่ลายปักรูปกุหลาบด้วย
นอกจากรองเท้าเกี๊ยะที่คนรู้จักกันดีแล้ว ญี่ปุ่นก็ยังมี "โอโคะโบะ" เป็นรองเท้าอีกคู่หนึ่งที่น่าสนใจ ตั้งแต่ก่อนช่วงปี 1970 ที่ไมโกะ หรือ เกอิชาฝึกหัด จะต้องใส่โอโคะโบะเอาไว้ แต่หาใช่เพื่อเหตุผลด้านความสวยความงาม หากแต่เพื่อให้ส้นที่สูงถึง 5.5 นิ้ว ช่วยยกมิให้ชายกิโมโนลากระเรี่ยพื้นยามเดิน พื้นรองเท้าด้านบนที่บากเข้าลึกก็บังคับให้ต้องเดินก้าวสั้น ๆ กันไม่ให้โคลนหรือน้ำดีดขึ้นมาโดนกิโมโนด้วย ตัวรองเท้าโอโคะโบะนั้นทำด้วยไม้ชิ้นเดียวกันทั้งหมด และเจาะส่วนกลางด้านในส้นให้กลวง ทำให้เกิดเสียงกังวาลเฉพาะตัวยามเดิน นอกจากนี้สายรองเท้าที่คาดด้านบนยังบอกถึงระดับของไมโกะแต่ละคนด้วย โดยไมโกะหน้าใหม่จะสวมโอโคะโบะที่มีสายสีแดง แต่หากเป็นไมโกะที่ใกล้ได้ขึ้นเป็นเกอิชาเต็มตัวแล้วก็จะใส่โอโคะโบะที่มีสายคาดสีเหลือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น